เพิ่งรู้ว่าล้อรถก็รักษ์โลกได้ กระแสความยั่งยืนผลักดันให้เรามีสิ่งน่าสนใจเสมอ เหมือนผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Goodyear's ที่ปีนี้ได้เปิดตัวยางรถทำจากถั่วเหลือง?
แม้กระทั่งล้อรถก็ต้องรักษ์โลกแล้วเหรอนี่? แต่มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นแล้วแหละ เนื่องจากความเป็นจริง บนโลกนี้มียานพาหนะที่ใช้ล้อยางเยอะมาก แต่รู้หรือไม่ว่า ยางรถไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ
แม้ชื่อจะบอกโจ่งแจ้งเลยว่า ล้อยาง ก็ต้องทำจากยางพาราสิ แต่เปล่าเลย ล้อ 1 เส้น ประกอบไปด้วยยางพาราไม่ถึง 30% ด้วยซ้ำ ยางล้อมักประกอบไปด้วย เหล็กไนลอน และยางสังเคราะห์ก็ผลิตมาจากสารเคมีซะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น วิธีการกำจัดก็จึงมีแค่การตัด การสับ หรือการเผาเพื่อไปทำเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งบางที่มีการเผายางกันกลางแจ้งด้วยซ้ำ มันส่งผลเสียต่อมลพิษในอากาศด้วยแหละ
ในยุคปัจจุบันที่คนพูดถึงการรักษ์โลกและความยั่งยืนกันมากขึ้น จะเป็นไปได้ไหมที่ยางรถจะรักษ์โลกได้ด้วย ในขณะที่รถยนต์ถูกเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ใช้น้ำมันสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่บ่งบอกถึงการใส่ใจต่อมลพิษทางอากาศ แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปเลยคือล้อที่ยังคงประกอบอยู่กับรถทุกรูปแบบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
McDonald's ทดลองใช้ฝาไร้หลอดกับเมนูเครื่องดื่ม เพื่อลดขยะพลาสติก
Tim Hortons เดินหน้าปรับรับโลกร้อน เปลี่ยนช้อนส้อมแก้วกาแฟให้ย่อยสลายได้
เดลล์ ส่ง Concept Luna นวัตกรรมขับเคลื่อนข้อมูล ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์
Notpla พลาสติกกินได้ทำจากสาหร่ายได้รับรางวัล Earthshot จากเจ้าชายวิลเลียม
นาซา ให้ ICON 2 พันล้านบาท หลังสามารถพัฒนาระบบก่อสร้างบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตล้อยางยักษ์ใหญ่ อย่าง Goodyear จึงมีเป้าหมายทดสอบหาแนวทางสร้างล้อยางที่ทำจากวัสดุยั่งยืน 100% ให้ได้ภายในปี 2030 และดูเหมือนว่าเป้าหมายนี้กำลังไปได้ดีด้วยแหละ เพราะในงาน Consumer Electronics Show (CES) ปีนี้ บริษัท Goodyear’s ได้เปิดตัวยางต้นแบบที่ทำจากวัสดุยั่งยืน 90% ต่อยอดจากนวัตกรรมที่เสนอในปีที่แล้วภายในงานเดียวกัน ซึ่งทำจากวัสดุยั่งยืน 70%
และวัสดุยั่งยืนที่ว่านั้นไม่ได้มาจากไหนไกล แต่มันทำมาจากน้ำมันถั่วเหลือ โอ้โห ถั่วเหลือมีคุณสมบัติถึงขนาดทำยางได้แล้วเหรอนี่ เจ๋งสุด ๆ Goodyear อธิบายว่า ยางล้อผลิตมาจากน้ำมันถั่วเหลือง (แทนน้ำมันปิโตรเลียม) และใช้ซิลิก้าแกลบ (ผลพลอยได้จากการสีข้าวที่มีอยู่มากในประเทศผู้ผลิตข้าว) โพลีเอสเตอร์จากของที่ใช้แล้วและเรซินทาร์สนที่ทดแทนได้ทางชีวภาพ
โพลิเอสเตอร์เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และการหาวิธีเพื่อรีไซเคิลให้มันใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าที่สุด ก็เป็นวิธีในการลดความต้องการของวัสดุใหม่ ๆ ลงเป็นอย่างดีสำหรับโลกของเราตอนนี้ โพลีเอสเตอร์ที่นำมาใช้นี้ส่วนใหญ่เป็นขยะจากสิ่งทอ 100 ล้านตันที่จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบในแต่ละปี ซึ่งหากไปยังหลุมฝังกลบสำเร็จมันก็สามารถชะล้างสารพิษลงสู่ดินและน้ำโดยรอบได้ เราจึงนำมาให้ก่อนที่จะเป็นอย่างนั้น
แน่นอนว่ากว่าจะได้มาซึ่งต้นแบบนี้ ต้องผ่านการทดสอบมาก่อนเสมอ Goodyear ได้ทำการทดสอบกับกรมขนส่งแล้ว และได้รับการรองรับแล้วด้วย นั่นหมายความว่ายางนี้ถูกอนุมัติให้ใช้บนถนนได้ สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือการจัดหาวัสดุให้เพียงพอเพื่อผลิตยางล้อนี้ในระดับเชิงพาณิชย์ เพื่อให้มันสามารถวิ่งแล่นบนถนนได้อย่างอิสระ
แม้ว่า Goodyear ก่อนหน้านี้ก็เผชิญหน้ากับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดเช่นเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แต่ Goodyear ก็ไม่ได้ละสายตาไปกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนชิ้นนี้เลย
ในด้านของคุณสมบัติของยางล้อตัวใหม่นี้ Goodyear กล่าวว่า มันมีแรงต้านการหมุนที่ต่ำกว่า ซึ่งหมายถึงระยะการใช้น้ำมันจะดีขึ้นและระยะการใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้าก็จะยาวขึ้น อีกทั้งยังลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งมันก็ดูเป็นยางล้อแห่งอนาคตจริง ๆ เลยแหละ
มุมผู้เขียน
แม้ว่าจะสามารถวิ่งบนถนนได้เช่นเดียวกับยางอื่น ๆ แต่อย่าลืมว่า ล้อยางบนโลกนี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และผู้คนก็ต้องเลือกยางที่ดี ปลอดภัยกับการขับขี่ แม้จะได้รับรองรับจากกรมขนส่งแล้ว ก็คงต้องพิสูจน์กันต่อไปแหละว่ายางจะทนทานและใช้งานบนถนนได้ดี ตอบโจทย์ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือไม่ คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร?
ที่มาข้อมูล