นักวิทยาศาสตร์จีน สุดเจ๋ง จำลองวิธีสร้างฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ ด้วยผสานเทคนิคก่อสร้างจีนโบราณ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรจากแหล่งกำเนิดบนดวงจันทร์ให้เป็นวัสดุก่อสร้าง
โดยการฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ ได้มีการใช้พลทหารหุ่นยนต์จำนวนมากในการสร้าง ซึ่งหุ่นยนต์บางตัวกำลังใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรจากแหล่งกำเนิดบนดวงจันทร์ให้เป็นวัสดุก่อสร้าง ขณะที่บางตัวกำลังง่วนอยู่กับการก่ออิฐและการประกอบโครงสร้าง เป็นไอเดียที่เกิดขึ้นในการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์จีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
NASA เปิดตัวนักบินอวกาศ 4 คน ที่จะร่วมภารกิจ Artemis 2 โคจรรอบดวงจันทร์
ทั้งนี้ศาสตราจารย์ติงเลี่ยอวิ๋น ศาสตราจารย์แห่งหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง (Huazhong University of Science and Technology) ได้นำทีมเพื่อทำวิจัยเรื่องการสร้างฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์มาตั้งแต่ปี 2015ทีมวิจัยของเขาได้เสนอแนวคิดในการผสมผสานการพิมพ์ 3 มิติเข้ากับเทคนิคการก่ออิฐ เซาะร่อง และทำเดือยแบบดั้งเดิมของจีน โดยใช้ดินจากดวงจันทร์ในการผลิตอิฐที่มีร่องและเดือย จากนั้นใช้หุ่นยนต์ประกอบโครงสร้างคล้ายกับการเล่นตัวต่อโลโก้
ทั้งนี้ติงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี (China Science Daily) ว่าวิธีนี้จะทำให้เราสร้างโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ได้ ทั้งยังประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างนอกโลกเช่นนี้ต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ เนื่องจากดวงจันทร์มีสภาวะสุญญากาศระดับสูงยิ่งยวด และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากถึง 300-400 องศาเซลเซียส วิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมจึงแทบไม่สามารถนำมาใช้ได้
ทั้งยังไม่สามารถรับประกันความเสถียรของโครงสร้างได้เช่นกันนอกจากนี้การที่ดวงจันทร์เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง มีรังสีคอสมิกสูง มีลมสุริยะ รวมถึงได้รับผลกระทบต่างๆ จากอุกกาบาตขนาดเล็ก บวกกับบนผิวดวงจันทร์นั้นมีสภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อน การก่อสร้างในแหล่งกำเนิดบนพื้นผิวดวงจันทร์จึงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนอย่างมากและต้องผสานความรู้หลากหลายสาขาวิขา
ศาสตราจารย์ติงระบุว่าวัสดุต่างๆ เช่น เหล็ก คอนกรีต และน้ำ ที่จำเป็นต้องใช้ในงานก่อสร้างนอกโลกนั้นไม่สามารถนำมาจากโลกได้ทั้งหมด ดังนั้นการก่อสร้างในแหล่งกำเนิดจึงควรใช้วัสดุที่ทำมาจากดินบนดวงจันทร์ให้ได้มากที่สุด โดยทีมงานของเขาได้พัฒนาตัวอย่างวัสดุเผาผนึกสุญญากาศ (Vacuum sintering) ที่พิมพ์ขึ้นจากดินซึ่งทำจำลองดินบนดวงจันทร์
อย่างไรก็ดีติงกล่าวว่าการวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองในสภาพแวดล้อมจำลอง และเนื่องจากดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงเพียงแค่ 1 ใน 6 ของโลก การจำลองการทดลองจึงทำได้ยากลำยาก พร้อมเสริมว่าตอนนี้ยังต้องการข้อมูลและผลลัพธ์จากการทดลองในสภาพแวดล้อมจำลองสุดขั้วเพิ่มเติม
นอกจากนี้ อวี๋เติงอวิ๋น หัวหน้าผู้ออกแบบโครงการสำรวจดวงจันทร์ระยะที่ 4 ของจีน กล่าวว่าหนึ่งในเป้าหมายของโครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนคือการสร้างสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขึ้นที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ เพื่อทำการวิจัยเชิงลึกและดำเนินการทดลองทางเทคนิคเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรในแหล่งกำเนิดบนดวงจันทร์
“การสำรวจดวงจันทร์ในระยะยาวนั้น จำเป็นต้องสร้างสิ่งก่อสร้างบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จได้ในเวลาอันใกล้นี้” อวี๋กล่าว และเสริมว่าศึกษาเรื่องการสร้างสิ่งก่อสร้างนอกโลกยังอยู่ในช่วงเริ่มแรกเท่านั้น ซึ่งยังต้องมีการแลกเปลี่ยน อภิปราย และสร้างความร่วมมือสหวิทยาการมากกว่านี้