การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนในบังกลาเทศสูงเกือบสองเท่าของมะเร็ง และคาดว่าในปี 2100 จะเพิ่มเป็น 10 เท่าของการตายจากจราจรบนถนน
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และห้องปฏิบัติการผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ เปิดเผยข้อมูลว่า หากการปล่อยก๊าซคาร์บอนยังคงสูงอยู่ แบบปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อาจกลายเป็นสาเหตุของการสียชีวิตที่มากกว่ามะเร็งเป็นสองเท่าตัวในบางส่วนของโลก
จากการศึกษากรณีตัวอย่างใน เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มตัวสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัวจากอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของประชากรทั้งหมดของประเทศ และคาดว่า ในปี 2100 แนวโน้มจะมีอัตราสูงเป็น 10 เท่าของอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรบนท้องถนน
🌍 A green transition to a net-zero future is key to unlocking the Paris Agreement’s global climate goals, according to a new @UNDP report, released ahead of #COP27 that looks at the state of just transition around the world. https://t.co/rLmNOf47Gs
— UN News (@UN_News_Centre) November 5, 2022
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธารน้ำแข็งมรดกโลกหลายแห่งอาจละลายหายไปในปี 2050 ส่งผลกระทบถึงไทยด้วย
ปากีสถานอ่วมหนัก! 'Lahore City' ขึ้นแท่น เมืองมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก
แองเจลีน่า โจลี เยี่ยมผู้ประสบภัย น้ำท่วมปากีสถาน ผลพวง Climate Change
แพลตฟอร์ม Human Climate Horizons กล่าวย้ำเตือนว่า ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของเราถึงระดับอันตราย ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น อันเป็นผลมากจากการกระทำของมนุษย์
จึงทำให้ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นต่อจากนี้จะเพิ่มทั้งความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศบนโลกต้องร่วมกันหาทางออก นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งถ่างความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันให้ชัดเจนขึ้น
โดยล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่า ธารน้ำแข็งในแหล่งมรดกโลกจะหายไป 1 ใน 3 ภายในปี 2050 และหายเพิ่มอีกถึงครึ่งหนึ่งภายในปี 2100 เนื่องจากภาวะโลกร้อน และนั่นหมายความว่ามีโอกาสที่น้ำทะเลปานกลางจะเพิ่มสูงขึ้น และมันจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลก รวมถึงไทย
ซึ่งจากข่าว อุทกภัยรุนแรงช่วงฤดูมรสุมประจำปีนี้ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างให้แก่ปากีสถาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 33 ล้านราย นั้นแม้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชากรในประเทศอื่น แต่รู้มั้ยว่า ความเสียหายจากน้ำท่วมต่อภาคการเกษตรของประเทศนั้นจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลก เนื่องจากปากีสถานเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกฝ้ายและข้าวรายใหญ่ของโลก
จากรายงานของ UNDP ที่ชื่อว่า How Just Transition Can Deliver the Paris Agreement ได้เน้นย้ำในการเปิดรับ "การปฏิวัติเขียว" ซึ่งก็คือเสี่ยงต่อการเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ความไม่สงบ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ที่กระจายตัวอย่างไม่เท่าเทียม
การประชุมด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ COP27 ที่จะจัดขึ้นที่เมือง Sharm el-Sheikh ประเทศอียิปต์ การศึกษาดังกล่าวจะเป็นการเน้นย้ำในเรื่องของ "ยุติธรรมและเท่าเทียม" โดยจัดหาทักษะใหม่ๆ ด้านเศรษฐกิจสีเขียว และการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันสำหรับภาคพลังงานและอื่น ๆ
ที่มา
Climate change much deadlier than cancer in some places, UNDP data shows