ช่วงนี้แม้ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพกันอย่างต่อเนื่อง เพราะฝุ่น PM2.5 ไม่ได้แค่ก่อนให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือโรคปอดเท่านั้น แต่ยังทำร้ายหัวใจอีกด้วย และร้ายแรงถึงขั้นหัวใจล้มเหลว
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ ดีขี้นยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาพเหนือ อย่าง จังหวัดเชียงราย ซึ่งไฟป่าที่ข้ามแดนมาทำฝุ่น PM2.5 ทำให้มีค่าฝุ่นสูงกว่า 600 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งค่าฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่สูงอาจส่งผลต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะทางเดินหายใจ ปอด รวมถึงหัวใจ
ฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ปอดแต่ยังกระทบกับหัวใจด้วย จากข้อมูลของสมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology – ESC) เผยว่า มลพิษทางอากาศ ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตในยุโรปเพิ่มขึ้น มีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 800,000 คนต่อปี
และจากการทำแบบจำลองผลกระทบที่หลากหลายของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศภายนอกที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต พบว่า 40 – 80% ของผู้เสียชีวิตเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) เช่น หัวใจวายและหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า มลพิษทางอากาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 8.8 ล้านรายทั่วโลกมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.5 ล้านคน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เชียงใหม่ดัชนีคุณภาพอากาศแย่ ที่ 3 ของโลก PM 2.5 23 มี.ค. กทม.ไม่เกินมาตรฐาน
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
องค์การอนามัยโลกระบุว่า หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10 – 25 ไมโครกรัมใน 1 ลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ โรคปอด และโรคมะเร็ง
ในเรื่องฝุ่น PM 2.5 ที่กระทบกับหัวใจ หากเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันจะส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก และหากเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่แล้วจะเข้าไปกระตุ้นให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ส่วนในระยะยาวผลกระทบจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ กระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย หลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดเติบโตขึ้น มีอันตรายต่อร่างกายเทียบเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5