svasdssvasds

ไทยเร่งเครื่องเพิ่ม “พลังงานสะอาด” ดึงลงทุนต่างประเทศ

ไทยเร่งเครื่องเพิ่ม “พลังงานสะอาด” ดึงลงทุนต่างประเทศ

ประเทศไทยเร่งเครื่องเพิ่ม “พลังงานสะอาด” ดึงลงทุนต่างประเทศเข้ามาเพิ่ม พร้อมหนุนลดก๊าซเรือนกระจกให้ทันปี2573

SHORT CUT

  • การลงทุนใหม่ทุกวันนี้ นักลงทุนทั่วโลกสนใจลงทุนประเทศที่มีแผนการจัดการที่ดี รับมือโลกร้อนได้
  • ประเทศไทยกำลังพยายามลดก๊าซเรือนกระจกให้ทันปี2573 ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ต่างเร่งเครื่อง
  • ไทยเร่งเครื่องเพิ่ม “พลังงานสะอาด” ดึงลงทุนต่างประเทศเข้ามาเพิ่ม

ประเทศไทยเร่งเครื่องเพิ่ม “พลังงานสะอาด” ดึงลงทุนต่างประเทศเข้ามาเพิ่ม พร้อมหนุนลดก๊าซเรือนกระจกให้ทันปี2573

มีคำกล่าวที่ว่าความพยายามไม่เคยทรยศใคร อย่างเช่นประเทศไทยที่กำลังพยายามลดก๊าซเรือนกระจกให้ทันปี2573 อยู่ ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ต่างพยายามกันสุดๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนรักษ์โลก ที่เทรนด์การลงทุนนี้มาแรงมาก อย่างเช่นล่าสุดมีความพยายามของ “เวฟ บีซีจี” ที่ได้ดึงองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ร่วมเวที“Unlocking Potential I-RECs in Thailand” แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมขับเคลื่อนการใช้ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเร่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

พร้อมชี้หากต้องบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ต้องเพิ่มสัดส่วนให้เป็น 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และมากกว่า 50% ก่อนปี พ.ศ. 2583 (ค.ศ. 2040) โดยนายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานหมุนเวียน สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) The International I-Track Standard การไฟฟ้าฝ่ายการผลิดแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ จำกัด

ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างเสถียรภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการบรรลุเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส และจากการประชุม COP26 ที่ประเทศไทยได้ให้คำมั่นในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตั้งเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593  (ค.ศ. 2050) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) 

 ตลอดจนประเทศไทยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ  ปี พ.ศ. 2564 – 2573 ได้มีการกำหนดเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDC) 30% หรือ ลด 166 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และ 40% หรือ 222 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากการประมาณการของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ที่ 555 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยระดับการลดก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นถึง 40% ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงกลไก การสนับสนุนทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ

 “ปัจจุบันการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังคงไม่เพียงพอ และมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีปริมาณการขึ้นทะเบียนใบรับรองพลังงานหมุนเวียนเพียง 19 ล้าน RECs ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน รวมกับ คาร์บอนเครดิต มาตรฐาน TVER ที่ 17 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 รวมกันก็เพียงแค่ 26.5 ล้านตัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 ปล่อยมากถึง 372 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นอันดับ 20 ของโลก โดยภาคพลังงานมีสัดส่วนการปล่อยมากถึง 70% ในขณะที่สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศมีเพียง 10% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด โดยถ้าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality จะต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดให้เป็น 30% ภายใน พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และมากกว่า 50% ก่อนปี พ.ศ. 2583 (ค.ศ. 2040)”

นายเจมส์ กล่าวว่าจากข้อมูลใน ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ) ระบุว่ามีความต้องการ (scope 2) จากภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมที่ประมาณ 134.7 ล้านเมกะวัตต์ชั่วโมง ถ้านำพลังงานสะอาดทั้ง Grid สามารถขึ้นทะเบียน RECs เพียงแค่ 28 ล้านเมกะวัตต์ชั่วโมง โดยในปัจจุบันการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาดมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชน

และต่อประเทศไทยในเชิงของการดึงดูดการลงทุน (FDI) จากต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำของโลกที่มีการกำหนดเป้าไปแล้ว และยังมีการพิจารณาเลือกการตั้งฐานบริษัทในต่างประเทศที่ตอบโจทย์ความต้องการเชิงพลังงานสะอาดได้ รวมถึงการที่หลายบริษัทประกาศเป็น RE100 หรือการใช้พลังงานสะอาด 100% ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates) หรือ RECs เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขึ้นและการขยายจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 

 อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีความท้าทายมากกว่าประเทศอื่นในภาคตะวันตกที่มีสัดส่วนพลังงานสะอาดมากถึง 70% มีระบบไฟฟ้าที่เปิดเสรี และมีการซื้อขายพลังงานสะอาดระหว่างเอกชน การเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลก็เพื่อช่วยกันผลักดันให้ทั้งภาคเอกชนและประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งไว้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related