พาย้อนรอยดู ! ค่าค่า Ft ไฟฟ้าว่าปี 2565 ที่ผ่านมา ในแต่ละเดือนคิดเท่าไหร่ แล้วทำไมค่าไฟถึงแพงมีสาเหตุมาจากอะไร ค่าFt ไฟฟ้า จะอยู่ที่เท่าไหร่ ที่นี่มีคำตอบ !
เรื่องค่าไฟขึ้น ค่าไฟแพง ก่อนหน้านี้มีคนสงสัยว่าอาจเป็นเพราะสำรองไฟฟ้าส่วนเกิน คือ สาเหตุของค่าไฟแพง หรือไม่? แต่…สุดท้ายนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ออกมาเคลียร์ชัดเจนว่าประเด็นอัตราการสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin : RM) ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นอีกสาเหตุทำให้ค่าไฟแพงนั้น ปัจจุบันสำรองไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 36% ไม่ได้สูงถึง 50–60% ยืนยันสำรองไฟฟ้าส่วนเกินไม่ใช่ต้นเหตุค่าไฟแพง พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงว่าแผนงงานที่ทำเป็นไปตามแผน PDP ที่กำหนดการจัดหาพลังงานไฟฟ้า 20 ปี เพื่อเป็นการทางคาร์บอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แง้มข่าวดี ! จ่อปรับลดค่าไฟ 70สต./หน่วย งวดเดือนก.ย.-ธ.ค. 2566
ลดค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค. 2566 หากชำระแล้วการไฟฟ้าฯ คืนส่วนลดให้เดือนถัดไป
ข่าวดี ! กกต.ไฟเขียวครม.อัดงบหมื่นล้านบาท ลดค่าไฟแล้ว ช่วยเหลือประชาชน
"ความจริงแล้วการสำรองไฟฟ้าจริงๆ มีประเด็นตลอด โดยแแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ที่กำหนดการจัดหาพลังงานไฟฟ้า 20 ปี ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ต้องเตรียมการไว้ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ดังนั้น การจะต้องมีการเปิดทำไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็นเรื่องที่จำเป็น การสำรองไฟ ไฟสะอาด หากไม่มีไฟตลอดเวลาจำเป็นต้องสำรองไว้ ตรงนี้ก็ต้องสำรองเพื่อความมั่นคงในอนาคต"
ขณะที่นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ก่อนหน้านี้ได้ออกมาเปิดเผย เรื่องค่าไฟแพงในช่วงนี้สาเหตุหลักมากจาก ต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าอย่างก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตมากถึง 50 – 60 % พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีต้นทุนเรื่องของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟ รวมถึงกลไกการขายปลีก การจำหน่ายไฟฟ้าอีกด้วย รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนจัดในขณะนี้ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพงในช่วงนี้
“ค่าไฟแพงใกล้จะผ่านจุดพีคแล้ว เชื่อก.ค. -ธ.ค. 66 ค่าไฟจะลดลง จากปัจจัยบวกปริมาณผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว ที่อ่าวไทย เดือนก.ค. จะเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้เพียง 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และเพิ่มต่อเนื่องถึงปี67 ”
สำหรับหลายคนที่ยังสงสัยว่าโครงสร้างค่าไฟฟ้าไทยประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? โดยค่าไฟฟ้าที่เราใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า FT) และภาษีมูลค่าเพิ่ม
-ค่าไฟฟ้าฐาน จะเป็นต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า-ระบบขนส่ง-ระบบจำหน่าย รวมถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายต่าง ๆ โดยจะคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ควรมีให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชากรไทย
-ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft เป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่ผันแปรจากค่าไฟฟ้าฐานหลัก มีการปรับทุก ๆ 4 เดือนและกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจะคำนวณไปตามต้นทุนค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง, ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ในส่วนนี้ความผันแปรจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดพลังงานโลกที่มีความผันผวนขึ้นลงตลอดเวลาและปริมาณไฟฟ้าที่เราจะต้องนำเข้าเพิ่มด้วย เดือนผ่านมาที่ค่าไฟแพงก็เพราะค่า FT ตัวนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะคิดในอัตราร้อยละ 7 ของค่าไฟฟ้าฐานและค่า Ft รวมกัน
หากโฟกัสเรื่องค่าFt ที่มีการพูดถึงกันมากในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนที่มีการใช้ไฟฟ้ากันจำนวนมาก วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาย้อนรอยดูจากอดีต สู่ อนาคต ประเภทบ้านอยู่อาศัย ค่า Ft อยู่ที่เท่าไหร่ ? โดยข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค , สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุไว้ดังนี้
ค่าFt ปี2565
-ม.ค. -เม.ย. 65 อยู่ที่ 1.39 สตางค์ /หน่วย
-พ.ค.-ส.ค. 65 อยู่ที่ 24.77 สตางค์ /หน่วย
-ก.ย.-ธ.ค. 65 อยู่ที่ 93.43 สตางค์ /หน่วย
ค่าFt ปี2566
-ม.ค. -เม.ย. 66 อยู่ที่ 93.43 สตางค์ /หน่วย
-พ.ค. -ส.ค. 66 อยู่ที่ 91.19 สตางค์ /หน่วย
-ก.ย.-ธ.ค.66 คาดจะลดลง 70 สตางค์/หน่วย
* (อัตราดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
อย่างไรก็ตามภาพรวมค่าไฟมีแนวโน้มลด เพราะราคาพลังงานตลาดโลกเริ่มคลี่คลาย ทั้งน้ำมันก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG) ส่วนการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ลดนำเข้าพลังงานได้