SHORT CUT
สมาชิกจากประเทศกำลังพัฒนายังมองว่า ประเทศร่ำรวยเป็นผู้รับผิดชอบหลักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพราะพวกเขาปล่อยมลพิษมากกว่า ดังนั้นควรจะให้การสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
แม้กระทั่งหัวหน้าด้านสภาพภูมิอากาศจากสหประชาชาติ ก็ยอมรับว่า ข้อตกลงในครั้งนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบ และมีงานต้องทำอีกมาก เพราะสหรัฐและสหภาพยุโรปเอง ก็มองว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ร่ำรวยขึ้นแล้วอย่างจีน ก็ควรจะต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนเงินด้วย
“ไม่มีประเทศใดได้ทุกอย่างที่ต้องการ และเรายังมีภารกิจมากมายที่ต้องทำต่อหลังจากออกจากบากู ดังนั้นนี่จึงไม่ใช่เวลาที่จะเฉลิมฉลองชัยชนะ” ไซมอน สตีล หัวหน้าด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์
สตีล ยังระบุด้วยว่า สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต้องการให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ร่ำรวยขึ้นแล้ว เช่น จีน - ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก - เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้วย
ที่มา : AFP,Reuters
ในที่สุดการประชุม COP29 ก็ได้บรรลุข้อตกลงแม้จะจบไม่สวยนัก เพราะมีการประท้วงกันวุ่นวาย และ ตัวเลขที่ตกลงจ่ายที่ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือด
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานการประชุม COP29 ที่ใช้เวลายาวนานถึง 2 สัปดาห์ จบลงด้วยการที่ประเทศร่ำรวยตกลงจ่ายเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2578 เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนา 134 ประเทศ นำเงินไปใช้ต่อสู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ถือว่าเป็นการประชุมที่ดุเดือดพอสมควร สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 หรือ COP29
เพราะตัวเลขนี้ต่อรองลงมาจาก 5 แสนล้านดอลลาร์ ที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้อง ดังนั้นแม้จะมีเสียงปรบมือดังขึ้นหลังได้ข้อสรุปเรื่องตัวเลขเงินทุนสนับสนุน
แต่เสียงเรียกร้องและท่าทีไม่พอใจ ก็ดังขึ้นเช่นกันทั้งจากอินเดีย และ ประเทศในแอฟริกา พวกเขามองว่าตัวเลข 3 แสนล้านดอลลาร์น้อยเกินไปมาก “จำนวนเงินที่เสนอมาเป็นเพียงเศษเงิน” ทำให้บรรยากาศการเจรจาข้ามคืนเป็นอย่างตึงเครียด มีบางครั้งที่มีการวอล์กเอาท์ออกจากห้องประชุมด้วย
โมฮัมเหม็ด อาดอว์ ผู้อำนวยการชาวเคนยาของ Power Shift Africa ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองกล่าวว่า “การประชุม COP ครั้งนี้เป็นหายนะสำหรับประเทศกำลังพัฒนา มันเป็นการทรยศทั้งต่อมนุษยชาติและโลกใบนี้ โดยประเทศร่ำรวยที่อ้างว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง”