SHORT CUT
จีนได้มีการตอบโต้กันไปมา และล่าสุดสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ ทั้ง ไทย เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย โดยกัมพูชาหนักสุด 3,521%
ภาคเอกชน แนะว่า การส่งเสริมการลงทุนของไทยควรจะส่งเสริมลักษณะสินค้าที่ไทยไม่สามารถผลิตได้จะได้ประโยชน์ด้านทรานฟอร์ม
สหรัฐฯ ลุยขึ้นภาษีโซลาร์เซลล์ หลายชาติในภูมิภาคอาเซียน ที่เป็นฐานการผลิตใหญ่ของทุนจีน ทั้ง ไทย เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย กัมพูชาหนักสุด 3,521%
นาทีนี้ต้องบอกได้คำเดียวว่าทั่วโลกกำลังปั่นป่วน โดยเฉพาะเรื่องการค้า การลงทุน หลังจากที่ “ทรัมป์” ออกนโยบายต่างๆมากมายเพื่อขึ้นภาษีชาติต่างๆที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะจีนที่มีการตอบโต้กันไปมา และล่าสุดสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ ทั้ง ไทย เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย โดยกัมพูชาหนักสุด 3,521%
ทั้งนี้สหรัฐฯต้องการจะเล่นงานจีนสูงสุด เพราะจีนมีฐานการผลิตในหลายบริษัท และหลายประเทศ เป็นรายสินค้าแทน โดย กรุงเทพธุรกิจ รายงานบทสัมภาษณ์ของ นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สหรัฐปรับภาษีโซลาร์เซลล์เพื่อต่อต้านการใช้เป็นฐานการผลิต ซึ่งประเทศไทยก็โดนด้วย เนื่องจากโรงงานโซลาร์เซลล์ในไทยส่วนใหญ่เป็นโรงงานจีนที่มาผลิตในไทยแทบจะ 100% ที่ย้ายฐานการลงทุนในประเทศไทย
อย่างไรก็ตามในตอนนี้กำลังดูว่ามีบริษัทที่เป็นของไทยมีกี่บริษัท และต้องดูเพิ่มว่าในแต่ละบริษัทมีส่งออกไปสหรัฐมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้จากเท่าที่สำรวจพบว่าบริษัทโดยคนไทยกำลังการผลิตเองก็ไม่เพียงพอต่อการส่งออกแล้ว
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานข้อมูลว่า บริษัทที่ไม่ได้ระบุชื่อในเวียดนามต้องเสียภาษีศุลกากรสูงถึง 395.9% โดยไทยกำหนดไว้ที่ 375.2% ส่วนภาษีสำหรับมาเลเซียกำหนดไว้ที่ 34.4% บริษัท Jinko Solar ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากเวียดนามประมาณ 245% และจากมาเลเซีย 40% บริษัท Trina Solar ในประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 375% และจากเวียดนามมากกว่า 200% ส่วนโมดูล JA Solar จากเวียดนามอาจถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าประมาณ 120%
จากประเด็นสหรัฐฯขึ้นภาษีโซลาร์เซลล์หลายชาติอาเซียนรวมถึงไทยด้วย จึงทำให้ภาคเอกชน แนะว่า การส่งเสริมการลงทุนของไทยควรจะส่งเสริมลักษณะสินค้าที่ไทยไม่สามารถผลิตได้จะได้ประโยชน์ด้านทรานฟอร์ม ความรู้แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมเหล็กเส้น ซึ่งเรามีโรงงานอยู่แล้ว ทำให้มาแย่งตลาด อีกทั้งวัตถุดิบก็ไม่ได้ใช้ในประเทศไทย จึงต้องกลับมาทบทวนเรื่องนี้ และคำนึงผู้ประกอบการไทยเป็นหลักด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง