คุณรู้หรือไม่ว่า? ไทยค่าไฟแพง ! เบอร์ 4 ของภูมิภาคอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา โดยสาเหตุหลักมากจากต้นทุนการผลิตที่สูง สำหรับช่วงนี้ที่ค่าไฟขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บอกว่า อากาศร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ
ช่วงนี้หลายบ้านคงจะลุ้นสุดๆ กับค่าไฟฟ้าเดือนนี้ว่าจะเท่าไหร่ อะไร ยังไง เพราะมีหลายบ้านที่ได้บิลค่าไฟแล้ว แล้วพบว่า ค่าไฟขึ้น ค่าไฟแพงปี66 โดยสาเหตุของค่าไฟแพงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า อากาศร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากกว่าเดิม ล่าสุดการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.(MEA) ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุค่าไฟฟ้าแพงเพราะเข้าสู่หน้าร้อนคนใช้ไฟฟ้ามากขึ้น พร้อมเผยว่า อากาศร้อนขึ้นเพียง 1 องศา ทำค่าไฟฟ้าพุ่งร้อยละ 3 เป็นสาเหตุให้แม้จะใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม แต่ค่าไฟฟ้ากลับเพิ่มขึ้นและได้ แนะนำให้ประชาชนปรับฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับใครที่กำลังบ่นฮุบว่าค่าไฟฟ้าที่บ้านของตัวเอง ค่าไฟขึ้น ค่าไฟแพงปี66 วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปดูค่าไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านของเรา ในภูมิภาคอาเซียน โดยเพจ Environman ได้นำเสนอข้อมูลค่าไฟไทยแพงแค่ไหน? โดยเปรียบเทียบค่าไฟฟ้ากับเพื่อนบ้านอาเซียนอีก 10 ประเทศนั้น พบว่าความแพงของค่าไฟไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของภูมิภาคอาเซียน โดยยังราคาถูกกว่าสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ซึ่งตัวแปรหลักก็ยังเป็นเรื่องของต้นทุนทรัพยากรที่ประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจาก 3 ประเทศนี้ที่มีมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศยักษ์ใหญ่ในโลกก็มีอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าไทยมาก เช่น เยอรมนี (ราว 16.57 บาท/หน่วย) อังกฤษ (ราว 12 บาท/หน่วย) โดยค่าไฟประเทศเหล่านั้นแพงเป็นเพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าในประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการหันมาใช้พลังงานทดแทนเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต้นทุนในกระบวนการแพงกว่าก๊าซธรรมชาติหรือพลังงานฟอสซิลที่ใช้แล้วหมดไปแบบที่เราใช้กันเป็นหลักในปัจจุบันดูน้อยลง
นอกจากนี้ globalpetrolprices ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขค่าไฟฟ้าประเทศกลุ่มอาเซียน มาเลเซีย มีค่าไฟต่อกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงที่ 1.8 บาท ตามมาด้วย เวียดนาม 2.4 บาท อินโดนีเซีย 3 บาท ประเทศไทย 3.9 บาท ฟิลิปปินส์ 5.7 บาท และสิงคโปร์ 5.7 บาท ส่วนประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียเว็บไซต์ www.statista.com เคยได้ประมาณการณ์ไว้ ออสเตรเลีย 7.5 บาท เกาหลีใต้ 3.3 บาท โดยส่วนหนึ่งมาจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลที่จะประคองอัตราค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือกระตุ้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจ