เกิดกรณีดราม่าหลังเพจขยะมรสุมได้โพสต์ภาพแคปชั่นของครูดำน้ำท่านหนึ่งที่เล่าว่า เจอปลาวัวไททันเข้ามากัด จนทำให้ตนฆ่าปลาตัวนั้นไป ผู้คนแสดงความคิดเห็นว่าเหมาะสมแล้ว?
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา เพจขยะมรสุม Monsoongarbage Thailand ได้โพสต์ภาพจากเพจเฟซบุ๊กของครูสอนดำน้ำท่านหนึ่ง พร้อมแคปชัน “อันนี้ผมว่า ทุกคนคงคิดตรงกันใช่ไม๊ครับ. น่าจะมีหลายๆคนเห็นแล้ว”
โดยเนื้อหาของครูสอนดำน้ำท่านนั้นได้เล่าพร้อมมีภาพประกอบ โดยเล่าถึงการดำน้ำที่บังเอิญไปเจอปลาวัวไททันซึ่งอ้างว่าเป็นปลาดุร้าย และได้เข้าไปกัดครูดำน้ำท่านนี้ จนมีแผลที่ขา ยอมไม่ได้เพราะกัดลูกทัวร์ดำน้ำไปหลายคนแล้ว ตนจึงได้ทำการฆ่ามันเพื่อป้องกันมันไปโจมตีนักดำน้ำท่านอื่น ๆ พร้อมทิ้งท้ายเป็นคำถามให้ชาวเน็ตว่าจะเอาปลาไปทำเมนูอะไรดี
ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือคอมเมนต์ของผู้คนว่า การกระทำนี้ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ การไปบุกรุกบ้านของสัตว์ในธรรมชาติและทำร้ายสัตว์ในถิ่นบ้านเกิดของมันนั้นถูกต้องหรือไม่ ในฐานะที่เป็นครูดำน้ำชมธรรมชาติ เรื่องนี้ไม่สมควรเกิดขึ้น เป็นต้น
หลังเกิดกรณีดราม่าขึ้นครูดำน้ำท่านดังกล่าวได้ออกมาขอโทษ และยอมรับที่ทำไปเพราะโกรธที่โดนกัด และคิดน้อยไป และโพสต์ต้นทางก็ได้ลบรูปและเนื้อหาดังกล่าวออกไปแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทช.วอนอย่าฆ่าปลาวัวไททัน เตือนนักดำน้ำให้เมตตา ช่วงนี้วางไข่จึงก้าวร้าว !
แพนด้า "หยาหยา" กลับถึงจีนแล้ว หลังดราม่า ถูกเลี้ยงดูไม่ดีในสวนสัตว์สหรัฐฯ
ด้านอาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าวว่า การท่องเที่ยวทางทะเลคือการลงไปในทะเล ลงไปในบ้านของพวกเธอ มิใช่บ้านของพวกเรา ในบ้านทุกบ้านมีกติกา พฤติกรรมก้าวร้าวของสัตว์น้ำมีที่มา มีการหวงรังหรือหวงพื้นที่ มีการดูแลปกป้องที่อยู่และให้กำเนิดลูกน้อย
หากเราไม่สามารถรับกติกาในบ้านคนอื่น เราไม่ควรไปเยี่ยมเยือนบ้านของพวกเธอ ยังมีที่อื่นๆ อีกมากที่มนุษย์เป็นคนกำหนดกติกา เราเลือกไปในที่เหล่านั้นได้ ทราบว่าเจ้าหน้าที่/ผู้เกี่ยวข้องรู้เรื่องแล้ว หวังว่าจะมีการดำเนินการที่เหมาะสมในไม่ช้าครับ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาวัวไททัน
ปลาวัวไททัน (Titan triggerfish) มีฉายาว่า ปลาวัวอำมหิต มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Balistoides viridescens เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) พบได้ในน่านน้ำไทย ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย และมันก็ขึ้นชื่อว่าดุกว่าฉลาม
พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยในศรีลังกา ถูกใช้งานจนเกือบพิการ รอวันกลับบ้าน
ออกตรวจสุขภาพสัตว์ทะเลหายาก อ่าวปากพนังฝั่งตะวันตก พบโลมาหลังโหนก
รูปร่างของมันดูแข็งแรงในฐานะปลาขนาดเล็ก ปากมีขนาดใหญ่และมีคมเขี้ยวสั้นๆอยู่ในปาก ครีบหางมีสีส้มขอบสีคล้ำ ปากมีคาดสีดำสลับขาว ข้างลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบยาวสุด 75 เซนติเมตร นับเป็นปลาวัวที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งก็ว่าได้
ปลาวัวเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่นักดำน้ำเกรงกลัว เพราะมันมีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว โดยเฉพาะตัวผู้ในฤดูกาลดูแลการฟักไข่ ก็จะหวงไข่เป็นธรรมดา โดยหากเห็นศัตรูเข้ามาในเขตของตนก็จะพุ่งเข้าไปทำร้ายด้วยการกัดสิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวที่เข้ามาใกล้รังของมันหรือถิ่นที่อยู่อาศัย ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ เรียกว่าไม่กลัวสัตว์ตัวใดในทะเลเลยดีกว่า
เทคนิคการดูว่าน้องโกรธอยู่หรือไม่?
นักประดาน้ำที่ช่ำชองวิชาชีพหลายคนบอกว่า สามารถสังเกตได้ด้วยการดูที่ "ครีบหลัง" หากครีบเรียบลงไปตามหลังของมัน ก็แสดงว่าเขายังอารมณ์ดี แต่หากตั้งชูขึ้นเหมือนแมวนั่นหมายความว่า น้องตื่นเต้นหรือกำลังอารมณ์เสีย สิ่งที่คววรทำคือการถอยห่างออกไปจากอาณาเขตของเขาอย่างช้า ๆ
ที่มาข้อมูล
ขยะมรสุม ᴍᴏɴsᴏᴏɴɢᴀʀʙᴀɢᴇ ᴛʜᴀɪʟᴀɴᴅ
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง