36.8 พันล้านตัน คือตัวเลขโดยประมาณ (ยังไม่ครบสิ้นปี) ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนของทั่วโลกในปี 2023 ซึ่งเพิ่มสูงกว่าปีที่แล้วถึง 1.1% รายงานข้อมูลโดย Global Carbon Budget แถมฉะผู้นำทั่วโลกให้ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สักที อย่าทำแค่รับปาก
อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปีแล้ว อะไรที่ทำมาตั้งแต่สิ้นปีเห็นผลบ้างหรือยัง? แต่มีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทำและผลิดอกออกผลแล้วนั่นก็คือ การปล่อยมลพิษทุกรูปแบบออกสู่ชั้นบรรยากาศ จนทำการรักษาอุณหภูมิไว้ไม่ให้เกิน 1.5°c คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
งานวิจัยจาก Global Carbon Budget ในปี 2023 เกิดจากการร่วมมือกันของหลายภาคส่วน ประกอบไปด้วยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัย East Anglia (UEA) และสถาบันอื่น ๆ ทั่วโลกอีกกว่า 90 สถาบัน
รายงานประจำปีดังกล่าวโชว์ให้เราเห็นว่า อัตราการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซยังเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และมากกว่าปี 2022 เสียอีก ตามรายงานของโครางการดังกล่าวระบุว่า โลกปีนี้มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกเพิ่มมากกว่าปี 2022 อยู่ 1.1%
หลังจากที่ตัวเลข 1.1% ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2022 บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสันนิษฐานไปในทางเดียวกันว่า อุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ลดการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมากและเร็วเพียงพอ ที่จะสามารถหยุดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้
นอกจากนี้ Global Carbon Budget ยังระบุไว้ด้วยว่า แม้อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกจะดู ‘ชะลอตัว’ ลงเป็นอย่างมาก แต่พอเข้าช่วงสิ้นปีตัวเลขกลับพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์เสียอย่างนั้น โดยในช่วงสิ้นปีพอดี คาดการณ์ว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกในปี 2023 จะทำให้ตัวเลขพุ่งไปที่ 40.9 พันล้านตัน
“เห็นได้ชัดเลยว่ายังไงอุณหภูมิก็จะบรรลุเกิน 1.5°c องศาเซลเซียสตามขกต้อลงปารีสอย่างแน่อน การประชุม COP28 ต้องเร่งถกเรื่องการลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเร็ว เพื่อให้โลกไม่อุณหภูมิเพิ่มสูงเกิน 2°c” ศาสตราจารย์ Pierre Friedlingstein ผู้ศึกษาวิจัยดัง กล่าว
ทั้งนี้ทั้งนั้น นักวิจัยได้คาดคะเนด้วยสถิติพร้อมกับประมวลองค์ประกอบด้านมลพิษของแต่ละประเทศแล้ว พบว่า ในปี 2023 อินเดียและจีน 2 ประเทศที่รั้งอันดับหนึ่งในการปล่อยมลพิษออกสู่โลกจะมีอัตราการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้น ส่วนสหรัฐและยุโรป ซึ่งเป็น 2 เสามหาอำนาจของโลก กลับมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง
ทีมนักวิจัยระบุในรายงานเพื่อส่งสารไปยังผู้นำต่าง ๆ ทั่วโลก ในทำนองที่ว่า ดีแต่รับปาก แต่เชิงปฏิบัติไม่เห็นมีอะไรเป็นรูปเป็นร่างอาทิ รัฐบาลต่าง ๆ สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานสะอาด แต่การเพิกเฉย และแกล้งมองไม่เห็นต้นตอของการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศ
“การสนับสนุนพลังงานสะอาดถือเป็นเรื่องดี แต่แค่นี้ไม่พอ รัฐบาลต่าง ๆ จำต้องผลักดันนโยบายในการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลออกจากอุตสาหกรรมพลังงานให้หมด”Glen Peters ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศ กล่าว
นอกจากนี้นักวิจัยคนอื่น ๆ ก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ และดันหลังให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ มิเช่นนั้น พวกเราก็ต้องอยู่ในโลกที่ฟอนเฟะ จากผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ ๆ
ที่มา: The Guardian
เนื้อหาที่น่าสนใจ