SHORT CUT
กทม. ประกาศขยายระยะเวลา WFH เพิ่มเติม ในวันที่ 22 - 24 ม.ค. 68 เพื่อลดการเดินทาง ลดปริมาณรถยนต์ในภาคการจราจรซึ่งเป็นต้นตอหนี่งของฝุ่นในกรุงเทพฯ
วันนี้ (21 ม.ค. 68) นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม. ประกาศขยายระยะเวลา WFH เพิ่มเติม ในวันที่ 22 - 24 ม.ค. 68 เพื่อลดการเดินทาง ลดปริมาณรถยนต์ในภาคการจราจรซึ่งเป็นต้นตอหนี่งของฝุ่นในกรุงเทพฯ
สืบเนื่องจากการที่ กทม. ได้มีการประกาศขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนที่สะดวกทำงานที่บ้าน ร่วม Work From Home (WFH) ในวันจันทร์และอังคารที่ 20 - 21 ม.ค. 68 และจะมีการประกาศขยายระยะเวลา WFH เพิ่มเติมต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 24 ม.ค. 68 หากสถานการณ์ฝุ่นยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องนั้น
กทม. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยวานนี้ (20 ม.ค. 68) ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 พบเกินค่ามาตรฐานทั้ง 50 เขต ดัชนีคุณภาพอากาศระดับสีส้ม 50 เขต ส่วนในวันนี้ ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 พบเกินค่ามาตรฐานทั้ง 50 เขตเช่นกัน โดยดัชนีคุณภาพอากาศระดับสีแดง 2 เขต ส้ม 48 เขต
จากการพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 24 ม.ค. 68 พบว่า
ทั้งนี้ เนื่องจากมวลอากาศเย็นที่ยังคงปกคลุมพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้อากาศนิ่งและจมตัว และเกิดสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นช่วงวันที่ 25 - 27 ม.ค. 68 เนื่องจากมีอัตราการระบายที่เพิ่มขึ้น
สำหรับท่านที่ไม่สามารถ WFH ได้ หรือมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ขอให้ระมัดระวังและดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง ฯลฯ ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งและตลอดเวลาที่ออกนอกอาคาร รวมถึงจำกัดระยะเวลาในการอยู่นอกอาคาร
อย่างไรก็ตามควรงดทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากหรือเป็นเวลานาน และต้องสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยสามารถเข้ารับบริการที่คลินิกมลพิษทางอากาศ
โฆษกฯ กทม. กล่าวต่อไปว่า ทุกคนยังสามารถมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษในวันที่กรุงเทพฯ มีฝุ่นสูง โดยเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ จอดรถไว้ที่บ้าน หรือทางเดียวกันไปด้วยกัน เพราะรถทุกคันมีส่วนต่อการสร้างฝุ่น การใช้ระบบขนส่งมวลชนจะสามารถช่วยลดฝุ่นจากยานพาหนะได้มาก
นอกจากนี้ ขอชวนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น
ด้านความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ปัจจุบันมีหน่วยงานร่วมเป็นเครือข่าย WFH กับทาง กทม. แล้ว 278 บริษัท รวม 96,307 คน คิดเป็น 48% จากเป้าหมาย 200,000 คน โดยหน่วยงานที่สนใจร่วมเป็นเครือข่าย WFH เพื่อลดฝุ่นจากการเดินทางไปพร้อมกับ กทม. สามารถลงทะเบียนได้ผ่านลิงก์ (คลิ๊กที่นี่) หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2203 2951
ในส่วนของรถที่ขึ้นบัญชีสีเขียว (Green List) มีรถตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปขึ้นทะเบียน Green List แล้วประมาณ 31,041 คัน คิดเป็น 310% จากเป้าหมาย 10,000 คัน และแคมเปญรถคันนี้ #ลดฝุ่น ที่ได้เชิญชวนประชาชนร่วมดูแลรักษาเครื่องยนต์โดยเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง/ไส้กรอง มีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง/ไส้กรองแล้ว 229,711 คัน คิดเป็น 46% จากเป้าหมาย 500,000 คัน ซึ่งช่วยลด PM2.5 จากภาคการจราจรแล้ว 12% ลดฝุ่นจากทุกแหล่งกำเนิดได้ 8% โดยหากมีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง/ไส้กรองครบ 500,000 คัน ตามเป้าหมายจะสามารถลด PM2.5 จากภาคการจราจรได้ 25%
ในส่วนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษาได้มีการจัดทำแนวปฏิบัติและแนวทางการป้องกันฝุ่นและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้บริหารใช้ดุลยพินิจปิดโรงเรียนตามสถานการณ์ฝุ่นและเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของนักเรียน ปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครประกาศคำสั่งปิดโรงเรียนเนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สูง และคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว จำนวน 21 โรงเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ม.ค. 68 เวลา 11.30 น.) ดังนี้
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้านเพื่อให้สามารถป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศผ่านทาง
และหากพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง Traffy Fondue
ข่าวที่เกี่ยวข้อง