svasdssvasds

ครั้งแรก! ไทยทำกฎหมายโลกร้อน แนวทางสู่ Carbon Neutrality คาดใช้ ก.ย. 2566

ครั้งแรก! ไทยทำกฎหมายโลกร้อน แนวทางสู่ Carbon Neutrality คาดใช้ ก.ย. 2566

ตอนนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม หลายประเทศมีกฎหมายออกมาเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยเองก็ได้จัดทำกฎหมายโลกร้อน หรือ (ร่าง)พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นครั้งแรก โดยตั้งเป้าไว้ว่าเสร็จสิ้นปี 2566

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่าว่า (ร่าง)พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเก็บข้อมูล และช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทย ทั้งในด้านการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะในอนาคตการค้าขายกับต่างประเทศจะถูกบังคับด้วยกรอบด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ครั้งแรก! ไทยทำกฎหมายโลกร้อน แนวทางสู่ Carbon Neutrality คาดใช้ ก.ย. 2566

หากเมื่อกฎหมายโลกร้อนถูกประกาศใช้ในประเทศไทย จะทำให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคสังคม ต้องรวมพลังขับเคลื่อนแก้ปัญหา Climate Change อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำได้ และสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะต้องแข่งขันกันทำขั้นตอนการผลิตของตัวเองให้เป็นมิตรกับชั้นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อันนำไปสู่การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมควบคู่กับเศรษฐกิจของไทยได้ในอนาคต

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ศุภวิชญ์ พ่วงสุวรรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สรุปสารุสำคัญร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ดังนี้ มาตรา4 กำหนดวัตถุประสงค์ มาตรา 5 คำนิยามต่าง มาตรา 7-11 บททั่วไปเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ประชาชนและรัฐ มาตรา 12-20 การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ สิทธิและหน้าที่่ของกรรมการฯ

มาตรา 21-24 เป็นประเด็นเรื่องการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ โดยมีคณะกรรมการนโยบายฯมาตรา 25-30 เป็นเรื่องของการจัดให้มีฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และยังกำหนดให้คณะกรรมการฯได้จัดทำแผนปฎิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เพือ่กำหนดแนวทางการดำเนนงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดในมาตรา 31-34 และยังให้อำนาจคณะกรรมการชุดเดิมจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในมาตรา 40-50 ส่วนมาตราที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดไว้ในมาตรา 46-47 และที่เหลือเป็นเรื่องของบทกำหนดโทษและบทเฉพาะกาล

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ