svasdssvasds

งานวิจัยใหม่เผย พืชกำลังหยุดวิวัฒนาการ เพราะถึงจุดสูงสุดแล้ว

งานวิจัยใหม่เผย พืชกำลังหยุดวิวัฒนาการ เพราะถึงจุดสูงสุดแล้ว

ต้นไม้กำลังสูญพันธุ์ งานวิจัยใหม่เผย ครั้งหนึ่งพืชบนโลกเคยสูญพันธุ์ไปเกือบหมด และปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากพืชกำลังหยุดวิวัฒนาการเพราะถึงจุดสูงสุดแล้ว

ถ้าเกิดวันหนึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกเดินทางมาถึงจุดสูงสุดของวิวัฒนการของตนเองแล้วล่ะก็ เมื่อนั้นอาจเป็นจุดสิ้นสุดของยุคก็เป็นไปได้ บทความจาก Cassidy Ward จากเว็บไซต์ STFY ได้กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งกับบทภาพยนต์เรื่องหนึ่งว่ามีความสอดคล้องกันอย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะมันกำลังเกิดขึ้นจริงตามการเล่าของภาพยนต์

ภาพยนต์แอนิมชันจากปี 2012 เรื่อง The Lorax คุณปู่โลแรกซ์ มหัศจรรย์ป่าสีรุ้ง เมื่อต้นไม้บนโลกหมดไป เมืองทั้งเมืองเต็มไปด้วยอุตสาหกรรม และผู้คนต้องซื้ออากาศเพื่อหายใจ ต้นไม้ดอกไม้ในเมืองทั้งหมดก็เป็นของปลอม จนเด็กรุ่นใหม่ไม่เคยเห็นดอกไม้หรือต้นไม้ของจริงมาก่อน และได้นำไปสู่การผจญภัยเพื่อหาดินแดนที่มีต้นไม้จริงอาศัยอยู่

กลับมาที่โลกแห่งความเป็นจริง ทุกวันนี้ ต้นไม้ทุกต้นบนโลกกำลังเดินหน้าไปสู่ความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ และต้องการผู้ช่วยเร่งด่วนในการฟื้นฟูเหมือนคุณปู่โลเร็กซ์จากในภาพยนต์ แต่กว่าจะจะมีใครสักคนออกมาพูด เกรงว่าต้นไม้จะไม่เหลือให้เราแล้วแหละมั้ง

เพราะจากการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในสมาคมธรณีวิทยาแห่งอเมริกา ชี้ว่า พืชเคยสูญพันธุ์มาก่อนหน้าแล้วในช่วงระหว่าง 419 ถึง 358 ล้านปีก่อน ในยุคที่ชื่อว่า 'ดีโวเนียน' สมัยที่สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิตทั้งหลายยังมาไม่ถึงบนบก บนบกมีแต่พืชมากมาย แต่เป็นพืชที่กำลังอยู่ท่ามกลางสงครามของการสูญพันธุ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งในตอนนั้นสปีชีส์ของพืชทั้งหมดประมาณ 2 ใน 3 ถูกกำจัดออกไปจากโลกแล้วเรียบร้อย พร้อมกับทำลายระบบนิเวศทางทะเลด้วย

ยุคดีโวเนียน (Devonian)  Cr. AUSTRALIAN ENVIRONMENTAL EDUCATION

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า สาเหตุที่สัตว์ทะเลเริ่มสูญพันธุ์จำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากการวิวัฒนาการและการขยายตัวของพืชบนบกยุคแรก ๆ  เพราะขณะที่พืชแพร่กระจายสปีชีส์อยู่บนบก พวกมันก็ได้วิวัฒนาการรากในการชอนไชดินและการปลดปล่อยสารอาหารบางอย่างออกสู่ทะเล เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ทันทีที่รากงอกออกมา มหาสมุทรจะได้รับสารอาหารจากแผ่นดินที่เพิ่มขึ้นมา

ภาคพื้นดินของดีโวเนียน Cr. nicolasprimola แม้การเติบโตและการขยายตัวของต้นไม้จะดูดีในด้านของการให้สารอาหารแก่น้ำ แต่พืชที่เติบโตขึ้นมานั้นวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วจนเกิดความหนาแน่นและแออัดจนทำให้ระบบนิเวศเกือบล่มสลาย ดังนั้น การเติบโตของพืชจะถูกพิจารณาว่ามีทั้งข้อดีข้อเสียอย่างที่เราไม่เคยสังเกตมาก่อน หากเทียบกับการวิวัฒนาการในอดีต

ในปัจจุบันก็ยังพอมีเคสยกตัวอย่างได้บ้าง กับการวิวัฒนาการของพืชที่เป็นพิษต่อระบบนิเวศ เช่น สาหร่ายที่บานสะพรั่งอยู่เต็มน่านน้ำ ในอีกด้านหนึ่งของข้อดีที่ให้สารอาหารมากมายแก่มนุษย์แล้ว

ในด้านมืดนั้นมันได้ฆ่าปลายหลายพันตัวในระยะเวลาอันสั้น เพราะสาหร่ายสามารถปล่อยสารพิษออกมาในขณะที่มันกำลังสลายตัวและกำลังถูกกินโดยแบกทีเรีย อีกทั้งยังส่งผลต่อออกซิเจนในน้ำจนทำให้สัตว์น้ำมีออกซิเจนน้อยลง ซึ่งกระบวนการนี้นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (eutrophication) แต่นี่ยังไม่ใช่หลักฐานที่หนาแน่นพอในการคาดการณ์ได้ว่า พืชจะสูญพันธุ์ในระยะเวลาอันใกล้ได้อย่างไร

ด้านมืดของสาหร่าย

นักวิจัยจาก Purdue และ University of Southampton สันนิษฐานว่าหากเกิดการเพิ่มขึ้นของสารอาหารเช่นนี้ ควรมีสัญญาณบ่งชี้ในบันทึกทางธรณีวิทยาที่แสดงว่าสารอาหารพุ่งสูงเกินระดับพื้นฐาน พวกเขาดูบันทึกธรณีเคมีจากแหล่งตะกอนของทะเลสาบโบราณในกรีนแลนด์และสกอตแลนด์ตอนเหนือ และพบสัญญาณที่พวกเขากำลังมองหา

บันทึกทางธรณีวิทยาเผยให้เห็นระดับสารอาหารที่สูงขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ในช่วงเวลาเดียวกับที่พืชกำลังพัฒนาและขยายพันธุ์ในดีโวเนียน ระดับสารอาหารที่สูงขึ้นยังสอดคล้องกับหลักฐานฟอสซิลของต้นไม้ รวมทั้งสปีชีส์แรกที่มีระบบรากลึก ในสองกรณี การไหลเข้าของสารอาหารที่ระบุยังสอดคล้องกับเหตุการณ์การสูญพันธุ์ทางทะเล รวมถึงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ช่วงปลายยุคดีโวเนียน

ต้นไม้สะสมสารมากเกินไปก็เป็นพิษต่อระบบนิเวศได้ การค้นพบนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยไขปริศนาว่า ทำไมยุคดิโวเนียนจึงเกิดปรากฎการณ์สูญพันธุ์มากมาย นักวิจัยพบว่าธรรมชาติของการขยายพันธุ์พืชในช่วงเวลานั้นเป็นไปตามธรรมชาติ และวัฏจักรนั้นดูเหมือนจะเชื่อมโยงกับวัฏจักรของสภาพอากาศแบบเปียก-แห้ง ความพอดีและการเริ่มต้นของการขยายโรงงานหมายความว่าโลกจะต้องผ่านช่วงเวลาของการปล่อยสารอาหารที่สูงขึ้นและต่ำลง ก่อให้เกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งแล้วครั้งเล่าจนกว่าสิ่งต่างๆ จะลดระดับลง

ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตและวิวัฒนาการของพืชที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ที่เรากำลังศึกษาคือข้อเสียสุดโต่งของวิวัฒนาการของพืชที่ตอนนี้กำลังเพิ่มสารฟอสฟอรัสไปพร้อมๆกับวิวัฒนาการซึ่งสูงขึ้นทุก ๆ ปี และหากฟอสฟอรัสมีจำนวนมากเกินไปก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศได้นั่นเอง นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังหาคำตอบกันอยู่ว่าจริง ๆ แล้ว ต้นไม้กำลังวิวัฒนาการถึงขีดสุดแล้วจริงเหรอ

แต่มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ คือ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Plants, People, Planet  เผยว่า จากการประเมินระดับโลกในหัวข้อ State of the World’s Trees พบว่า 1 ใน 3 ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด ต้นไม้ประมาณ 17,500 ชนิดที่ไม่ซ้ำกันใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้ว ซึ่งจำนวนดังกล่าวมากกว่า 2 เท่าของจำนนสัตว์ที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด

ทีมนักวิจัยในงานศึกษาชิ้นนี้ ได้รายงานถึง รายงาน "คำเตือนแก่มนุษยชาติ" เกี่ยวกับผลที่ตามมาของการสูญเสียเหล่านี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์อีก 45 คนจาก 20 ประเทศที่แตกต่างกัน นักชีววิทยาด้านการอนุรักษ์ Malin Rivers จาก Botanic Gardens Conservation International และเพื่อนร่วมงานได้สรุปผลกระทบมากมายที่จะเกิดขึ้นจากความสูญเสียเหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต และอาหารของเรา

อ่านและศึกษาเรื่องราวการสูญพันธุ์ของต้นไม้ต่อได้ที่ >>> งานวิจัยพบ ต้นไม้ 1 ใน 3 ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และกำลังส่งสัญญาณเตือนมนุษย์

ที่มาข้อมูล

THE EVOLUTION OF TREE ROOTS NEARLY ENDED LIFE ON EARTH

Enhanced terrestrial nutrient release during the Devonian emergence and expansion of forests

LIFE IN THE DEVONIAN

related