svasdssvasds

โลกรวนทำพิษ ร้อนวิกฤติทั่วโลก ปี 66 เตรียมขึ้นแท่นปีที่ร้อนที่สุด

โลกรวนทำพิษ ร้อนวิกฤติทั่วโลก ปี 66 เตรียมขึ้นแท่นปีที่ร้อนที่สุด

ข้อมูลสถิติภูมิอากาศชี้ชัด อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทะยานทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้หลายพื้นที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนสุดขั้ว

นอกจากสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จะทำสถิติสัปดาห์ที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว เดือนมิถุนายน 2566 ยังทำลายสถิติเดือนมิถุนายนที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาตร์เช่นกัน โดยจากข้อมูลของ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ชี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ถึง 1.05 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเก่าของเดือนมิถุนายน 2565 ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศตวรรษที่ 20 ประมาณ 0.28 องศาเซลเซียส

สถิติดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์โดย European Union’s Copernicus Climate Change Service, Berkeley Earth, สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น, และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ซึ่งเห็นพ้องว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในเดือนมิถุนายน 2566 ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการตรวจวัด

โลกรวนทำพิษ ร้อนวิกฤติทั่วโลก ปี 66 เตรียมขึ้นแท่นปีที่ร้อนที่สุด

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่ยังคงทะยานต่อเนื่องจากสภาวะโลกร้อน และผลพวงจากปรากฎการณ์เอลนีโญนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเห็นพ้องว่า มีโอกาสถึง 81% ที่ปี 2566 จะขึ้นแท่นเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากปรากฎการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้หลายพื้นที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนสุดขั้ว โดย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าว BBC รายงานว่า คลื่นความร้อนรุนแรงในยุโรป ทำให้หลายเมืองในฝรั่งเศส, สเปน, กรีซ, โครเอเชีย, ตุรกี, และอิตาลี มีอุณหภูมิสูงถึงกว่า 40 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนรุนแรงที่ทำสถิติสูงถึง 48.8 องศาเซลเซียส ทำให้รัฐบาลอิตาลีต้องประกาศสภาวะฉุกเฉินในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึง กรุมโรม, โบโลญญา, และฟลอเรนซ์

โลกรวนทำพิษ ร้อนวิกฤติทั่วโลก ปี 66 เตรียมขึ้นแท่นปีที่ร้อนที่สุด

ไม่เพียงแต่ทวีปยุโรปที่ประสบภัยคลื่นความร้อนรุนแรง หลายพื้นที่ในแคนาดา, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, และจีน ก็กำลังเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนผิดปกติเช่นเดียวกัน

ยิ่งไปกว่านั้น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นยังทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลการศึกษาจาก Berkeley Earth พบว่า สภาพอากาศที่อบอุ่นผิดปกติในเดือนมิถุนายนที่ทวีปแอนตาร์กติกา ทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกใต้ก่อตัวเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด

ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาสูงก็ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่อบอุ่นผิดปกติเช่นกัน โดยจากข้อมูลของ International Water Management Institute ระบุว่า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัย อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญหลายสายในเอเชีย รวมถึง แม่น้ำโขง กำลังละลายอย่างรวดเร็ว จนอาจละลายไปเกือบหมดในอีกภายใน 30 ปี สร้างความเสี่ยงต่อชุมชนท้ายน้ำของแม่น้ำเหล่านี้ ที่ยังต้องพึ่งพิงน้ำจากธารน้ำแข็งในการดำรงชีพ

related