โครงการที่มุ่งสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม! เยอรมนี ทดลองใช้ ตั๋วราคา 9 ยูโร ใช้เดินทางระหว่างเมืองด้วยรถไฟ , รถราง และรถบัส ได้แบบไม่จำกัดเที่ยว ภายใน 1 เดือน , ซึ่งหลังจากทดลองโครงการนี้มาแล้ว 3 เดือน ผลปรากฏว่า มีตัวเลขที่น่าพอใจ เพราะช่วยลดคาร์บอนไปได้ถึง 1.8 ล้านตัน
เรื่องราวของโครงการตั๋ว 9 ยูโร (ราว 340 บาท) ใช้ใช้รถไฟ--รถราง-รถบัส ได้แบบไม่จำกัดเที่ยวนี้ ถือเป็น เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และบรรเทาวิกฤตค่าครองชีพ ของประเทศเยอรมนี ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ด้าน สมาคมบริษัทขนส่งแห่งเยอรมนี หรือ Association of German Transport Companies (VDV) เผยว่า สามารถขายตั๋ว 9 ยูโร ได้มากถึง 52 ล้านใบ และพบว่า ผู้ใช้กว่า 1 ใน 5 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นประจำ ซึ่งปริมาณคาร์บอนที่ลดลงไปได้มากนั้น มาจากผู้ใช้กลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยตัวเลขโดยประมาณการคือสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ 1.8 ล้านตัน
ผู้ใช้ตั๋วราคา 9 ยูโร เผยว่า ตั๋วเดินทางมีราคาที่เข้าถึงได้ในทุกกลุ่มอาชีพ อีกทั้งยังช่วยให้เดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะลดความยุ่งยาก เช่น เรื่องโซนเดินทาง หรือประเภทของตั๋ว ที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จีนเปิดสถานีพลังงานอัจฉริยะ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาล
โอกาสลดการปล่อยคาร์บอนทางถนนให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2593 มีอยู่ แต่ไม่มาก!
ไอเดียของเยอรมนี นั้นน่าสนใจมาก เพราะหาก นำมาปรับใช้ให้กับไลฟ์สไตล์และการเดินทางของประเทศไทย ก็น่าจะเป็นผลดี แต่จุดหนึ่งที่ปฏิเสธและหนีความจริงไม่ได้ ก็คือ ระบบขนส่งสาธารณะของเยอรมนีมีความพร้อมกว่าไทยมาก หากจะนำมาเปรียบเทียบกัน , แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไอเดียของการ บรรเทาวิกฤตค่าครองชีพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้นแบบนี้ก็นับได้ว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
สำหรับโครงการ ตั๋ว 9 ยูโร ใช้ใช้รถไฟ--รถราง-รถบัส ได้แบบไม่จำกัดเที่ยวของเยอรมนี เริ่มมาตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2022 และเพิ่งปิดฉากลงไปเมื่อ 31 ส.ค. 2022 นับเป็นเวลา 3 เดือนเต็ม ซึ่งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเยอรมนี เผยว่า คาร์บอนจำนวน 1 ตันสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 180 ยูโร หรือเกือบ 6,600 บาท ดังนั้นแปลว่า โดยสรุปแล้ว โครงการนี้ ช่วยประหยัดค่าความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้ 1.8 ล้านตัน ก็เท่ากับ เงิน 324 ล้านยูโร หรือ 1.19 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
นี่ไม่ใช่ โครงการระบบสาธารณะโครงการแรกของเยอรมนี ที่มุ่งเน้นไปในทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะก่อนหน้านี้ ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เยอรมนี เปิดให้บริการรถไฟโดยสารขับเคลื่อนด้วย ‘พลังงานไฮโดรเจน’ เป็นครั้งแรกของโลก โดยเป็นการนำมาทดแทนรถไฟที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลกว่าสิบขบวนในรัฐโลเวอร์ แซกโซนี เพื่อปล่อยการคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์