svasdssvasds

ทำความรู้จัก ภาวะก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง คืออะไร ? ทำไมมาพร้อมพายุฤดูร้อน

ทำความรู้จัก ภาวะก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง คืออะไร ? ทำไมมาพร้อมพายุฤดูร้อน

ทำความรู้จัก ภาวะก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง คืออะไร ? ทำไมมาพร้อมพายุฤดูร้อน หลังนักวิชาการภูมิศาสตร์ชี้้เชียงใหม่ จังหวัดต้องเจอ ภาวะก้อนเมฆทิ้งดิ่ง และเตือนเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน

ผศ.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ชี้จังหวัด เชียงใหม่เจอภาวะก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง เตือนให้เฝ้าระวัง พายุฤดูร้อนลมแรง โอกาสเกิดได้ทุกพื้นที่ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน  หลังจังหวัดเชียงใหม่ เกิดพายุลูกเห็บถล่มอย่างหนัก ทำให้ จังหวัดเชียงใหม่ได้รับความเสียหาย ถึง 4 อำเภอ 17 ตำบล มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่า 600 หลังคาเรือน และ พื้นที่ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง ถือว่าเป็นได้รับความเสียหายมากที่สุด 

 โดย ถือว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่ พบว่ามีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 100 หลังคาเรือน ได้รับความเสียหายอย่างหนักกว่า 30 หลัง โดยบ้านเรือนประชาชน ได้รับความเสียหายคือ กระเบื้องมุงหลังคาที่ถูกแรงพายุพัดปลิวแตกเสียหาย ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ล้มทับ ตลอดจนเศษขยะที่ถูกลมพัดปลิวมาตกในพื้นที่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเสาไฟฟ้าหักโค่นจำนวนมากส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา รวมถึงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่พังทับบ้านเรือนประชาชน ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผศ.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า พายุฤดูร้อน จะเกิดในช่วงฤดูร้อนที่มีอากาศอบอ้าว ความชื้นสูงเลยทำให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นไปก่อตัวเป็นเมฆฝน หรือเรียกว่า ก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง  

โดยทางวิชาการแล้ว เรียกว่า คิวมูโลนิมบัส (Cumolonimbus) : ก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์ มีรูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำและก่อตัวในแนวตั้งเช่นกัน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากลมชั้นบนพัดแรง ยอดเมฆจะแผ่ออกคล้ายทั่ง

ทำความรู้จัก ภาวะก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง คืออะไร ? ทำไมมาพร้อมพายุฤดูร้อน Credit ภาพ Getty Image

โดยลักษะนี้ จะมีการกระจายของประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และเกิดฟ้าผ่าได้ รวมถึงลมกระโชกแรง  โดยลักษณะอากาศแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ แต่จะไม่กระจายพื้นที่เป็นวงกว้าง จะหนัก เฉพาะพื้นที่ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของพายุฤดูร้อน รัศมี ตั้งแต่ 1-2 ตารางกิโลเมตร และ อาจจะถึง 10 กิโลเมตรได้ อย่างเช่นครั้งนี้  จุดใดที่เป็นจุดศูนย์กลางก็มีโอกาสความรุนแรงได้ 

จุดศูนย์อยู่ตรงตำบลฟ้าฮ่าม จะกระจายไปถึง อำเภอแม่ริม อำเภอสันทรายได้ แต่อำเภอสันกำแพงฝนไม่ตกได้ เนื่องจาก อยู่ห่างรัศมีจุดศูนย์กลาง  และในช่วงนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ยังพบว่ามี อากาศร้อนอบอ้าว จึงยังมีความเสี่ยงเกิด พายุฤดูร้อนได้ทุกพื้นที่ 

ผศ.พลภัทร เหมวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

related