ขยะชนิดไหนมีเยอะสุดในไทยและกรุงเทพฯนะ กรีนพีซชวนเยาวชนมาร่วมเก็บขยะและคัดแยกขยะเชิงสถิติดูว่า เราเจขยะประเภทไหนมากสุด ใครต้องรับผิดชอบ?
เรื่องขยะ ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมเสมอ ไม่ว่าจะจัดการยังไงก็ไม่มีวันหมด ปัญหาที่แก้ไม่ตกมาหลายศตวรรษ ต่างฝ่ายต่างโทษกันไปมา นายทุนต้องรับผิดชอบ รัฐต้องรับผิดชอบ ผู้คนต้องมีจิตสำนึก แต่ในความเป็นจริง ทุกภาคส่วนดังกล่าวจะต้องร่วมมือกันจริง ๆ แต่ความยากมันคืออะไรล่ะ
คิดเหมือนกันหรือเปล่าว่า ช่วงวัยของผู้คนในเมืองส่วนใหญ่ หลายคนยังเคยชินกับการทิ้งที่ไม่ได้ถูกปลูกฝังหรือเข้าใจได้อย่างดีตั้งแต่แรกว่าควรทิ้งอย่างไร ทิ้งตรงไหน ซึ่งตรงนี้รัฐและเอกชนก็จะต้องมาช่วยเสริมทัพให้คนทิ้งได้สะดวกและถูกต้องมากขึ้น แต่มันยังไม่เกินขึ้นจริงน่ะสิ แต่ถ้าเราอยากแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาและการทำให้คุ้นชินตั้งแต่ต้นจึงดูเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า หรือพูดง่าย ๆ คือ การเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก
Green Dialogue โครงการที่จัดขึ้นโดยเยาวชนที่สนใจด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ Greenpeace องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงผลกำไร ชวนเยาวชนออกสำรวจริมน้ำบางกระเจ้าในสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดริมน้ำ ตรงข้ามเป็นท่าเรือสำหรับสินค้าและการขนส่ง รวมไปถึงเป็นชุมชนที่รับซื้อขยะ จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีขยะมากพอสมควร
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
"วราวุธ" ย้ำ 2568 ไทยเลิกนำเข้าขยะพลาสติก และ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 100%
ดีแทค ชวนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ให้ดี ลดการฝังกลบ สาเหตุโลกร้อน
แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของกรุงเทพมหานครและเป็นอีกแหล่งที่เราพบขยะพลาสติกจำนวนมหาศาล ในความเป็นจริงตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2565) กรีนพีซได้ลงพื้นที่เก็ยขยะในทุกมุมต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ และในทุก ๆ การเก็บขยะขึ้นมาก็จะมีการบันทึกว่า ขยะประเภทไหนถูกพบเยอะสุด และนี่คือผลลัพธ์ที่เราค้นพบ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสำรวจของอาสาสมัครและเยาวชนที่ไปร่วมเก็บกันมาและจากภาพรวมกิจกรรมทั้งหมด เยาวชนที่เข้าร่วมมองว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาพลาสติกอยู่เยอะมาก และการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกนั้นยังมีน้อย รวมไปถึงนโยบายหลายอย่างยังไม่สามารถเข้าถึงตัวบุคคลได้ดีพอ
กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนจากหลากหลายที่จัดขึ้นโดยเยาวชนเอง ได้มาเรียนรู้การคัดแยกขยะไปด้วยกันและแชร์ประสบการณ์และการคาดหวังถึงสิ่งแวดล้อมในอนาคตว่า ในวันข้างหน้าอยากให้มีการจัดการขยะอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบบ้าง และกิจกรรมประเภทนี้ยังคงมีอีกเรื่อย ๆ หากสนใจก็สามารถเข้าไปส่องกิจกรรมได้ที่หน้าเพจ Facebook ของ Greenpeace Thailand ได้เลย หรือหากสนใจกิจกรรม Green Dialogue ของเยาวชนก็สามารถเข้าไปร่วมกิจกรรมได้นะ ใกล้หมดกิจกรรมเร็วๆนี้แล้ว