svasdssvasds

ไทยผุด NAP แผนรับมือโลกร้อน หวังสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับตัวต่อโลกรวน

ไทยผุด NAP แผนรับมือโลกร้อน หวังสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับตัวต่อโลกรวน

จากสถานการณ์โลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงเรื่องปากท้องของมนุษย์ด้วย

SHORT CUT

  • ประชุม ครม. ล่าสุดได้เห็นชอบต่อแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ 
  • แผน NAP เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับตัวต่อผลกระทบจาก Climate Change
  • เป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ของการพัฒนาในทุกระดับ 

จากสถานการณ์โลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ รวมไปถึงเรื่องปากท้องของมนุษย์ด้วย

จากการประชุม ครม. ล่าสุดได้เห็นชอบต่อแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ Thailand’s National Adaptation Plan: NAP ซึ่งเป็นกรอบแนวทางของประเทศในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไทยผุด NAP แผนรับมือโลกร้อน หวังสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับตัวต่อโลกรวน

แผน Thailand’s National Adaptation Plan: NAP เป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Global Goal on Adaptation: GGA) และการทบทวนสถานการณ์ และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส

อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้ประเทศไทยเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ โดยการดำเนินงานหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของประเทศภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ จะนำส่งแผนการปรับตัวฯ ต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาฯ ต่อไป

ไทยผุด NAP แผนรับมือโลกร้อน หวังสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับตัวต่อโลกรวน จากการที่ประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลก ต้องเผชิญกับความร้อนที่มีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนนี้ ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อย่างเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาสุขภาพ รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง 

NAP เป็นกรอบแนวทางของประเทศ ในการบูรณาการประเด็นการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์รายสาขาและในระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีพันธกิจในการสร้างภูมิคุ้มการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาประเทศ

อีกทั้งเสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ของภาคีการพัฒนาในทุกระดับ และการพัฒนาข้อมูล งานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี กำหนดเป้าหมาย แนวทางและมาตรการ รายสาขา 6 สาขา ได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ  การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะมีรายละเอียดข้อมูลสภาวการณ์ การคาดการณ์แนวโน้มความเสี่ยง ผลกระทบ และพื้นที่เสี่ยงแต่ละรายสาขา พร้อมทั้งมีกรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :