สภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกับสภาพอากาศโลกแปรปรวน บางพื้นที่แล้ง บางพื้นที่ฝนตกหนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายแรงกับใต้ผิวโลก เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดมากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้เลขาธิการสหประชาชาติได้ออกมาชี้ว่า อุณหภูมิของพื้นผิวโลก และอุณหภูมิมหาสมุทรในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อยู่ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า มันกำลังสิ้นสุดยุคของ “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) แต่กำลังเข้าสู่ยุค “ภาวะโลกเดือด” (Global Boiling)
ภาวะโลกรวนเริ่มทำให้เราเห็นภาพทางธรรมชาติชัดขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้บางส่วนของยุโรปและแคนาดาเกิดไฟป่าที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก ล่าสุดไฟป่าฮาวายโหมรุนแรงจนเป็นผลให้ทั้งเมืองถูกไฟเผาวอด คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 111 ชีวิต นับเป็นโศกนาฏกรรมไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในขณะที่ปักกิ่งฝนตกหนัก น้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนมาที่สุดในรอบ 140 ปี
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
วงปีต้นไม้ ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิอากาศในพื้นที่ วิเคราะห์น้ำ ความชื้น
"โลกร้อน" มหาสมุทรดูดซับความร้อน 90% ทำทะเลเดือด เป็นอันตรายต่อโลกมนุษย์
"วาฬโลลิต้า" วาฬออร์กาที่ถูกจองจำกว่า 50 ปี ตายก่อนได้รับการปล่อยตัว
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ความแห้งแล้งยิ่งเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการเกิดไฟป่ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดฝนตกหนัก พายุ และโลกร้อนยังเป็นตัวเร่งทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วยิ่งขึ้น
นักวิจัยเผยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน อาจไม่ได้ส่งผลร้ายแรงกับพื้นผิวของโลกอย่างเดียวเท่านั้น แต่ Climate Change ยังมีผลกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาและเพิ่มการละลายของธารน้ำแข็ง ซึ่งส่งผลรุนแรงกับใต้ผิวโลก อย่าง กระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวและการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้ภูเขาไฟระเบิดมากขึ้น
นักธรณีวิทยา ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมากับแผ่นดินไหว โดยยกตัวอย่างความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวในหิมาลัย ได้รับอิทธิพลมาจากปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูมรสุมแต่ละปี ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยิ่งมีมากเท่าไรยิ่งทำให้มีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้นเท่านั้น
ที่มา : The conversation / Spring News