svasdssvasds

ระวังท่วมหนักกว่าเดิม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

ระวังท่วมหนักกว่าเดิม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

สทนช. ประกาศเตือนเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง หลังพบว่าร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักมาก

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ออกประกาศเรื่องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่าทางสทนช. ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว ประกอบกับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนัก และมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ และจากการประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้

ไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสทนช

1. สถานการณ์แม่น้ำโขง 
เนื่องจากขณะนี้มวลน้ำหลากในแม่น้ำโขงได้ไหลผ่านจังหวัดเลย หนองคาย และบึงกาฬ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดหนองคายสูงสุด 21,187 ลูกบาศก์เมตร/วินาที สูงกว่าตลิ่ง 1.62 เมตร และจะเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 - 1.0 เมตร ในช่วงวันที่ 18 - 21 กันยายน 2567 โดยเฉพาะจังหวัดนครพนม ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง 0.3 - 0.5 เมตร ในวันที่ 18 กันยายน 2567

2. สถานการณ์น้ำห้วยหลวง 
บริเวณสถานีบ้านโนนตูม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระดับน้ำ ณ วันที่ 16 กันยายน 2567 สูงกว่าตลิ่ง 0.21 เมตร จากการคาดการณ์แนวโน้ม พบว่าในวันที่ 17 กันยายน 2567 ระดับน้ำห้วยหลวงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงกว่าลำน้ำสาขา จึงไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้สะดวก ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำล้นตลิ่งต่ำ และไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ จึงขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมขัง บริเวณพื้นที่ด้านท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ได้แก่ อำเภอกุดจับ เมืองอุดรธานี และสร้างคอม 
จังหวัดอุดรธานี อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในช่วงวันที่ 17 – 22 กันยายน 2567

ระวังท่วมหนักกว่าเดิม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

ในการนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้น และเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง และริมลำน้ำบางสาขาของประเทศไทยที่ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้โดยสะดวก
  2. วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทาน เตรียมพร้อมบุคลากร เครื่องจักรให้พร้อมใช้งาน เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อประชาชน
  3. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที
     
related