svasdssvasds

ไขข้องใจไฟฟ้าไทยมาจากไหน ไทยผลิตไฟฟ้าเองได้ไหม ส่งออกไปประเทศไหนบ้าง?

ไขข้องใจไฟฟ้าไทยมาจากไหน ไทยผลิตไฟฟ้าเองได้ไหม ส่งออกไปประเทศไหนบ้าง?

พลังงานไฟฟ้ามีความจำเป็นกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก แสงสว่างตามตึกรามบ้านช่อง โรงพยาบาล สถานที่สำคัญต่างๆ ตลอดจนการขับเคลื่อนระบบขนส่ง และการใช้เทคโนโลยีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมืออื่นๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งสิ้น

เคยสงสัยมั้ยว่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทยนั้นมาจากไหน แล้วเราผลิตไฟฟ้าเองหรือเปล่าหรือส่งออกไปขายประเทศมั้ย? เรามาไขข้องใจเรื่องนี้กัน

จากรายงานของ World Bank's 2020 Doing Business Report เผยประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่ 6 จาก 190 ประเทศในฐานะการขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ลำดับที่ 12 ในปี 2558 ประกอบกับข้อมูลในส่วนหนึ่งจากรายงาน Trade Policy Review of Thailand ที่จัดทำโดยองค์การการค้าโลก(WTO) ระบุว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตพลังงานรายหนึ่ง ที่มีแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่หลากหลาย ทั้งจากน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีช่องว่างระหว่างความสามารถการผลิต และความต้องการใช้อยู่ จึงมีการทดแทนด้วยการนำเข้า โดยประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ ในปี 2562 มูลค่า 34.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 4 เท่าของความสามารถการส่งออก ที่ 8.5 พันล้านบาท

ไขข้องใจไฟฟ้าไทยมาจากไหน ไทยผลิตไฟฟ้าเองได้ไหม ส่งออกไปประเทศไหนบ้าง?

กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศรวมจำนวนทั้งสิ้น 50 แห่ง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,789.58 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่

  • โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง
  • โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง
  • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (พลังน้ำ) 27 แห่ง
  • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ) 9 แห่ง
  • โรงไฟฟ้าดีเซล 4 แห่ง
  • โรงไฟฟ้าอื่น ๆ 1 แห่ง

การผลิตพลังงานไฟฟ้าสามารถแบ่งสัดส่วนออกได้เป็น ดังนี้

  • การผลิตจากโรงไฟฟ้าของกฟผ. ร้อยละ 33 (14,629.58 เมกะวัตต์)
  • ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ในไทย ร้อยละ 34 (14,948.5 เมกะวัตต์)
  • ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายเล็กในไทย ร้อยละ 21 (9498.32 เมกะวัตต์)
  • ซื้อไฟฟ้าจากโรงงานผลิตต่างประเทศ ร้อยละ 12 (5366.6 เมกะวัตต์) รวมแล้วมีกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 44,443 เมกะวัตต์

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

จากข้อมูลเดือนธันวาคม 2557 กําลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศไทย เท่ากับ 37,612 เมกะวัตต์ แยกได้เป็นกําลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าประเภท Firm (ในระบบ กฟผ.) จํานวน 34,668 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจาก SPP Non-firm จํานวน 915 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP จํานวน 2,029 เมกะวัตต์ โดยมี รายละเอียดดังนี้

แบ่งตามประเภทโรงไฟฟ้า

  • พลังความร้อนร่วม 21,145 เมกะวัตต์ ร้อยละ 56.2
  • พลังความร้อน 7,538 เมกะวัตต์ ร้อยละ 20.0
  • พลังงานหมุนเวียน 8,476 เมกะวัตต์ ร้อยละ 22.5
  • กังหันแก๊ส เครื่องยนต์ดีเซล 153 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.5
  • สายส่งเชื่อมโยงไทย-มาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.8 รวม 37,612 เมกะวัตต์ แบ่งตามผู้ผลิตไฟฟ้า
  • กฟผ. 15,482 เมกะวัตต์ ร้อยละ 41.2
  • เอกชนรายใหญ่ (IPP) 13,167 เมกะวัตต์ ร้อยละ 35.0
  •  เอกชนรายเล็ก (SPP) 4,530 เมกะวัตต์ ร้อยละ 12.0
  • เอกชนรายเล็กมาก (VSPP) 2,029 เมกะวัตต์ ร้อยละ 5.4
  • ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 2,404 เมกะวัตต์ ร้อยละ 6.4 รวม 37,612 เมกะวัตต์

ไขข้องใจไฟฟ้าไทยมาจากไหน ไทยผลิตไฟฟ้าเองได้ไหม ส่งออกไปประเทศไหนบ้าง?

การรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในประเทศของไทย

รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยทำการสำรวจและพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟฟ้าให้ประเทศไทย เช่น การรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป.ลาว) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศสหภาพพม่า ประเทศกัมพูชา และกลุ่มอนุภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนบริหารด้านพลังงานของประเทศไทย ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศ สปป.ลาว นับว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่น โดยได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระดับรัฐบาล ในการรับซื้อไฟฟ้าในปริมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 

นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 13 ราย รวมกำลังผลิต 14,948.50 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก รวมกำลังผลิต 8,756.82 เมกะวัตต์ รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และประเทศมาเลเซีย รวมกำลังผลิต 3,877.60 เมกะวัตต์

ไทยขายไฟฟ้าให้ประเทศไหนบ้าง?

กฟผ. ส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ 132 กิโลโวลต์ 115 กิโลโวลต์ และ 69 กิโลโวลต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซื้อโดยตรงจาก กฟผ. กฟน. และ กฟภ. ซึ่งนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศต่อไป นอกจากนี้ กฟผ. ยังจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ สปป.ลาว ด้วยระบบส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 กิโลโวลต์ และ 22 กิโลโวลต์ และประเทศมาเลเซีย ด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรง (HVDC) 300 กิโลโวลต์

 

ที่มา : กฟผ. / กระทรวงพลังงาน / สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน / กรุงเทพธุรกิจ