SHORT CUT
ข้อมูจากสหประชาชาติ เผยให้เห็นว่า 15.5% ของที่ดินเสื่อมโทรมแล้ว เพิ่มขึ้น 4% ในหลายปี และพื้นที่ที่เสื่อมโทรมก็อาจแปรสภาพเป็นทะเลทราย
ปัจจุบันผู้คนประมาณ 2 พันล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นทะเลทราย ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แอฟริกา เอเชียตะวันออก และเอเชียกลาง
ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ การขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ความแห้งแล้ว ขาดแแหล่งน้ำ พืชปกคลุมที่ดิน อาจทำให้พื้นที่นั้นแแปรสภาพกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด ซึ่งพูดง่ายๆ คือ ทะเลทรายเกิดขึ้นมาจากความเสื่อมโทรมของที่ดินประเภทหนึ่ง ซึ่งความเสื่อมโทรมของพื้นที่นั้นอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น โลกร้อน การตัดไม้ทําลายป่า การเกษตรที่ไม่ยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รายงานของ World Economic Forum รายงานผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ในปี 2024 ว่า หลายประเทศในเอเชีย อย่าง จีน อุซเบกิสถาน และคีร์กีซสถาน เป็นหนึ่งในประเทศที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางพื้นที่มีภูมิอากาศแบบทะเลทราย การแปรสภาพเป็นทะเลทรายไปสู่สภาพอากาศที่ร้อนและเปียกชื้น ภูเขาขาดหิมะทําให้ธารน้ำแข็งค่อยๆ หายไป คุกคามทำให้ความมั่นคงด้านน้ำสั่นคลอน ส่งผลกับคนในพื้นที่และการเกษตร
ด้านสหรัฐอเมริกา พื้นที่เกือบ 40% กําลังเผชิญกับภัยแล้งและกำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของที่ดิน ส่วนยุโรปตอนใต้ก็กำลังประสบภัยแล้งที่รุนแรง อย่าง สเปน โปรตุเกส อิตาลี กรีซ ไซปรัส บัลแกเรีย และโรมาเนีย กำลังได้รับผลกระทบต่อการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
แน่นอนว่าการแก้ไขการแปรสภาพที่ดินเสื่อมโทรมไปสู่การเป็นทะเลทราย หลายประเทศกำลังนำเนินการแก้ไนอยู่ สิ่งที่หลายประเทศทำคือ การปลูกป่าเนื่องจากสามารถช่วยฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมได้
อย่างเช่น อุซเบกิสถานมีโครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้และพุ่มไม้บนพื้นที่หนึ่งล้านเฮกตาร์ตามแนวทะเลทรายอาราล ซึ่งไม้ที่ปลูกมีคุณสมบัติทนแล้งสูงและสามารถตรึงเกลือและทรายได้ ป้องกันไม่ให้ถูกพัดพาและพัดพาเข้าไปในแผ่นดินโดยพายุทราย
ส่วนสําคัญในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน เป็นการแนะนําแนวทางการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การทำเกษตรแบบวน ซึ่งช่วยให้สามารถปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตรได้ด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดการน้ำ การเก็บน้ำฝน ชลประทาน การปลูกพืชน้ำน้อย ทนแล้ง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :