พายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ยังพัดถล่มญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องในเช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่กู้ภัยญี่ปุ่นเตือนระวังดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน ขณะยอดผู้เสียชีวิตยังคงที่ 2 คน บาดเจ็บ 90 ราย
เจ้าหน้าที่กู้ภัยในญี่ปุ่นประกาศเตือนประชาชนระวังดินโคลนถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน หลังโดนพายุไต้ฝุ่น หนึ่งในพายุที่ใหญ่ที่สุดของปีนี้ในรอบหลายทศวรรษพัดถล่มอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เย็นวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ย.
ขณะนี้ไต้ฝุ่นนันมาดอล คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 2 รายและบาดเจ็บอีก 90 ราย นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินถล่มที่เกาะคิวชูทางตอนใต้สุด มีคำสั่งอพยพผู้คน กว่า 9 ล้านคนและบ้านเรือนมากกว่า 350,000 หลังไม่มีไฟฟ้าใช้
สถานีโทรทัศน์ NHK ของรัฐกล่าวว่า ชายคนหนึ่งเสียชีวิต ขณะรถของเขาจมอยู่ใต้น้ำ และอีก 1 คนเสียชีวิตหลังจากถูกฝังอยู่ในดินถล่ม พร้อมกันนี้ยังมีผู้สูญหายอีก 1 รายยังไม่ทราบชะตากรรม และมีรายงานผู้บาดเจ็บแล้ว 87 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวมภาพความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นนันมาดอล พัดขึ้นฝั่งคิวชูวันนี้
ญี่ปุ่นยกเลิกเที่ยวบินและรถไฟชั่วคราว รับมือพายุนันมาดอลขึ้นฝั่งคิวชู
ญี่ปุ่น เตือนพายุไต้ฝุ่น นันมาดอล จ่อเคลื่อนขึ้นฝั่งวันอาทิตย์ 18 ก.ย. นี้
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล จ่อขึ้นฝั่งญี่ปุ่น 17-18 ก.ย. นี้ เตรียมรับแรงกระแทก
พายุไต้ฝุ่นนันมาดอลถล่มญี่ปุ่น เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บหลายสิบราย
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นทำให้ความเร็วลมกระโชกได้ถึง 234 กม./ชม. ทำลายบ้านเรือนและทำให้การขนส่งและธุรกิจหยุดชะงักเทียบเท่ากับพายุเฮอริเคนระดับ 4 หรือ 5
การพยากรณ์คาดการณ์ฝนสุงสุด 400 มม. ในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้า
เมืองหลวงอย่างโตเกียวประสบฝนตกหนัก โดยรถไฟใต้ดินสายโทไซถูกระงับเนื่องจากน้ำท่วม บริเวณรถไฟหัวกระสุน เรือข้ามฟากและเที่ยวบินถูกยกเลิก ร้านค้าและธุรกิจต่าง ๆ ได้ปิดตัวลงก่อน มีคลิปวิดีโอจากโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นลมกระโชกแรง จนหลังคาบ้านเรือนและรถปลิว ป้ายโฆษณาล้มทับและปลิวว่อน
นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ Fumio Kishida เลื่อนการเดินทางเยือนนิวยอร์ก ซึ่งเขาจะต้องกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจนถึงวันอังคารนี้ เพื่อติดตามผลกระทบของพายุ
คาดการณ์ว่าพายุจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกและพัดผ่านเกาะฮอนชู ซึ่งเป็นเกาะหลักของญี่ปุ่น ก่อนจะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลภายในวันพุธนี้
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ฤดูพายุเฮอริเคนที่ยังคุกรุ่นอยู่ในปีนี้ โดยได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ลานีญา
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและแคริบเบียนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลกระทบต่อความถี่และความรุนแรงของพายุเฮอริเคนด้วยเช่นกัน
ที่มาข้อมูล