svasdssvasds

ภัยแล้งเอลนีโญทำพิษ สินค้าเกษตรลด ส่งออกน้อยป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน

ภัยแล้งเอลนีโญทำพิษ สินค้าเกษตรลด ส่งออกน้อยป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน

จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ส่งผลปริมาณผลผลิตทางการเกษตรอาจผลิตได้ไม่มากพอ ทำให้มีการกักตุนเสบียง ส่งออกน้อยลง เพื่อป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน อีกทั้งราคาข้าวยังพุ่งสูงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าการส่งออกข้าวครึ่งปีหลังสถานการณ์ไม่แน่นอน

International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเทียบกับผลพยากรณ์ช่วง พ.ค. 2566 ทะลุระดับ 90% และลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 ซึ่งเอลนีโญส่งผลให้เกิดภัยแล้ง ทำให้ยากต่อการทำการเกษตร

ภัยแล้งเอลนีโญทำพิษ สินค้าเกษตรลด ส่งออกน้อยป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน

ปรากฏการณ์เอลนีโญและภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้ผลผลิตข้าวในประเทศผู้ส่งออกหลัก ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ไทย หรือเวียดนาม ปรับตัวลดลง โดยล่าสุดราคาข้าวสาร 5% ของไทย ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงในภูมิภาคเอเชียได้ทะยานขึ้นไปแตะระดับ 648 ดอลลาร์ต่อตันแล้ว หลังจากที่อยู่ในระดับ 572 ดอลลาร์ต่อตันช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่า ราคาข้าวที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบกับประชากรโลกหลายพันล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกาที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และข้าวมีสัดส่วนสูงถึง 60-70% ของพลังงานจากอาหารที่ผู้คนเหล่านี้บริโภคต่อวัน

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

ภัยแล้งเอลนีโญทำพิษ สินค้าเกษตรลด ส่งออกน้อยป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน

นอกจากปัจจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภัยแล้งจากเอลนีโญแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ส่งผลกับผลผลิตทางการเกษตรและราคาข้าวที่พุ่งสูง อย่าง อินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกออกมาตรการห้ามส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา และไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 แจ้งเตือนให้เกษตรกรในประเทศลดการเพาะปลูกในปีนี้ลง

ปีเตอร์ ทิมเมอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางอาหาร กล่าวว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้ปริมาณน้ำฝนลดลง ส่งผลทำให้ผลผลิตข้าวลดต่ำลงตามไปด้วย และเมื่อการผลิตข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของหลายประเทศตกต่ำลง รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จะเริ่มให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากไม่ต้องการให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้น

ด้าน ชัว ฮัก บิน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Maybank Investment Banking Group ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศหรือ Climate Change ส่งผลกระทบต่อผลผลิตการเกษตร จะทำให้หลายประเทศหันมาใช้นโยบายปกป้องทางการค้ามากขึ้น ซึ่งรวมถึงการห้ามส่งออกสินค้าที่เชื่อว่าจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

ภัยแล้งเอลนีโญทำพิษ สินค้าเกษตรลด ส่งออกน้อยป้องกันอาหารในประเทศขาดแคลน

ทาง World Grain Situation and Outlook ของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เดือน พ.ค. 2566 ประเมินว่าสต๊อกข้าวโลกจะอยู่ที่ 166.68 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีการผลิตก่อนหน้าถึง 8.56% 

ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผยว่า การส่งออกข้าวครึ่งหลังปี 2566 สถานการณ์ไม่แน่นอน ซึ่งเกิดจากรัฐบาลของอินเดียได้สั่งยุติส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติ เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในประเทศ และสกัดกั้นการขึ้นราคาข้าวในประเทศที่สูงขึ้นระดับสูงสุดในรอบหลายปี ทำให้ตลาดค้าข้าวโลกหยุดชะงักเพื่อรอดูสถานการณ์ เนื่องจากหลังจากประกาศแล้วราคาข้าวดีดขึ้นทันที

ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประเมินว่าการส่งออกครึ่งปีหลังไม่แน่นอนไม่ราบรื่น โดยเฉพาะนโยบายอินเดียที่อาจขายให้ประเทศที่ร้องขอในราคาที่ไม่แพงจะแย่งตลาดไทย สำหรับการส่งออกข้าวครึ่งปีหลัง 2566 จะถึง 4 ล้านตัน โดยครึ่งปีแรกส่งออกได้ 4.2 ล้านตัน รวมแล้วทั้งปีได้ถึง 8 ล้านตัน ตามเป้าหมาย แต่ต้องดูสถานการณ์ระหว่างนี้ ส่วนปัญหาเอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงต้องติดตามผลกระทบต่อผลผลิตข้าวไทย ซึ่งช่วงนี้ยังมีฝนตกดีจึงรอดูเดือน ก.ย. เป็นต้นไป ที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ หากฝนทิ้งช่วงอาจส่งผลเสียกับการผลิตข้าวได้

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ