svasdssvasds

วราวุธ แนะภาคธุรกิจ ยิ่งปล่อยคาร์บอนต่ำ ยิ่งลงทุนน้อย แต่ได้กลับมามาก

วราวุธ แนะภาคธุรกิจ ยิ่งปล่อยคาร์บอนต่ำ ยิ่งลงทุนน้อย แต่ได้กลับมามาก

ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวตามเทรนด์ของโลกแล้ว ปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 9 ของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ESG อาจช่วยภาคธุรกิจได้

การจะนำประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้นั้น ก็ต้องมีการกระตุ้นกันหน่อยโดยเฉพาะภาคธุรกิจและการลงทุน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. นายวราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ได้เดินทางไปกล่าว ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Business adaptation to climate change and new environment for the next era” ในงาน Investment Forum 2023 จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด โดยมี นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการ รมว.ทส. เข้าร่วม ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

นายวราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)

การปรับตัวของภาคธุรกิจมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นงานนี้จึงเน้นย้ำ ความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วนจะช่วยให้เกิดแรงขับเคลื่อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควบคู่กับการสร้างการเติบโตด้านเศรษฐกิจ และนำพาประเทศไทยก้าวสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายวราวุธ ได้กล่าวถึง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงเป็นลำดับที่ 9 ของโลก เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องปรับปรุง "ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย" หรือ LT-LEDS

นายวราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) นอกจากนี้ยังได้จัดทำเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (The 2nd updated NDC) ซึ่งภาคธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ ลงทุนน้อยได้มาก จัดทำกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมภาครัฐและเอกชน มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงมาใช้ เช่น Green hydrogen, Direct Air Capture (DAC) เป็นต้น

รวมถึงร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ด้าน คือ

  1. ด้านนโยบาย ในการขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model สร้าง new S-Curve ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาองค์กรตามแนวคิด ESG (Environment, Social, และ Governance)
  2. ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมภาคเกษตรในการลดก๊าซเรือนกระจก โครงการ Thai Rice NAMA ทำนาวิถีใหม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. ด้านการลงทุน ร่วมกับ BOI จัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  4. ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ เปิดตัวเเพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดเเละคาร์บอนเครดิต
  5. ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมปลูกป่าในพื้นที่รัฐ
  6. ด้านกฎหมาย ที่จะเร่งผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... (ยังไม่ทราบว่าไทยจะได้พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อไหร่) ต้องติดตามกันต่อไป
related