svasdssvasds

โลกร้อนทำทั้งโลกยากจนลง รายได้ลด 19% ภายในปี 2049 แอฟริกา เอเชียใต้ รุนแรงสุด

โลกร้อนทำทั้งโลกยากจนลง รายได้ลด 19% ภายในปี 2049 แอฟริกา เอเชียใต้ รุนแรงสุด

จากภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น จะเห็นได้จากคลื่นความร้อนที่ทำลายสถิติ น้ำท่วมรุนแรง และไฟป่าเฉียบพลัน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจ

SHORT CUT

  • การศึกษาใหม่เผยว่ารายได้ทั่วโลกลดลงประมาณ 19% ในอีก 26 ปีข้างหน้า
  • ส่วนใหญ่จะมีการรายได้ลดอย่างมาก ทั้งอเมริกาเหนือและยุโรป โดยเอเชียใต้และแอฟริกาได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด
  • การปรับตัว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแนวทางที่พอจะลดความเสียหายได้ 

จากภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น จะเห็นได้จากคลื่นความร้อนที่ทำลายสถิติ น้ำท่วมรุนแรง และไฟป่าเฉียบพลัน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจ

การศึกษาใหม่เผยว่ารายได้ทั่วโลกลดลงประมาณ 19% ในอีก 26 ปีข้างหน้า จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ โลกกำลังมุ่งสู่ภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียสในศตวรรษหน้า แม้ว่าจะมีนโยบายและเป้าหมายด้านสภาพอากาศก็ตาม

โลกร้อนทำทั้งโลกยากจนลง รายได้ลด 19% ภายในปี 2049 แอฟริกา เอเชียใต้ รุนแรงสุด  
Noah Diffenbaugh ศาสตราจารย์และนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงเท่านั้น แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อการเกษตร ผลิตภาพแรงงาน และแม้แต่ความสามารถด้านการรับรู้ในบางกรณีอีกด้วย

โลกร้อนทำทั้งโลกยากจนลง รายได้ลด 19% ภายในปี 2049 แอฟริกา เอเชียใต้ รุนแรงสุด

การศึกษาพบว่าต้นทุนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจะสูงกว่าราคาการจำกัดความร้อนโลกไว้ที่ 2 องศาเซลเซียสถึง 6 เท่า สิ่งนี้จะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับเกือบทุกประเทศ โดยส่งผลกระทบรุนแรงอย่างไม่เป็นสัดส่วนต่อผู้ที่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด และทำให้ความไม่เท่าเทียมกันแย่ลงไปอีก
รายงานระบุว่าการสูญเสียรายได้โดยเฉลี่ยทั่วโลกอย่างถาวรจะอยู่ที่ 19% ภายในปี 2049 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปัจจัยพื้นฐานที่ไม่มีผลกระทบจากโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รายได้จะลดลงจะอยู่ประมาณ 11% ในขณะที่ในแอฟริกาและเอเชียใต้จะลดลงถึง 22% และบางประเทศอาจจะสูงกว่านี้มาก
การศึกษาช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้ เผยว่าการกระทำของมนุษย์ในปัจจุบันยังคงสามารถสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจดำเนินไปตามปกติโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะสูญเสียรายได้โดยเฉลี่ยมากกว่า 60% ภายในปี 2100 แต่หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจนเหลือศูนย์ภายในกลางศตวรรษ รายได้ที่ลดลงจะทรงตัวที่ประมาณ 20%
แม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่พิจารณาเฉพาะความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แต่รายงานฉบับใหม่ยังรวมเอาปริมาณฝนและผลกระทบจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยใช้ข้อมูล 40 ปีจากภูมิภาคย่อย 1,600 แห่ง นี่เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากสภาพอากาศเป็นปรากฏการณ์ในท้องถิ่นมากกว่าปรากฏการณ์ระดับชาติ การศึกษายังพิจารณาว่าผลกระทบมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไป

            
            
            โลกร้อนทำทั้งโลกยากจนลง รายได้ลด 19% ภายในปี 2049 แอฟริกา เอเชียใต้ รุนแรงสุด
        รายงานฉบับใหม่ระบุตัวอย่างหลายประเทศต่างๆ ที่มีแนวโน้มรายได้ลดลงจากโลกร้อนเช่น เยอรมนี -11% ฝรั่งเศส -13% สหรัฐอเมริกา -11% และสหราชอาณาจักร -7% จะประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดคือประเทศในภูมิภาคร้อนอยู่แล้ว ได้แก่ บอตสวานา -25% มาลี -25% อิรัก -30% กาตาร์ -31% ปากีสถาน -26% และบราซิล -21% 
Maximilian Kotz นักวิจัยกล่าวว่า “คาดว่าภูมิภาคส่วนใหญ่จะมีการรายได้ลดอย่างมาก รวมถึงอเมริกาเหนือและยุโรป โดยเอเชียใต้และแอฟริกาได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด สิ่งเหล่านี้มีสาเหตุมาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภาพแรงงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน”
เราจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์การปรับตัวที่แข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจนและได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุด เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจนถึงปี 2050 ที่ถูกล็อคเข้าสู่ระบบสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว
Anders Levermann หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของสถาบันพอทสดัมกล่าวว่า “เป็นหน้าที่ของเราที่จะตัดสินใจว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของเรา และจะช่วยประหยัดเงิน อุณหภูมิของโลกจะยังคงสูงขึ้นหากเราหยุดการเผาน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน”

อย่างไรก็ตามการปรับตัว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแนวทางที่พอจะลดความเสียหายได้ และประเทศที่ยากจนก็สามารถหารายได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่


 

ที่มา : CNN / The Guardian

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :