Schneider Electric บริษัทผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงาน ได้เน้นถึง ยุทธศาสตร์เรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำเลย โดยเรื่อง sustainability นั้น ต้องทำเรื่องนี้ทั้งธุรกิจ ทั้งวงจรธุรกิจโมเดลทั้งหมด และไอเดียนี้จะลงไปสู่หน่วยย่อย
Exclusive insight sustainability Talk จัดขึ้นโดย กรุงเทพธุรกิจ X Schneider Electric โดยทาง บริษัทผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงาน ได้เน้นถึง ยุทธศาสตร์เรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำเลย ทำเดี๋ยวนี้ โดย เรื่องความยั่งยืนนั้น ต้อง ทำเรื่องนี้ทั้งธุรกิจ ทั้งวงจรธุรกิจโมเดลทั้งหมด และต้องพยายามสื่อสารเรื่องความยั่งยืนไปยังธุรกิจค้าปลีก เพื่อเปลี่ยนแปลงโลก ให้มุ่งสู่ความโกกรีน
Exclusive insight sustainability Talk โดยงานนี้ จัดขึ้นโดย กรุงเทพธุรกิจ X Schneider Electric จัดขึ้นที่ โรงแรมสินธร เคมปินสกี กรุงเทพ ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 โดยภายในงานสัมมนาแบบ exclusive ครั้งนี้ เริ่มต้นโดย สเตฟาน นูสส์ (Stephane NUSS) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เน้นยำถึงประเด็นสำคัญเรื่องที่ บริษัทจะมุ่งไป นั่นคือยุทธศาสตร์เรื่องความยั่งยืนและธุรกิจดิจิทัล
โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Schneider Electric มีความมุ่งมั่นเพื่อให้ถึงเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและสังคมอย่างยั่งยืน อาทิ การลงทุนที่ยั่งยืน นโยบายสร้างความทัดเทียมทางเพศ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืน รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้องค์กรไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งทางออก และบริการของชไนเดอร์ อิเล็คทริค Schneider Electric ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้มหาศาล และสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรยั่งยืน และโลกจะยั่งยืนควบคู่กันไปเพราะการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้โลกรอดในอนาคต
ขณะที่ กเว็นนาเอล อาวิส เอว็ท (Gwenaelle Avice-Huet) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์และความความยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แสดงวิสัยทัศน์ว่า ณ เวลานี้ทุกบริษัททั่วโลกต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความนยั่งยืน และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Schneider Electric มีคำมั่นสัญญาในการมุ่งมั่นมุ่งสู่ความโกกรีน อาทิ ในปี 2050 องค์กรจะไปสู่การเป็น Net zero และผลิตสินค้าต่างๆ ออกมา ไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และ 6 คำมั่นสัญญาระยาวที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Schneider Electric จะทำ คือเรื่อง Climate (สภาพภูมิอากาศ), Resources (ทรัพยากร) . equal (ความเท่าเทียม) , generations (เรื่องช่วงวัยต่างๆ ) , trust (ความเชื่อใจในผลิตภัณฑ์) และ Local (ท้องถิ่น) และทุกๆอย่างนั่น จะอยู่บนหลักการของแนวคิด ESG หรือ Environment, Social, และ Governance โดย กเวนาเอลเล่ อไวซ์-อูเอต์ เน้นประเด็นที่กระตุ้นเตือนให้บริษัททั่วโลกเห็นความสำคัญของเรื่อง sustainability เพราะเรื่องนี้ ต้องทำทันที ทำเดี๋ยวนี้ ไม่มีเวลาสำหรับ คำว่า "รอ" อีกต่อไปแล้ว และเรื่องความยั่งยืนนั้น ทำคนเดียวไม่ได้ ทำหน่วยเดียว ทำบริษัทเดียวไม่ได้ แต่ทั้งทางรัฐ NGO ต้องช่วยกันด้วย
โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ช่วยให้ ลูกค้าของบริษัททั่วโลก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้ 440 ล้านตันตั้งแต่ปี 2018 โดยเฉพาะในปี 2022 สามารถลดก๊าซคาร์บอนได้ถึง 90 ล้านตัน นั่นหมายความว่า ช่วยให้องค์กรยั่งยืน และโลกยั่งยืนควบคู่กันไป เพราะการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้โลกรอด โดย บริษัทได้ บรรลุรายได้สูงสุดตลอดปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 34,176 ล้านยูโร โตขึ้น 12 % (organic growth) จากปีที่ผ่านมา และ
บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้จัดอันดับอยู่ในลิสต์รายชื่อ 100 Most Sustainable Corporations ประจำปี 2566 ซึ่งนับเป็นองค์กรที่ยั่งยืนที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 12 และเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน จากการจัดอันดับโดย Corporate Knights ด้วย
นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค Schneider Electric ไม่ได้ทำ เรื่องความยั่งยืนแต่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์เดียว แต่ต้องทำเรื่องนี้ทั้งธุรกิจ ทั้งวงจรธุรกิจโมเดลทั้งหมด และต้องพยายามสื่อสารเรื่องความยั่งยืนไปยังธุรกิจค้าปลีก ให้ลงไปถึงหน่วยย่อย กล่าวคือ บิ๊กไอเดียต้องมาจากส่วนนโยบายของบริษัท ให้ไปถึงหน่วยสาขาย่อยต่างๆ
ด้าน อมร ทรัพย์ทวีกุล หนึ่งใน co-founder บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ Energy absolute (EA) ชี้ประเด็นว่า สำหรับเรื่อง sustainability หรือความยั่งยืนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ของสังคมไทย ต้องเติมความรู้ให้คนให้มาก เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ และต้องทำให้คน ตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องใช้ทุกอย่างเพื่อสิ่งแวดล้อม และทำไมเราต้องใช้ทุกอย่างเพื่อความยั่งยืน
ภายในงาน ยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ‘ราคาที่สูงเกินไป’ สำหรับโซลูชั่นด้านพลังงาน เช่น Hydrogen technology ซึ่งยังมีราคาแพง ขณะที่ซัพพลายเชนของบางธุรกิจไม่ได้เข้าใจภาพของความยั่งยืน และความสำคัญ ซึ่งความสำเร็จและการบรรลุเป้าหมายได้ส่วนหนึ่งคือต้องเปลี่ยนทั้ง วงจรธุรกิจ ดังนั้นนักธุรกิจบางคนยังมองว่าเป็นเรื่องน่าหนักใจในการทำความเข้าใจและลงมือทำเกี่ยวกับความยั่งยืน
โดยมีคำแนะนำจาก ‘แดน ปฐมวาณิชย์’ CEO จาก NR Instant Produce PLC. ธุรกิจที่ทำอาหารจากโปรตีนพืชรายแรก ๆ ในไทย ได้พูดว่า ถ้าอยากสร้างความตระหนักและเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เกี่ยวกับความยั่งยืน หรือ Net Zero คือ ต้องมี ‘ระบบใหม่’ และที่สำคัญคือต้องมีการสนับสนุนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนชั่น กรุ๊ป ให้ความเห็นในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่า ธุรกิจใดๆนั้น ในทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน เรื่องตัวเลข เพียงอย่างเดียวที่จะเป็นตัวพิสูจน์ความสำเร็จ แต่ธุรกิจต่างๆ ในทุกวันนี้ ต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย สิ่งประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่องความยั่งยืน เป็นสิ่งทำ และ เนชั่น กรุ๊ป ก็จริงจังกับเรื่องความยั่งยืนแบบเข้มข้นมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว