พามาดู ผลวิจัยเบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์ จากวารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า บ้านที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จริง แต่มีข้อจำกัดเยอะ ทั้งงบประมาณที่สูง การรักษายาก ผลิตไฟฟ้าได้ไม่สม่ำเสมอ
โดยงานวิจัยเรื่องบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์ จากวารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผลงานวิจัยจาก สุทัศน์ เยี่ยมวัฒนา และ ศศิมา เจริญกิจ ที่ได้มีการเผยแพร่ โดยโครงการวิจัยบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์
ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาข้อดี ข้อเสีย ของการนำโซลาร์เซลล์มาใช้ผลิตไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย และนำข้อมูลที่ศึกษาได้ไปใช้ในการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อเป็นบ้านต้นแบบ 4 หลัง และมีการประเมินผลบ้านต้นแบบทั้งหลังนั้น โดยเป็นการประเมินความคุ้มค่าทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการประหยัดพลังงานและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทำการเผยแพร่แบบบ้านต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตะลึง! หนุ่มติดโซลาร์เซลล์ เปิดแอร์ 3-4 ตัว ค่าไฟลดเหลือ 71 บาทจาก 4-5 พันบาท
SCG รุกตลาดพลังงานสะอาด ส่งโซลาร์เซลล์ครบวงจรเข้าประกวดโลกพลังงาน
ทั้งนี้การศึกษา พบว่า การนำโซลาร์เซลล์มาผลิตไฟฟ้ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยมาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายด้านที่ทำให้การใช้โซลาร์เซลล์ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ทั้งเรื่องงบประมาณนการลงทุน การบำรุงรักษา ความไม่สม่ำเสมอในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน ต่างก็ตระหนักดีถึงความจำเป็น ความคุ้มค่าและประโยชน์มากมายในการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
ดังนั้นจึงร่วมมือกันสนับสนุนและออกมาตรการส่งเสริมเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้โซลาร์เซลล์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โครงการวิจัยบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์ เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้โซลาร์เซลล์ในบ้านพักอาศัยอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยและทีมงานได้ออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์ซลล์ จำนวน 4 หลัง บ้านทั้ง 4 หลังนี้ มีลักษณะและคุณสมบัติในการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 4 หลังมีคุณสมบัติร่วมกันอยู่คือ เป็นบ้านประหยัดพลังงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าการประเมินอยู่ในระดับ ดีเด่น
รวมทั้งได้รับการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ในเรื่องงบประมาณในการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดยบ้านทั้ง4หลังนี้ จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 7-9 ปี (คำนวณจากอัตรากรรับซื้อไฟฟ้าคืนที่หน่วยละ 6.85 บาท มาตรการรับซื้อไฟฟ้าคืนสำหรับกลุ่มบ้านอยู่อาศัยที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ (กกพ.) ประจำปี พศ. 2558)
นอกจากนี้ผลการศึกษา ยังบ่งชี้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งาน แม้จะมีปัญหาและข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ถ้าภาครัฐมีมาตการสนับสนุนที่จริงจังและต่อเนื่องก็จะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้โซลาร์เซลล์ให้กว้างขวางแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในส่วนของเจ้าของบ้านเองถ้ามีความตั้งใจและพร้อมที่จะศึกษาเรียนรู้เทคนิคการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษาให้เข้าใจ ก็จะยิ่งช่วยให้เกิดการใช้งานโซลาร์เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
สำหรับแบบบ้านต้นแบบทั้ง 4 หลัง ผู้วิจัยและทีมงานได้ตั้งใจออกแบบขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน แต่ผลวิจัย พบว่าบ้านทั้ง 4 หลังจะมีคุณสมบัติร่วมกันอยู่คือ เป็นบ้านประหยัดพลังงานที่มีการนำพลังงานทดแทนคือโซลาร์เซลล์มาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยจะให้ความสำคัญกับการออกแบบให้มีทางหรือบันไดขึ้นไปทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ได้โดยสะดวก