โลกล้านปียังมีอะไรให้ได้ค้นพบอีกเยอะ เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทย์ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าค้นพบอำพันฟอสซิลดอกไม้เก่าแก่ที่สุด อายุ 40 ล้านปี
โลกล้านปี เป็นสิ่งที่ไม่มีมนุษย์คนใดเคยเห็นมาก่อน และสิ่งที่จะพาเราย้อนกลับไปดูเรื่องราวในอดีตเหล่านั้นได้นั้นคือซากดึกดำบรรพ์ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันี้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น
นี่เป็นของโบราณซากดึกดำบรรพ์อีกชิ้นหนึ่งที่บ่งบอกถึงการมีอยู่และความเป็นไปของโลกในอดีต เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Report ได้ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบฟอสซิลดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกไว้ ซึ่งก็คือดอกไม้ที่มีอายุเกือบ 40 ล้านปี ถูกฝังอยู่ในก้อนอำพัน ซึ่งดอกไม้ชนิดนี้เป็นที่รู้จักมานานแล้วกว่า 150 ปี แต่เพิ่งได้รับการระบุอย่างแน่ชัดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งนำเราไปสู่การสืบหาเกี่ยวกับสภาพอากาศและระบบนิเวศในอดีต
ดอกไม้ที่ถูกผนึกในอำพันนี้มีขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งใหญ่กว่าดอกไม้อำพันที่ใหญ่ที่สุดรองลงมา 3 เท่าที่เคยถูกค้นพบ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ ดอกไม้ที่เพิ่งถูกค้นพบนี้มีขนาดใหญ่กว่า 3 เท่าของดอกไม้เก่าที่เคยมีบันทึกไว้ ซึ่งมันถูกขุดพบเมื่อปี พ.ศ. 2415 ในป่าบอลติกทางตอนเหนือของยุโรป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออกค้นหา น้ำแข็งโบราณล้านปี ในแอนตาร์กติกา เพื่อวิเคราะห์ Climate Change
นักวิทย์ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ว่ายน้ำ-ล่าเหมือนเป็ด ในมองโกเลีย
นักวิทย์ไทยประกาศภาคภูมิ ค้นพบสัตว์ 4 ชนิดใหม่ของโลกที่โคราช
จีนค้นพบคริสตัลบนดวงจันทร์ คาดสามารถสร้างพลังงานไร้ขีดจำกัดได้
นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบวิธีเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำในดีเอ็นเอ
รายงานระบุว่า ดอกไม้นี้เกิดขึ้นในยุค Eocene ตอนปลาย หรือก็คือเมื่อประมาณ 38-33.9 ล้านปีก่อน จากการพบเจอครั้งแรก นักธรรมชาติวิทยาจัดให้มันเป็น Stewartia kowalewskii ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในขณะนี้ เป็นพืชโบราณที่ออกดอกตลอดปี และเป็นเวลากว่าศตวรรษครึ่งมาแล้ว ที่ดอกไม้นั้นถูกเก็บในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงเบอร์ลิน และกินเวลาหลายปีมากที่นักวิจัยพยายามตั้งคำถามถึงตัวตนที่แท้จริงของมัน
เพื่อลดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสกุลและชนิดของดอกไม้ นักวิจัยได้สกัดละอองเรณูและตรวจสอบพวกมันพร้อมกับกายวิภาคของดอกไม้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พวกเขาตัดสินว่าดอกไม้ไม่ใช่ S. kowalewskii หรือแม้แต่จากสกุล Stewartia แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของ Symplocos "ประเภทของไม้พุ่มดอกและต้นไม้ขนาดเล็กที่ไม่พบในยุโรปในปัจจุบัน แต่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกสมัยใหม่" ตามรายงานของ The New York Times
แม้ว่าดอกไม้เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่พืชในอำพันเหล่านี้ก็ได้ให้ข้อมูลอันพรั่งพลูให้แก่นักพฤกศาสตร์บรรพกาล การจัดประเภทใหม่ของดอกไม้นี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยาของป่าอำพันบอลติกได้ดีขึ้น และสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อกาลเวลาพ้นผ่าน
Regan Dunn นักบรรพชีวินวิทยาและผู้ช่วยภัณฑารักษ์แห่ง La Brea Tar Pits and Museum กล่าวว่า "ธัญพืชขนาดเล็กเหล่านี้เป็นเครื่องบันทึกธรรมชาติของสภาพอากาศและระบบนิเวศในอดีต ซึ่งสามารถช่วยให้เราวัดได้ว่าโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใดในอดีตเนื่องจากสาเหตุทางธรรมชาติ (ที่ไม่ใช่ของมนุษย์) สิ่งนี้ช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเผ่าพันธุ์ของเราส่งผลกระทบต่อโลกมากน้อยเพียงใด"
ที่มาข้อมูล