ดูด้วยตา มืออย่าแตะอย่าจับ เพราะนี้คือ เต่าหนาม หรือ เต่าจักร สัตว์คุ้มครองที่หายากมาก ๆ ในประเทศไทย พบได้ที่ป่าทางภาคใต้เท่านั้น และน้องใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้ว เศร้าจัง!
เต่าที่เรา ๆ ส่วนใหญ่รู้จักมีอยู่ไม่กี่ชนิดคือเต่าบกและเต่าทะเล แต่บนโลกนี้มีเต่าอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่เราอาจไม่เคยรู้ และบางสายพันธุ์ก็ใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้ว บ้างก็สูญพันธุ์ไปแล้ว
เต่าจักร หรือ เต่าหนาม เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์เต่าบกที่ใกล้เต็มทีแล้ว ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพก็ได้ไปเจอะเจอกับน้องเข้าและก็ได้ถ่ายรูปมาฝาก ดังนั้น เลยขอพาไปทำความรู้จักน้องเต่าหนามกันหน่อยว่าน้องเป็นใคร
เต่าจักร หรือ เต่าหนาม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า (Spiny turtle, Spiny terrapin) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heosemys spinose จัดอยู่ในวงศ์เต่าบก (Geoemydidae) ซึ่งในปัจจุบันพบได้แค่เฉพาะในป่าดิบของภาคใต้ของไทยเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาใหม่ชี้ ที่อยู่อาศัยของช้าง 2 ใน 3 ทั่วเอเชียหายไปแล้ว เพราะมนุษย์
สรุปให้! นักดำน้ำคร่าชีวิตปลาวัวไททัน ปลาวัวไททันดุร้ายจริงไหม?
เต่าหนาม มีสันหนาเป็นเส้นกลางแผ่นเกล็ดสันหลังทุกแผ่น และมีตุ่มหลายตุ่มบนแผ่นเกล็ดชายโครงแต่ละแผ่น เมื่อยังเป็นเต่าวัยอ่อน แผ่นเกล็ดขอบกระดองแต่ละชิ้นจะมีลักษณะคล้ายหนามแหลมช่วงละ 1 หนาม อันเป็นที่มาของชื่อ ยกเว้นกระดองที่ 4 และ 5 จะมีหนาม 2 หนาม
เมื่อโตเต็มที่ หนามเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป ขาหน้าไม่มีผังผืด กระดองหลังมีสีน้ำตาลแดง กระดองท้องและด้านข้างออกสีเหลืองหรือสีส้ม และมีเส้นลายสีน้ำตาลดำ ขาสีน้ำตาลดำเกล็ดลำตัวออกสีชมพูอ่อน ผิวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวสีน้ำตาล
แพนด้า "หยาหยา" กลับถึงจีนแล้ว หลังดราม่า ถูกเลี้ยงดูไม่ดีในสวนสัตว์สหรัฐฯ
ออสเตรเลีย ประกาศห้ามใช้ อวนจับปลา เพื่อปกป้องประชากรตุ่นปากเป็ดและเต่า
ปัจจุบัน เต่าจักร ถูกจัดอยู่ในสถานะ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตามการรายงานของ IUCN และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
ดังนั้น หากพบเจอน้อง ห้ามเก็บกลับมาเด็ดขาด หรือทำอันตรายใด ๆ ให้เต่าบาดเจ็บหรือล้มตาย เพราะน้องเหลือน้อยมากแล้ว และหายากมาก ๆ ด้วย ดูด้วยตา มืออย่าจับอย่าแตะกันด้วยนะ
ที่มาข้อมูล
ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม