ไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านอุทกภัยอันดับ 9 ของโลก เนื่องจากภาวะโลกร้อนปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้นซึ่งธนาคารโลกห่วงว่าอาจสร้างความเสียหายรุนแรงขึ้นเป็น 2 เท่า เตือนให้ไทยเตรียมพร้อมในการรับมือภัยธรรมชาติ โดยได้แนะนำแนวทางบรรเทาอุทกภัยไว้ดังนี้
ประเทศไทยมีความเสี่ยงด้านอุทกภัยอันดับ 9 ของโลก รองจากเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา จากข้อมูลความเสี่ยงด้านอุทกภัยสะท้อนจากดัชนีการบริหารความเสี่ยง (INFORM Index) ที่ระบุว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ส่งผลกระทบต่อประชากรเกือบ 13 ล้านคน และสร้างความเสียหายและความสูญเสียต่อเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.43 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6 % ของ GDP
ปัญหา Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ทำให้มีความถี่และรุนแรงของปัญหาอุกทกภัยมากขึ้นเรื่อยๆ การคาดการณ์ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนต่อปีเพิ่มขึ้น ซึ่งค่าความผิดปกติของฝนในปี 2560 สูงเกินกว่าในปี 2554 อีกทั้งสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ยังระบุว่าปี 2563 มีความสูญเสียจากอุทกภัยเฉลี่ยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2.6 พันล้านดอลลาร์
ธนาคารโลกแห่งประเทศไทย เผยว่าไทยมีความจำเป็นต้องพิจารณาในหลายๆ ด้าน รวมถึงการสร้างความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ การร่วมมือกันของภาครัฐ เบื้องต้นได้มีการเตรียมพร้อมการรับมือผ่านแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี ซึ่งสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืนและเตรียมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ความสำคัญต่อสุขภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนด้วย
ในปี 2570 ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำท่วมก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยได้ ด้าน Water Global ธนาคารโลก เผยว่า การกักเก็บน้ำทั่วโลกนั้นมีอยู่ประมาณ 27,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าประชากร 50 เท่า แต่ในอนาคตจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โอกาสเกิดปัญหาขาดแคนน้ำจึงมีอยู่และจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่จึงต้องเตรียมแผนรับมือไว้อย่างรอบคอบ
ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยแนวทางการบรรเทาปัญหาอุทกภัย ดังนี้
1. ปรับรูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่ราบต่ำเพื่อลดความเสียหายและชะลอน้ำท่วม
2. ส่งเสริมให้ประชาชนปรับตัวรับมือน้ำท่วม เช่น ยกชั้นใต้ดิน พื้นที่อพยพ อย่าง สะพานเดิน ส้วมลอยน้ำ
3. การเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ เช่น บริเวณ แม่น้ำที่คอขวด การใช้คลองผันน้ำบางบาล-บางไทร เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของระบบชลประทานที่มีอยู่
4.ลดการปล่อยน้ำท่วมไปยังพื้นที่เป้าหมาย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :