นักวิจัยได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของป่าฝนแอมะซอน ซึ่งพบว่าในปี 2050 อาจเป็นจุดเปลี่ยนของป่าแอมะซอนที่จะอ่อนแอกว่าเดิมและมีความทนต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศได้น้อยกว่าเดิมเป็นอย่างมาก
ป่าแอมะซอนกำลังจะถึงจุดเปลี่ยนในปี 2050 อันเป็นผลมาจากความเครียดจากน้ำ การกวาดล้างที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกร้อน
กิจกรรมของมนุษย์และวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลกระทบต่อป่าที่สำคัญ อย่าง ป่าฝนแอมะซอนเป็นอย่างมาก และได้มีการเรียกร้องให้ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมและปรับปรุงความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ
เป็นเวลากว่า 65 ล้านปีที่ป่าแอมะซอนสามารถทนต่อความแปรปรวนของภูมิอากาศได้ แต่ปัจจุบันภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับความเครียดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากความแห้งแล้ง ความร้อน ไฟไหม้ และการถางที่ดิน ซึ่งส่งผลกระทบไปทุกพื้นที่แม้แต่กับบริเวณใจกลางส่วนลึกของป่าที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของป่าไม้ ซึ่งในหลายพื้นที่ฝนตกน้อยลงกว่าเดิม และเปลี่ยนแหล่งกักเก็บคาร์บอนให้กลายเป็นตัวปล่อยคาร์บอน
จากการศึกษาได้เผยถึงจุดพลิกผันของป่าแอมะซอนในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีการถางป่า 20-25% และการศึกษาล่าสุดมีหลักฐานทำให้เกิดความเครียดจากน้ำ อาจทำให้เกิดการพังทลายของป่าในท้องถิ่น ภูมิภาค หรือแม้กระทั่งระบบนิเวศ
มีการประมาณการว่าภายในปี 2050 ป่าแอมะซอน 10-47% จะต้องเผชิญกับการรบกวนที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบนิเวศโดยไม่คาดคิด และส่งผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค
เพื่อป้องกันสิ่งนี้มีการศึกษาว่าเราจำเป็นต้องมีการกำหนดเขตพื้นที่ปลอดภัยรวมถึงเขตกันชน เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกให้ไม่ร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หรือไม่มากกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังพบว่าป่าแอมะซอน 15% ถูกแผ้วถาง และอีก 17% เสื่อมโทรมลงโดยกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ ไฟไหม้ และพื้นที่ป่าแอมะซอนอีก 38% อาจอ่อนกำลังลงอันเป็นผลมาจากภัยแล้งที่ยืดเยื้อในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
มีการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ติดตามวิถีระบบนิเวศ 3 ประการ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสะวันนาทรายขาว ท้องฟ้าเปิดที่เสื่อมโทรม และป่าเสื่อมโทรม ทั้งหมดนี้ อาจทำให้เกิดไฟป่าและความแห้งแล้งมากขึ้น
ป่าแอมะซอนตอนนี้อุณหภูมิในฤดูแล้งสูงกว่าเมื่อ 40 ปีที่แล้ว 2 องศาเซลเซียสในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของแอมะซอน และแบบจำลองป่าฝนแอมะซอนในปี 2050 คาดการณ์ว่าจะมีวันที่แห้งแล้งมากกว่าปัจจุบันระหว่าง 10-30 วัน และอุณหภูมิสูงสุดต่อปีจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 2-4 องศาเซลเซียส
รูปแบบปริมาณน้ำฝนกำลังเปลี่ยนไป นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 พื้นที่ป่าแอมะซอนตอนกลางและตอนปลายเริ่มแห้งแล้งมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนรายปีในแอมะซอน โบลิเวียตอนใต้ลดลงสูงสุด 20 มม. ในทางตรงกันข้าม ภูมิภาคแอมะซอนทางตะวันตกและตะวันออกเริ่มมีความชื้นมากขึ้น หากแนวโน้มเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป ระบบนิเวศจะถูกเปลี่ยนรูปแบบใหม่ บางภูมิภาคจะกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา ในขณะที่พื้นที่อื่นๆ ของแอมะซอนมีแนวโน้มที่จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
ป่าแอมะซอนเป็นที่อยู่อาศัยของความหลากหลายทางชีวภาพบนบกมากกว่า 10% ของโลก กักเก็บการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกได้นานถึง 15-20 ปี มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 50% ในภูมิภาค และมีความสำคัญต่อความชื้นทั่วอเมริกาใต้
ที่มา : The Guardian
เนื้อหาที่น่าสนใจ :