svasdssvasds

หวั่นรัฐบาลใหม่ลากยาว ชี้ชะตาค่า "เอฟทีไฟฟ้า" งวดสิ้นปี’66 ออกหัว หรือก้อย ?

หวั่นรัฐบาลใหม่ลากยาว ชี้ชะตาค่า "เอฟทีไฟฟ้า" งวดสิ้นปี’66 ออกหัว หรือก้อย ?

ลุ้น ! ค่า "เอฟทีไฟฟ้า" งวดสิ้นปี’66 ออกหัว หรือก้อย ? ซึ่งหากได้รัฐบาลใหม่เร็วก็อาจเคาะลดค่าเอฟที ได้ทัน แต่...มีความกังวลว่ารัฐบาลใหม่ลากยาว การชี้ชะตาค่า "เอฟทีไฟฟ้า" งวดสิ้นปี’66 จะออกหัว หรือก้อย ? ก็ต้องลุ้นกันต่อไป

ได้เฮกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับคนที่ใช้ไฟฟ้าเยอะ หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที และได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 โดยมีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเรียกเก็บจำนวน 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับลดลงจากงวดปัจจุบัน (พฤษภาคม - สิงหาคม 2566) จาก 4.70 บาทต่อหน่วยเหลืออยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย และให้มีผลตั้งแต่รอบบิลเดือนกันยายน 2566

ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าวกกพ. ได้ยึดหลักเกณฑ์ตามประกาศ กกพ. เรื่องกระบวนการขั้นตอนการใช้สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ พ.ศ.2565 และได้พิจารณาประโยชน์ของประเทศรวมถึงสภาพการแข่งขันและความสามารถในการให้บริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงการให้บริการระยะยาวประกอบแล้ว 

เรื่องดังกล่าวได้ทำให้ประชาชนได้เฮกันไปสั้นระยะ แต่…ยังมีค่าเอฟทีงวดสุดท้ายสิ้นปีปี2566 โดยกระทรวงพลังงานเปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ว่า กระทรวงพลังงานมีความกังวลในเรื่องของการสานต่อการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งดูจากแนวโน้มการจัดตั้งนรัฐบาลใหม่ที่ยังคงล่าช้า ดังนั้น จึงได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมไปยังกกต.

ทั้งนี้เพื่อให้ช่วยพิจารณาตำแหน่งดังล่าวระหว่างการบริหารงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ของ ผู้ว่าฯ ปัจจุบันกับท่านใหม่ เพราะหากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถจัดตั้งได้ก่อนที่ผู้ว่าฯ กฟผ. ท่านปัจจุบันจะหมดวาระ และหากกินระยะยาวเกินไประดับ 2-3 เดือน จะกระทบกับอำนาจบางอย่างที่รักษาการผู้ว่าฯ กฟผ. จะไม่สามารถอนุมัติได้

สำหรับประเด็นหลักที่ได้นำเสนอจะเป็นในเรื่องสำคัญที่ต้องให้ผู้ว่าการฯ เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ อย่างเช่นวิกฤตราคาเชื้อเพลิง การบริหารสภาพคล่องจากกรณีที่กฟผ. ได้ร่วมรับภาระค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) แทนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยังเป็นหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท  อีกทั้ง หาก กฟผ. จะยังคงต้องรับภาระหนี้ตรงนี้อยู่ ก็จะกระทบต่อการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาล เพราะกฟผ. อาจจะต้องกู้เงินเพิ่มเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง โดยรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้ำประกันให้ 

อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. 2566 สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาค่าเอฟทีงวดเดือนก.ย.-ธ.ค. 2566 เป็นการล่วงหน้า และอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล และก็ต้องอาศัยอำนาจการตัดสินใจจากผู้ว่าฯ กฟผ. เพราะที่ผ่านมา ต้องเข้าใจว่า กฟผ. แบกรับภาระเยอะ เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น แม้ว่าช่วงนี้จะลดลงแล้วก็ตาม แต่ด้วยหนี้ที่สะสม จึงทำให้สภาพคล่องและกระแสเงินสดกระทบไปด้วย

เรื่องค่าเอฟทีไฟฟ้างวดสุดท้าย และเรื่องว่าฯ กฟผ. ท่านใหม่ ยังเป็นเรื่องที่ประชาชนต่างจับตามอง เพราะเกี่ยวข้องกับค่าไฟที่เป็นค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนด้วย โดยล่าสุดกระทรวงพลังงานได้ส่งเอกสารแจงเหตุผลขอความเห็นชอบจาก "กกต." ไฟเขียวแต่งตั้งนาย"เทพรัตน์ เทพพิทักษ์" ผู้ว่าฯ กฟผ. คนใหม่แทนนาย"บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร" ที่จะหมดวาระงาน 21 ส.ค. 2566 นี้ และได้มีความกังวลว่าหากรัฐบาลใหม่ลากยาวกระทบการตัดสินใจโดยเฉพาะค่า "เอฟทีไฟฟ้า" งวดสิ้นปี2566 นี้

 

related