svasdssvasds

Next Step Thailand รัฐ-เอกชน ชี้ ทิศนำทางประเทศไทยต้องเป็นอย่างไร?

Next Step Thailand รัฐ-เอกชน ชี้ ทิศนำทางประเทศไทยต้องเป็นอย่างไร?

งานสัมมนาส่งท้ายปี Next Step Thailand โดยสื่อเครือเนชั่น นำโดยสปริงนิวส์ ชวนดูทิศทางประเทศไทยว่ารัฐและเอกชนจะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับคนไทยให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไร?

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ ได้เปิดเวทีสัมนาส่งท้ายปี Next Step Thailand 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ณ ห้องแกรนด์ บอลลูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เวลา 12.00-16.30 น. โดยจะได้ฟังบรรพิเศษ "นวัตกรรมเพื่อธุรกิจยั่งยืน" ซึ่งมีการเชิญบรรดาหัวหน้าพรรคเข้าร่วมแสดงวิศัยทัศน์ ในช่วง INNOVATION OF SUSTAINABILITY เพื่อประเทศไทยยั่งยืน

ในช่วงของ Special Talk นวัตกรรมเพื่อธุรกิจยั่งยืน โดยคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงความท้าทายทางธุรกิจของประเทศไทย มีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน คือ 4 D : Digitalization, Decarbonization, Decentralization, Derisk

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)

นวัตกรรมที่จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้มี 2 รูปแบบคือ

นวัตกรรมลดโลกร้อนและนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต

นวัตกรรมลดโลกร้อน ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ ประเทศไทยติดอันดับ 9 ของโลกที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในโลกจากภาวะโลกร้อน ดังนั้นนวัตกรรมที่จะสามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้คือ พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด CCS (Carbon Capture Storage) CCU (Carbon Capture Utalization) ที่ทั่วโลกต้องช่วยกันเร่งพัฒนาเพราะโลกร้อนรอไม่ได้

นวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศไทยมีขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขัน อันดับ 33 จาก 63 ประเทศ ขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลอันดับ 40 จาก 63 ประเทศ 8ความเหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจ ลำดับ 3 จาก 85 ประเทศ และความมั่นคงด้านสุขภาพ อันดับ 5 จาก 195 ประเทศ

ซึ่งจะสามารแก้ได้ด้วย 3 นวัตกรรม คือ ด้านการเกษตรกรรม (Agriculture) ธุรกิจยานยนต์ในอนาคตและไฮโดรเจน (Next Generation Automation) การรักษาสุขภาพ (Medtech & Healthcare)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Session 1 : INNOVATION DRIVING THE FUTURE

พีรกานต์ มานะกิจ ประธานอำนวยการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (ION ENERGY)

พีรกานต์ มานะกิจ ประธานอำนวยการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (ION ENERGY) ผู้นำด้านการติดตั้งโซลาร์เซลล์ กล่าวว่า แน่นอนว่าโซลลาร์เซลล์ เป็นนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า จะผลิตไฟฟ้าให้โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินใคร มีการคืนทุนได้ ทำให้ประหยัดมากขึ้นอย่างที่ทราบกันดี อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้พลังงานสกปรก เพราะหากถามว่า ภาคส่วนการผลิตไฟฟ้าปล่อยคาร์บอนมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับ 38% จากทุกภาคส่วน ซึ่งมากกว่าการปล่อยมลพิษฝุ่นควันจากการจราจรอีก

ในความเป็นจริง นวัตกรรมโซลาร์เซลล์มีมานานแล้วหลายปี โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาโซลลาร์เซลล์ลดไปแล้วกว่า 90% โซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่ถูกที่สุดในโลก หมายความว่าตอนนี้ถ้าอยากลงทุนพลังงานไฟฟ้าใหม่ไม่ต้องรอแล้ว เพราะเทคโนโลยีมาไกลมากแล้ว วันนี้ติดได้เลย ประหยัดก่อน ถือว่าคุ้มมากแล้ว เพราะมันจะถูกลงมาหลายเท่าจริง ๆ

ดังนั้น ION Energy มองว่า โซลาร์เซลล์ควรได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในประเทศไทย ก็ตามที่ได้กล่าวไป คือ ถ้ามีการสนับสนุนให้ชัดเจน เรื่องแรงจูงใจต่าง ๆ มีการสนับสนุนด้านการเงินทั้งจากภาครัฐ อาจเป็นแรงจูงใจ มา หรือจะเป็นภาคธนาคาร ก็มี Green loan มาและในส่วนของนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขายไฟให้กับภาครัฐ หรือจริง ๆ หลายประเทศ ต่างประเทศเขามี เป็นการซื้อขายไฟกันเองระหว่างภาคเอกชน ก็เป็นกลไกตลาดที่ทำให้เรารองรับโซลาร์ได้เร็วขึ้น

นพ.พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์

นพ.พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ตัวแทนจากภาคสุขภาพกล่าวว่า Healthcare Trend 2023 เรื่องนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับสุขภาพแน่นอน และสำคัญมากด้วย เพราะสามารถทำให้เราเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ ความแม่นยำ ความปลอดภัย มีการคัดกรองที่เป็นระบบ ซึ่งช่วยได้เยอะ

และประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยในปีนี้อย่างเป็นทางการ แต่จะทำอย่างไรให้สังคมสูงวัยมีความปลอดภัย โรคทั่วไปที่เจอยากกลับเจอง่ายขึ้นในคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะมะเร็ง เราต้องการลดปัจจัยเสี่ยง Healthcare ไม่ได้อยากรักษาโรค แต่อยากให้รักษาสุขภาพ เพราะแรงงานคนนั้นสำคัญมาก เราต้องป้องกันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น รู้และรีบรักษาเพื่อลดความเสี่ยง  ซึ่งจะทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น และอยากให้ทุกโรงพยาบาลทำแบบนี้กับคนไข้

Session 2 : INNOVATION OF SUSTAINABILITY

ฮิโรยูกิ ยาซูดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซจิรูชิ เอสอี เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ฮิโรยูกิ ยาซูดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซจิรูชิ เอสอี เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เทรนด์ของโลกเราตอนนี้ คือ ต้อง Save The World และสิ่งที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ออกมา ต้องกลับมาใช้ใหม่ได้ ต้องลดโลกร้อน และ ลดพลาสติก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ sustainability (ความยั่งยืน) ต้องประหยัดเงินในกระเป๋า ช่วยโลกของเราด้วย

สมถวิล ปธานวนิช ที่ปรึกษาคณะจัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค

สมถวิล ปธานวนิช ที่ปรึกษาคณะจัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตั้งใจรักษาโรคยากซับซ้อน และอยากทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืน แบบ Business and Sustainability Integration โดยมีเป้าหมายอยากให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของโลก ทำให้ไทยสามารถแข่งขันได้

“อยากใส่เรื่องความยั่งยืน โดยจะต้องสร้างคนของเราเอง มีระบบการฝึกอบรม การเรียนการสอน งานวิจัย ซึ่งเป็นของคนไทย โดยไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องมีวันเริ่มต้น”

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ประเทศไทยผลิตขยะ E-waste มากถึง 4 แสนตันต่อปี แต่เราสามารถจัดการเรื่องของ Zero Landfill (การฝังกลบเป็นศูนย์) ได้เพียง 7% เท่านั้น z

นอกจากนี้ ขยะ E-waste ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นก็มาจากกลุ่มผู้บริโภคทั้งสิ้น เหตุผลที่จัดการได้น้อย เป็นเพราะการตระหนักรู้ของคนไทยในเรื่องนี้ยังมีน้อย ทางเอไอเอสเองก็ได้พยายามสร้างการรับรู้เรื่องนี้อย่างหนัก แต่สุดท้ายเราก็คิดได้ว่า การลงมือทำเพียงคนเดียวนั้นไม่เพียงพอเท่ากับการได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

ดังนั้น สิ่งที่เอไอเอสจะผลักดันต่อไปในปี 2023 คือการมองหาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในการเอา E-waste ไปใช้งานแบบฟรีๆ เพราะเรามองว่าเรื่องของ Sustainsibility ไม่สามารถทำเพียงคนเดียวได้

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า สิ่งที่ดีแทคลงมือทำคือการสร้าง Resilion Digital Society (ความยืดหยุ่นด้านสังคมดิจิทัล) เพราะประชาชนคาดหวังว่าบริษัทด้านเทคโนโลยี จะช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องของ Data Privacy เป็นอันดับแรกและเรื่องที่สองคือคาดหวังให้บริษัทเทคมีส่วนช่วยในเรื่องของสภาวะอากาศ

สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใส่ใจเรื่องของดิจิทัลในแง่ของโซเชียลมีเดียมากกว่าการนำไปปรับใช้งานเพื่อสร้างโอกาสทางการหารายได้ใหม่ๆ

สิ่งที่ดีแทคอยากเห็นคือการเข้าใจปัญหาระดับชาติ เพราะบริษัทเทคโนโลยีอย่างเอไอเอสและดีแทค มีข้อมูลแบบ Private Sector จำนวนมาก เราคือบิ๊กดาต้าระดับใหญ่ของประเทศ ซึ่งเราจะไม่แตะในเรื่องของข้อมูลส่วนตัว แต่เรามองไปในเรื่องของการสร้างโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจ การผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมทั้งเรื่องของการแก้ไขปัญหาภายในประเทศ

Session 3 : NEXT TREND DIGITAL ECONOMY เปิดยุทธศาสตร์ SUSTAINABILITY INNOVATION

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวอ้างอิงถึงปรากฎการณ์ Chat GPT ซึ่งมีคนใช้ 1,000,000 คนภายใน 5 วัน   โดยไม่ต้องนำเข้าข้อมูลตั้งแต่แรก

ซึ่งตนได้ลองตั้งคำถามว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าประเทศไทยจะเลือกใคร ก็ได้คำตอบว่า ไม่เหมาะสมที่จะตอบคำถามนี้ แต่ ต้องศึกษานโยบาย ที่จะมาทำงานให้กับประชาชน แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก  จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย และมีนโยบายที่จะสร้างพื้นที่ของเราเอง ซึ่งอันดับแรกต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนระบบราชการ และการเมือง

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขณะที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจ ดิจิทัลไทยในปัจจุบัน ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลไทยเติบโตช้าที่สุด มีการลงทุนน้อยที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบนิเวศน์ดิจิทัลไทยมีปัญหา ในขณะที่งบประมาณนั่นมีเพียง 0.03% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งมองว่าไม่ตอบโจทย์

ทั้งนี้ ในอนาคตพรรคก้าวไกล เสนอหลักการ 3 มิติ คือ

  1. พื้นฐาน ต้องมองไกลกว่าประเทศไทย ทั้งเรื่องกฎหมายให้ทันสมัย รวมถึงคุณภาพของอินเตอร์เน็ตและคลังบุคคลากร
  2. ดึง : สร้างเศรษฐกิจใหม่ และอุตสาหกรรมใหม่ สร้าง Incentive ให้กับเทคโนโลยีไทย
  3. ดัน : เพิ่มงบประมาณ ที่กระฉับกระเฉงกว่าระบบราชการปกติ

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ว่า เป้าหมายของพรรคไทยสร้างไทย คือ sustainable country และ digital society เกิดขึ้นให้ได้ภายในปี 2570

โดยแนวทางที่จะพัฒนาในอยาคตต้องเริ่มจากการ   พัฒนาคน ปฏิวัติการศึกษา โดยต้องเน้นให้นักเรียนค้นพบตัวเอง ลงทุนสร้างนวัตกรรมในการศึกษาทุกโรงเรียน

สร้างพลังอำนาจให้กับประชาชน โดยการปลดล็อกกฎหมาย ปลดล็อกรัฐราชการ และการคอรัปชั่น ทำให้เป็นรัฐบาลเปิด เพิ่มขีดความสามารถโดยการทำ thailand token เพื่อให้คนเข้าสู่ระบบ รวมถึงการพร้อมรองรับวิกฤติโลก พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และรัฐต้องเข้าไปช่วย เพื่อสร้างประเทศที่ดีกว่า ให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งพรรคไทยสร้างไทย ตั้งเป้า ให้ sustainable country และ digital society เกิดขึ้นให้ได้ภายในปี 2570

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  กล่าวว่า digital economy มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับทุกประเทศทั่วโลก และเป็นตัวสำคัญในการวัด GDP ของประเทศ สิ่งที่จะต้องก้าวต่อไป ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือ ต้องเพิ่มสัดส่วน GDP ของ digital economy ซึ่งไทยยังตามหลังอีกหลายประเทศ  รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้น

โดยต้องปรับตัวทั้งด้านบุคคลากร / กฎหมาย / เทคโนโลยี และที่สำคัญ คือ ความพร้อมรองรับกติกาโลกในอนาคต เพราะขณะนี้ กติกาโลกและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ยังไม่มี แต่เชื่อว่า ไม่ช้าก็เร็วจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

น.พ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ด้าน น.พ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นทั้งโอกาสและวิกฤติ ซึ่งพรรคเพื่อไทยตั้งเป้าในการสร้างพื้นฐานดเานดิจิทัล ให้ทุกคนมีกระเป๋าตัวค์ดิจิทัล และมีไอดี ให้กับทุกคน เพื่อเช้าถึงข้อมูลข่าวสาร สร้าง DATA Center ขนาดใหญ่ รวมถึงสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ ด้วยการสร้างคนดิจิทัล จาก 4 แสนคน สู่ 2 ล้านคน ใน 4 ปี ทุก 1 คน ใน 1 ตำบล พร้อมเพิ่มช่างเทคนิค นักดิทัลที่เป็นนักบริหาร ให้เป็น 80:20

related