รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ทั่วโลกเกิดปรากฎการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมแบบไหนบ้าง Springnews รวบรวมมาให้แล้ว
ข่าวสิ่งแวดล้อม เป็นข่าวด่วนที่แก้ไขช้าที่สุด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ทวีคูณมากยิ่งขึ้นในหลาย ๆ รูปแบบทุกมุมทั่วโลก ไม่ว่าจะมาเป็นสัญญาณเตือนหรือภัยพิบัติ แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นแล้ว
มนุษย์เราจะตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ก็ต่อเมื่อมันจวนตัวและเกี่ยวข้องกับตนเองเท่านั้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนบนโลกก็ตาม เราในฐานะมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งนั้น เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้โลกใบมีสุขภาพย่ำแย่ลง จนไม่แข็งแรงพอที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากผลลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
มนุษย์เราเองหวังพึ่งพลังงานจากธรรมชาติทุกวัน แต่การส่งคืนทรัพยากรที่หยิบยืมมานั้น มันยังไม่เพียงพอ มีแต่เสียกับเสีย จากมุมมองผู้เขียนที่ติดตามข่าวสารเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตลอด ในฐานะของมนุษย์เองก็เป็นคนร้ายของปัญหาทั้งหมดเช่นเดียว แต่การกระทำเล็ก ๆ น้อยอาจช่วยได้ หรือเสียงหนึ่งเสียงก็สามารถเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
เพียงแค่คุณใช้ถุงผ้า ปฏิเสธการใช้พลาสติกบ่อย ๆ ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง หรือแม้กระทั่งการแชร์บทความนี้หรือข่าวสิ่งแวดล้อมออกไป รวมวไปถึงเห็นคุณค่าของธรรมชาติที่เหลืออยู่ คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลกได้แล้ว
Springnews จึงได้รวบรวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนกรกฎาคมมาให้ได้ทราบกันว่าในแต่ละเดือน ทั่วโลกเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อให้เราได้ตระหนักรู้ถึงภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามา
สาหร่ายทุ่นลอยเต็มชายฝั่งเม็กซิโก ไม่ใช่เรื่องดี
สาหร่ายทุ่น (sargassum algae) จำนวนมาก ปกคลุมชายหาดบริเวณชายฝั่งแคริบเบียนของประเทศเม็กซิโก ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รวมถึง มลพิษที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ และภาพสาหร่ายทุ่น ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนว่า นี่เป็น ผลลัพธ์จากปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่กำลังคุกคามแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของเม็กซิโก
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า มี สารอาหารในทะเลมากขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำเสียมากขึ้น อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยในพื้นที่ทางการเกษตรในเม็กซิโก และมีแนวโน้มว่าปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะเลวร้ายลงไปอีก จนกว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมในมหาสมุทร ซึ่งอนาคตดูเลือนลางมาก จนกว่ามนุษย์จะดำเนินการเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และจะต้องเผชิญผลตามมาจากวัตถุต่าง ๆ ในน้ำ
อ่านข่าวต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/826841
แบตเตอรี่พลังงานทรายเครื่องแรกของโลกเปิดใช้งานแล้ว
เริ่มเปิดใช้งานแล้ว สำหรับนวัตกรรมใหม่จากฟินแลนด์ ‘แบตเตอรี่พลังงานทราย’ ใช้พลังงานงานความร้อนจากทรายเพื่อก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องอาศัยช่วงเวลาตามฤดูกาลเหมือนพลังงานอื่น ๆ
โดยบริษัท Polar Night Energy พวกเขาได้ออกแบบเครื่องผลิตไฟฟ้าจากทราย โดยตั้งชื่อมันว่า Vatajankoski ซึ่งพวกเขาก็ได้เปิดใช้งานเครื่องแล้วตอนนี้ในบริเวณเขตโรงงานของพวกเขาเอง
Vatajankoski คือระบบกักเก็บพลังงานความร้อนที่สร้างขึ้นรอบ ๆ ถังเหล็กหุ้มฉนวนขนาดใหญ่ ภายในก็เต็มไปด้วยทรายธรรมนี่แหละ เมื่อทรายถูกทำให้ร้อน อุปกรณ์ตัวนี้ก็จะสามารถเก็บพลังงานได้ 8 เมกะวัตต์/ชั่วโมง โดยที่ทรายจะถูกทำให้ร้อนประมาณ 500-600 องศาเซลเซียส กำลังพอดี ทรายจำนวนไม่มาก แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์แบบหมุนเวียนได้เป็นเดือน
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/826843
ข่าวที่น่าสนใจ
พบวาฬเกยตื้นที่ออสเตรเลีย คาดเป็น มิกาลู วาฬหลังค่อมเผือกชื่อดัง
น้ำแข็งกรีนแลนด์ ละลายเร็ว 6 พันล้านตันต่อวัน ท่วม 3 จังหวัดใหญ่ไทยได้เลย
นกแก้วมาคอว์สปิกซ์กลับคืนสู่ป่าแล้ว หลังหายไปนาน 20 ปี
เป็นเวลากว่า 20 ปีที่นกแก้วสปิกซ์มาคอว์ (Spix’s Macaw) ตัวสุดท้ายถูกพบเห็นในป่า และองค์กรบางแห่งก็ประกาศว่าพวกมันสูญพันธุ์และหายออกไปจากถิ่นป่าเดิมอย่างบราซิลตลอดกาล
มาวันนี้ พวกมันได้กลับมายังบ้านของพวกมันอีกครั้ง จากการอนุรักษ์ในโครงการช่วยเหลือระดับนานาชาติที่น่าทึ่ง ภารกิจนี้ได้ทำการเพาะพันธุ์พวกมันขึ้นมาอีกครั้งจากความพยายามตั้งแต่ปี 2016 ที่อ้างอิงการเพาะพันธุ์จากนกมาคอว์ตัวสุดท้าย จนนำไปสู่ความสำเร็จที่ขยายพันธุ์ของพวกมันได้
ก่อนหน้านี้มันถูกเพาะเลี้ยงที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และได้ปล่อยบางตัวที่แข็งแรงสู่ป่าบราซิลเมื่อเดือนที่ผ่านมา และพวกมันยังมีชีวิตรอด
อ่านเรื่องราวของนกมาคอว์ตัวสุดท้ายได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/826977
จีนอุณหภูมิร้อนจัด เตือนภัยสีส้ม
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติจีน แจ้งเตือนภัยอุณหภูมิสูง ระดับสีส้ม ขณะคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมหลายภูมิภาคของประเทศ คาดการณ์ว่าบางพื้นที่ของอันฮุย เจียงซู เซี่ยงไฮ้ หูเป่ย หูหนาน เจียงซี เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน ซื่อชวน ฉงชิ่ง และกุ้ยโจว จะมีอุณหภูมิสูงถึง 37-39 องศาเซลเซียส ในช่วงกลางวันของวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ค.
ขณะบางพื้นที่ของภูมิภาคเหล่านี้อาจมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งระบบเตือนภัยสภาพอากาศของจีน แบ่งเป็น 4 ระดับ 4 สี โดยสีแดงหมายถึงความรุนแรงมากที่สุด ตามด้วยสีส้ม สีเหลือง และสีน้ำเงิน และคาดว่าอากาศจะร้อนยาวไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/827126
สหราชอาณาจักรประกาศเตือนอากาศร้อนระดับสีแดงครั้งแรก
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (Met Office weather forecasts for the UK) ประกาศแจ้งเตือนความร้อนรุนแรงระดับสีแดง ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนระดับสูงสุด ครอบคลุมหลายพื้นที่ของอังกฤษไปจนถึงวันจันทร์และวันอังคารหน้า (18-19 ก.ค.)
ประกาศดังกล่าวถือเป็นการแจ้งเตือนความร้อนระดับสีแดงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกยกระดับจากการแจ้งเตือนระดับสีเหลืองที่มีผลสิ้นสุดเมื่อวันอังคาร (12 ก.ค.)
ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรตรวจพบอุณหภูมิสูงสุดนับถึงปัจจุบันอยู่ที่ 38.7 องศาเซลเซียส ณ สวนพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University Botanic Garden) เมื่อ ก.ค. 2019 รัฐแนะประชาชนงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/827222
อัน แพนด้าเพศผู้อายุมากที่สุดในโลก ตายแล้วอัน
“อันอัน” แพนด้ายักษ์เพศผู้อายุมากที่สุดในโลกที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรงในสวนสัตว์ Ocean Park ในฮ่องกง ตายแล้วด้วยอายุ 35 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 105 ปี โดยการอำลาจากโลกนี้ไปครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจ ทำการุณยฆาต จากผู้ดูแล
เจ้าอันอัน นั้น ถือเป็นของขวัญของรัฐบาลจีน ที่มอบให้กับฮ่องกง เมื่อปี 1999 โดย ณ ช่วงเวลานั้น รัฐบาลจีนส่ง แพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่ชื่อว่า เจีย เจีย Jia Jia มาด้วยพร้อมๆกัน
สวนสนุกโอเชียนปาร์ก แถลงว่า สุขภาพของเจ้าแพนด้ายักษ์ อันอัน ทรุดลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และมันกินอาหารน้อยลง และได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์เมื่อเช้าวันนี้ (21 ก.ค.) ว่า หลังจากที่มันหยุดกินอาหารในระยะที่ผ่านมา จนกระทั่งผู้ดูแลต้องยอมให้ อันอัน จากไปด้วยการถูกการุณยฆาต และ มันได้เสียชีวิตลงแล้ว
อ่านประวัติอันอันต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/827422
เสือชีต้าห์ หวนคืนสู่ป่าอินเดียครั้งแรก หลังสูญพันธุ์ไปแล้ว 70 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ประเทศอินเดีย กำลังจะได้เสือชีตาห์ กลับสู่ป่าในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 70 ปี นับตั้งแต่ เสือชีตาห์ Cheetahs) ถูกประกาศว่าสูญไปจากอินเดียตั้งแต่ 1952 (พ.ศ. 2495) โดยชีตาห์ 8 ตัวจะถูกส่งจากประเทศนามิเบีย มาที่ อินเดีย ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
นับเป็นประเด็นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ สัตว์ป่า keep the world ที่น่าสนใจมาก เมื่อ อินเดีย ซึ่งไม่มีเสือชีตาห์ ในประเทศ มานานถึง 7 ทศวรรษ กำลังจะมีการ นำเสือชีตาห์กลับมาแพร่พันธุ์ในประเทศได้อีกครั้ง โดยได้รับความช่วยเหลือร่วมมือจากประเทศ นามิเบีย ในแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มี ประชากรเสือชีตาห์มากที่สุดในโลก ณ ขณะนี้
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/827446
คลื่นความร้อนในสเปนทำคนเสียชีวิตทะลุ 1000 ราย
กระทรวงสาธารณสุขสเปนรายงานพบผู้เสียชีวิต 1,047 รายจากคลื่นความร้อนระลอกที่ 2 ของปีนี้ เนื่องจากหลายพื้นที่ของประเทศเผชิญ อุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
ข้อมูลที่รวบรวมโดยระบบติดตามการเสียชีวิตรายวัน (MoMo) ชี้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศร้อนถูกบันทึกตั้งแต่วันที่ 10-19 ก.ค. และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ โดยจากยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดพบว่าเป็นผู้มีอายุ 85 ปี หรือมากกว่า จำนวน 672 ราย อายุระหว่าง 75-84 ปี จำนวน 241 ราย และอายุระหว่าง 65-74 ปี จำนวน 88 ราย
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/keep-the-world/827504
ผีเสื้อจักรพรรดิถูกเพิ่มในบัญชีรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ผีเสื้อจักรพรรดิ (Monarch butterfly) สปีชีส์ (Danaus plexippus) เป็นผีเสื้อที่มักอาศัยอยู่ทวีปอเมริกา ด้วยลักษณะของปีกสีส้มตัดขอบดำเลยทำให้หลายคนคิดว่าในไทยเราก็มีให้เห็นบ้าง แต่สายพันธุ์ที่เราพบเห็นในประเทศนั้นเป็นเพียงแค่ 1% ของประชากรผีเสื้อทั้งหมดบนโลก ซึ่งมักอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเราเรียกพวกมันว่า nivosus
แต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ก็ได้อัพเดทสถานะของสัตว์หลายตัว หนึ่งในนั้นคือ ผีเสื้อจักรพรรดิที่เดินหน้าเข้าสู่สถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ENDANGERED แล้ว จากการวิเคราะห์และการประเมินของ IUCN ได้ประเมินว่า พวกมันเสี่ยงสูญพันธุ์อันเนื่องมาจาก ภัยคุกคามที่มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่ การใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือสารกำจัดวัชพืช และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/827516
หมีขั้วโลกกินแบตเตอรี่-ผ้าอ้อมมากขึ้น ผลพวงจากภาวะโลกร้อน
การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Oryx เผยว่า ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดน้อยลง หมีขั้วโลก (Ursus maritimus) ก็ถูกบังคับให้ออกมาคุ้ยขยะเพื่อดำรงชีพมากขึ้นเรื่อย ๆ
แม้ว่าหลายคนจะมองว่า การที่หมีจะออกมากินขยะของมนุษย์นั้นไม่ใช่ปรากฎการณ์แปลกใหม่อะไร เพราะมีมานานแล้ว แต่การศึกษาเผยว่า มันกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะ การเผชิญหน้ากันระหว่างมนุษย์กับหมีขั้วโลกก็เกิดบ่อยขึ้น และชีวิตของหมีก็จบลงด้วยการถูกยิง
อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/827765