svasdssvasds

ฟื้นฟูเกาะแสมสาร วางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา โดยมูลนิธิ อพ.สธ.

ฟื้นฟูเกาะแสมสาร วางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา โดยมูลนิธิ อพ.สธ.

ช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทะเลไทย มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ร่วมกับหลายภาคส่วน สร้างบ้านปลา วางปะการังเทียม บริเวณเกาะแสมสาร

เพื่อฟื้นฟูและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลของไทย มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (มูลนิธิ อพ.สธ.) มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กองทัพเรือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน จึงร่วมใจกันสร้างและวางปะการังเทียม ผ่าน “โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรและวางปะการังเทียม เกาะแสมสาร เฉลิมพระเกียรติ”

อันเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2566 โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นประธานในพิธีวางปะการังเทียมเป็นปฐมฤกษ์

ฟื้นฟูเกาะแสมสาร วางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา โดยมูลนิธิ อพ.สธ. และมีพลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ นายพรชัย จุฑามาศ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (มูลนิธิ อพ.สธ.)  นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายสมพันธ์ จารุมิลินท ประธานคณะทำงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทะเลไทย มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมพิธี

ซึ่งจัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย และร่วมกิจกรรมวางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา ปล่อยเต่า และปลูกต้นไม้ บริเวณหน้าหาดทิศตะวันออกของเกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี- กองทัพเรือ (อพ.สธ.-กองทัพเรือ) โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริ ให้เกาะแสมสารเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ดำเนินงานตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 เมษายน  พ.ศ. 2541

ฟื้นฟูเกาะแสมสาร วางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา โดยมูลนิธิ อพ.สธ. เน้นเรื่องบริหารจัดการจำนวนนักท่องเที่ยว การจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมและสมดุลเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะมีผลกับเศรษฐกิจของท้องถิ่นชุมชน และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ มูลนิธิฯและกองทัพเรือจึงได้ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแนวปะการัง บริเวณเกาะแสมสาร

พร้อมกับมีการศึกษาวิจัยติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานข้อมูลปะการังที่สามารถสนับสนุนการจัดทำผังพื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning; MSP) ประกอบในการกำหนดนโยบายได้ด้วย และตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการปะการังในพื้นที่ดำเนินงานบนหมู่เกาะแสมสาร

อีกทั้งเพื่อประกอบการพิจารณาในการยกระดับความสำคัญของพื้นที่หมู่เกาะแสมสารให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area; MPA) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของระบบนิเวศในพื้นที่อ่าวไทยตะวันออก รองรับการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor; EEC) พร้อมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ เกาะแสมสารอีกด้วย

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์  ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์  ประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวในพิธีเปิดงานว่า เมื่อ 25 ปีที่แล้ว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงมีพระราชดำริแก่ผู้เกี่ยวข้องให้ “ดำเนินการทั้ง 9 เกาะ คือเกาะแสมสารและเกาะข้างเคียง ศึกษาตั้งแต่ยอดเขาจนถึงใต้ทะเล รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งพืชบนดิน พืชน้ำ รวมถึงสัตว์ต่างๆ

โดยเน้นระบบนิเวศวิทยาแบบภาพรวมทั้งระบบ ให้ทำการสำรวจทั้งด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา แร่ธาตุ ไปพร้อมๆกัน” ซึ่งพระราชดำรินี้คือแนวทางที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานด้านอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี และองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ที่มาร่วมกันสนับสนุน

จนป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ทั้งทิวทัศน์ หาดทรายที่สะอาดสวยงาม ขอฝากชาวแสมสารและหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ช่วยกันดูแลธรรมชาติอันงดงามนี้ให้ดำรงอยู่เพื่อคนรุ่นหลังต่อไป 

ฟื้นฟูเกาะแสมสาร วางปะการังเทียม สร้างบ้านปลา โดยมูลนิธิ อพ.สธ. โดยหมู่เกาะแสมสาร เป็นพื้นที่รวมความหลากหลายทางชีวภาพจากยอดเขาสู่ใต้ทะเลด้านอ่าวไทยฝั่งตะวันออก โครงการนี้ได้มีการจัดทำบ้านปลาบริเวณหาดเทียน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสาหร่ายทะเลกลุ่มต่างๆ และสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย อาทิ ปลิงทะเล ฟองน้ำทะเล เม่นทะเล หอยทะเล ปลาทะเลในแอ่งน้ำขัง การร่วมปลูกต้นไม้ การปล่อยเต่า และการวางปะการังเทียมต่อเนื่องเป็นแนวยาวขนานกับหาดเทียนบนพื้นที่วางรวม 200 ตารางเมตร

ผสานการนำเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution มาขึ้นรูปเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ฟื้นฟูแนวปะการัง และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศปะการังรวมถึงทรัพยากรทางท้องทะเลบริเวณเกาะแสมสารอย่างยั่งยืนต่อไป

related