svasdssvasds

ทส. เพิ่มจุด drop off จุดทิ้งของเสียขยะอันตรายจากชุมชน กว่า 5,000 แห่ง

ทส. เพิ่มจุด drop off  จุดทิ้งของเสียขยะอันตรายจากชุมชน กว่า 5,000 แห่ง

ทส. เปิดเกมรุกด้านการจัดการขนอันตราย และกำจัดขยะสีแดงออกจากชุมชน เพิ่มจุด drop off ของเสียอันตราย กว่า 5,000 จุด รับของเสีย 4 ประเภท คือ หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี และซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง , เพื่อจะได้แยกทิ้งของเสียอันตรายอย่างถูกต้อง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สมาคม ภาคเอกชนที่เป็น Brand Owner ขนาดใหญ่ และบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย ประกาศจุดมุ่งหมาย ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ  “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน” ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช กรมควบคุมมลพิษ โดยตั้งเป้า ลดความอันตรายจากขยะสีแดง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับชุมชน 

 นาย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมาย กรมควบคุมมลพิษ ให้เดินเกมรุก ขับเคลื่อนการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ สนับสนุนการจัดให้มีจุดทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชน หรือจุด drop off เพื่อให้ประชาชนแยกทิ้งของเสียอันตรายอย่างถูกต้อง และมีช่องทางการทิ้งที่สะดวก ตามมาตรการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น จากจัดการที่ไม่ถูกต้อง โดยสิ่งเหล่านี้ เป็นการเดินตามนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะมูลฝอยมาอย่างต่อเนื่อง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากประเด็นนี้ มีความคืบหน้า นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  เปิดเผยว่า ปี 2565 ไทยมีของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 600,000 ตัน ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์และจัดการอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 13 

ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้  คือ ประชาชนยังไม่แยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชนออกจากมูลฝอยทั่วไป และมีจุด drop off ของเสียอันตรายจากชุมชน จำนวน 7,778 แห่ง ซึ่งจุดทิ้งยังไม่ครอบคลุม หรือ ไม่เพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงนำมาสู่การแสดงเจตนารมณ์ในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนในวันนี้

ทส. เพิ่มจุด drop off  จุดทิ้งของเสียขยะอันตรายจากชุมชน มากกว่า 5,000 แห่ง หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี และซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง , เพื่อจะได้แยกทิ้งของเสียอันตรายอย่างถูกต้อง และมีช่องทางการทิ้งที่สะดวกขึ้น

ดังนั้น ในปี 2566 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) มีแผนที่จะขยายโครงการฯ ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ จึงร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา สมาคม ภาคเอกชนที่เป็น Brand Owner ขนาดใหญ่ และบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย รวม 50 องค์กร จัดให้มีจุด drop off ของเสียอันตรายจากชุมชนอีก 5,176 แห่ง

ทส. เพิ่มจุด drop off  จุดทิ้งของเสียขยะอันตรายจากชุมชน มากกว่า 5,000 แห่ง หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี และซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง , เพื่อจะได้แยกทิ้งของเสียอันตรายอย่างถูกต้อง และมีช่องทางการทิ้งที่สะดวกขึ้น

โดยจุดรับของเสีย drop off ของเสียอันตรายจากชุมชน จะมี  4 ประเภท คือ หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี และซากโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ต่อพ่วง และรวบรวมส่งให้กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 

ความร่วมมือนี้จะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ มีความตระหนัก และให้ความสำคัญกับอันตรายจากของเสียอันตรายจากชุมชน มีการแยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างถูกต้อง และภาพรวมของสิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้น 

ทำให้เก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนเข้าสู่ระบบมากขึ้นและได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และเป็นการสร้างเครือข่ายในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  กล่าว

related