พาประชาชนมาส่องดูปัจจัยบวก ปัจจัยลบ ว่าจะมีปัจจัย และโอกาสใดบ้าง ที่จะทำให้ค่าไฟช่วงครึ่งปีหลังปี 2566 ค่าไฟขึ้น หรือค่าไฟลด พร้อมมาลุ้น3 ทางเลือก ว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จะเลือกแบบไหน
ค่าไฟแพง คือความทุกข์ร้อนของประชาชน โดยเฉพาะคนที่หาเช้ากินค่ำที่ต้องแบกภาระเพิ่ม นอกจากค่าใช้อื่นๆ ในชีวิตประจำวันแล้ว แต่…ต้นปี2566 ที่ผ่านมาค่าไฟบ้านเราหลายบ้านโอดครวญค่าไฟพุ่งพรวด และล่าสุดต้องมาลุ้นอีกว่าเร็วๆนี้ค่าไฟจะลดลงหรือไม่ โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับฟังความคิดเห็น ค่าไฟฟ้าผันแปร งวดสุดท้ายของปี 2566 หรือตั้งแต่ก.ย.-ธ.ค.นี้ โดยนำค่า FT ประมาณการ และแนวทางการจ่ายภาระหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 138,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามการเปิดรับฟังความเห็นค่า FT ในงวดสุดท้าย จะดำเนินการตั้งแต่ 7-21 ก.ค.นี้ ก่อนที่จะสรุปและประกาศในช่วงปลายเดือนก.ค.นี้
ในขณะที่เอกชน นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ออกมาเปิดเผยถึงแนวโน้มค่าไฟงวด 3 หรืองวดสุดท้ายของปี 2566 (ก.ย.-ธ.ค.) ว่า ค่าไฟฟ้างวด 3 ของปี ควรลดลงกว่า 10% จากงวด 2 (พ.ค.-ส.ค.) หรือไม่เกิน 4.25 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 4.70 บาทต่อหน่วย ซึ่งได้มีการประเมินสาเหตุที่จะทำให้ค่าไฟงวด 3 ลดลง
เปิด 5 ปัจจัยบวกที่ทำไมค่าไฟถึงต้องลด
1.ปริมาณก๊าซจากอ่าวไทยสูงขึ้น เนื่องจากหลุมเอราวัณทยอยเพิ่มจาก 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในช่วงปลายปี
2.ปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าลดลง
3.ราคาแอลเอ็นจีสปอต (ตลาดจร) ลดลงมากกว่า 30% ราคาไม่เกิน 14 เหรียญสหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต จาก 20 เหรียญสหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต
4.ราคาพลังงานโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และ
5.หนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งงวด 1 ปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) และงวด 2 ปีนี้ ลดลงเร็วกว่าแผน เพราะต้นทุนจริงของแอลเอ็นจีต่ำกว่าที่เรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที)
ส่วนปัจจัยลบค่าไฟ คือเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งสิ่งที่เอกชนและประชาชนอยากเห็นในการบริหารค่าไฟฟ้าที่ยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วยภาระค่าเอฟที เป็นระบบคอสต์พลัส ผลักเป็นภาระผู้บริโภค ดังนั้น ภาครัฐในทุกระดับควรมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้
1.ฝั่งนโยบาย ควรให้แนวทางบริหารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เช่น การแก้ปัญหาโอเวอร์ซัพพลายโรงไฟฟ้า, ปลดล็อกด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะโซลาร์และการเร่งจัดหาแอลเอ็นจีก่อนหน้าหนาวในยุโรป
2.ฝั่งผู้ควบคุม ควรประสานผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง และเปิดเผยข้อมูล เช่น สมมุติฐาน ต้นทุนต่างๆ ในการคำนวณเอฟที รวมทั้งพิจารณาการคาดการณ์ต้นทุนที่เร็วกว่ารอตามงวด 4 เดือน
3.ฝั่งผู้ปฏิบัติการ ควรมีส่วนร่วมบริหารแบบทีมเดียวกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงาน ค่าไฟฟ้าของประเทศให้ดีที่สุด รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบตามหลักธรรมาภิบาล