ฝุ่น PM2.5 มีการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลียพบว่า มีประชากรโลกเพียง 0.001% ที่ได้รับอากาศที่ดีและไม่มีมลพิษ ประชากรทั่วโลกกว่า 99% กำลังได้รับมลพิษทางอากาศในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ฝุ่น PM2.5 ไม่สามารถมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่มีขนาดเล็กพอที่จะผ่านปอดและเข้าสู่กระแสเลือดได้ การสัมผัสกับ PM2.5 อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งปอด
องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า PM2.5 ทำให้คนตายประมาณ 8 ล้านคนต่อปี ซึ่งสามารถทำให้ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดโรคหลอดเลือด มะเร็งปอด และลามไปถึงโรคหัวใจ
เมื่อเราหายใจนำมลพิษ PM2.5 เข้าไปจะผ่านเยื่อบุของปอดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลไปต่อโรคหอบหืดกำเริบ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อนุภาคที่เป็นพิษสามารถผ่านเข้าไปในหลอดเลือดและเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำให้เกิดลิ่มเลือดที่ทำลายหัวใจหรือสมอง ชี้ให้เห็นว่ามลพิษฝุ่นนี้เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างแน่นอน
ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก กว่า 90% ของวันมีความเข้มข้นของ PM2.5 ต่อวันสูงกว่า 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และการศึกษายังพบว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีจำนวนวันที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 สูงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2019
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ปัจจุบัน WHO (องค์การอนามัยโลก) แนะนำขีดจำกัดเฉลี่ยต่อปีที่ 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จากรายการนี้ การศึกษาสรุปเพียง 0.18% ของพื้นที่โลกและ 0.001% ของประชากรโลกที่มีมลพิษทางอากาศในระดับที่ปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี PM2.5 พุ่งสูงไปถึง 150-160 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งอันตรายมาก
ภูมิภาคที่มีอากาศดีที่สุดในช่วง 20 ปีมานี้มีเพียง ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 8.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม ตามมาด้วยโอเชียเนีย 12.6 ไมโครกรัม/ลบ.ม และทางตอนใต้ของอเมริกา 15.6 ไมโครกรัม/ลบ.ม
การศึกษาของ IQAir ขณะนี้พบว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่ตรงมีคุณภาพอากาศตามแนวทางปัจจุบันขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับคุณภาพอากาศ โดยประเทศที่มีมลพิษมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2564 ได้แก่ บังกลาเทศ ชาด ปากีสถาน ทาจิกิสถาน และอินเดีย
นักวิจัยได้เผยถึงสาเหตุหลักๆของมลพิษทางอากาศ PM2.5 เหล่านี้ เกิดขึ้นจาก มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล,ไอเสียรถยนต์ ไฟฟืน เตาแก๊ส ไฟป่า หรือพายุฝุ่นและอื่นๆอีกมากมาย
ที่มา : forbes