svasdssvasds

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดต้องระวัง ทำลายเนื้อเยื่อ

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ  แต่คนใกล้ชิดต้องระวัง ทำลายเนื้อเยื่อ

กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องสิ่งแวดล้อม จากประเด็น ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดง คนและระบบนิเวศที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่นั้นอยู่ในความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ชี้ว่า อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะ ยังไม่มีรายงานว่า ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ

โดยจากคำยืนยันจาก นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) บอกในระหว่างการแถลงข่าวหลังข่าวค้นพบท่อเหล็กบรรจุ ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี หายปริศนา  โดยจนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีการตรวจพบค่ารังสีจากโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง

คำถามที่เกิดขึ้นคือ มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีสาร ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมออกไปมากน้อยแค่ไหน แต่นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ บอกว่า มีรายงานพบว่ามีการนำขี้เถ้า 1 กระสอบจาก 24 กระสอบ 24 ตันไปฝังในพื้นที่ใกล้โรงงาน และตอนนี้ได้สั่งเก็บดิน และขี้เถ้าทั้งหมดเข้าสู่ระบบ เพราะฝุ่นเหล็กมีราคา 

แม้จะมีการยืนยันว่าไม่พบการปนเปื้อนในดิน อากาศ และการฟุ้งกระจายในรัศมี 5 กม.จากโรงงานหลอมเหล็ก "พบการเปรอะเปื้อนเฉพาะในฝุ่นแดงที่ถูกหลอมออกมาเท่านั้น และล็อตการผลิตก่อนหน้าที่ฝุ่นแดงออกไป ตรวจสอบไม่มีการเปรอะเปื้อนของซีเซียม-137"

ซีเซียม -137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ  แต่คนใกล้ชิดต้องระวังทำลายเนื้อเยื่อ-DNA
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่นแดง คืออะไร ? 

คำถามสำคัญคือฝุ่นแดงคืออะไร ? ฝุ่นแดงหรือฝุ่นจากเตาหลอมเหล็ก (Electric Arc Furnace Dust) เป็นเป็นกากของเสียที่เกิดจากกระบวนการหลอมเหล็ก ในเตาหลอมไฟฟ้า EAF (Electric Arc Furnace) โดยฝุ่นแดงเป็นฝุ่นที่เกิดจากการหลอมเหล็กที่มีสังกะสีอยู่ โดย ฝุ่นแดงถือเป็น “ของเสียอันตราย” (K601) ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) เพราะมีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบจำพวก เหล็กออกไซค์ และสังกะสีออกไซค์ ที่ต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม   ปัจจุบัน ฝุ่นแดงจะถูกจัดการโดยวิธีการเฉพาะในรูปแบบ ส่งเผา,ฝังกลบ และนำไปถมที่

ส่วน ประเด็นต่อมาต้องตรวจสุขภาพคนงานที่ทำงาน และตรวจสอบว่าฝุ่นแดงถูกส่งออกไปในจุดไหนบ้าง ใครที่นำแท่งเหล็กมาส่ง เพื่อหาคนรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ แต่ไม่พบการเปรอะเปื้อนบนร่างกายของพนักงาน
.

• เจษฎา ชี้ อย่าเพิ่งกังวลเกินไป  ยังไม่มีรายงานว่า ซีเซียม-137 ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ 

ขณะเดียวกัน ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  ให้สัมภาษณ์กับ SPRiNG  เตือนผู้ที่ใกล้ชิดกับซีเซียม-137 ต้องระวังเพราะ มันมีสิทธิ์เป็นสารก่อมะเร็งได้  แต่เคสที่เกิดขึ้นกับไทย 


 
"จากเรื่องนี้ คนที่มีสิทธิ์ต้องระวังมากที่สุดคือคนใกล้ชิดกับสารเคมี น่าจะเป็นผู้คนในโรงงาน สุดท้ายแล้วเราพบว่ามันไปอยู่ในฝุ่นผงจากการเผา คนที่อยู่ในกระบวนการผลิตอาจจะได้รับสารซีเซียมได้ แต่จากที่เขาอ้างว่า มันเป็นเตาเผาแบบปิด ดังนั้นประชาชนทั่วไปยังไม่ต้องกังวลว่าจะรับสารเข้าไป  ความอันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับสารนานแค่ไหน ความเข้มข้นแค่ไหน ถ้าเรารับสารเข้าไปเลยอย่างเช่น โดนผิวหนัง กินเข้าไป ดังนั้น จะได้รับรังสีอยู่เรื่อยๆ  ในระยะยาวสารอาจจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำลายดีเอ็นเอ" 

 

"ตามข้อมูลที่มีตอนนี้ สารยังไม่ได้กระจายไปไหน  แต่หากเป็นแบบเคสต่างประเทศ ที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ที่มันเป็นระบบเปิด ที่มีการกระจายไปในการเผา กระจายไปในปล่องไฟ หากเป็นแบบนี้ก็น่าห่วง แต่ปริมาณอาจจะค่อนข้างต่ำ แต่มันจะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งในพื้นฐานของประเทศเราก็ไม่อยากให้มันกระจายไปในสิ่งแวดล้อม เพราะมันจะเป็นผลระยะยาว  ส่วนเคสนี้ ในไทย ยังไม่ต้องกังวลจนเกินไป" 


นอกจากนี้ ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์  ยังโพสต์ข้อความอีกว่า "ยังไม่มีรายงานว่า ซีเซียม-137 ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ"

related