ปัญหาขยะพลาสติกยังคงร้ายแรงขึ้น งานศึกษาพบว่าในมหาสมุทรมีอนุภาคพลาสติกมากถึง 170 ล้านล้านชิ้น รวมกันแล้วมีน้ำหนักอยู่ที่ 2.3 ล้านตัน ส่งผลให้เกิดมลพิษ หมอกควันพลาสติก ซึ่งเกิดจากพลาสติกแตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็ก
ปัญหาขยะพลาสติก ยังเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน ขณะนี้มีอนุภาคพลาสติกสูงถึง 171 ล้านล้านชิ้น โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกช่วงปี 1979-2019 จากจุดสุ่มตัวอย่างเกือบ 12,000 จุดในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ซึ่งงานศึกษายังพบว่ามีปัญหาขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะทำให้ปริมาณพลาสติกยังคงเพิ่มขึ้นราว 2.6 เท่าตั้งแต่ปีนี้จนไปถึงปี 2040
ปัจจุบันยังมีการผลิตพลาสติกสูงมากขึ้นในทุกๆปี โดยเฉพาะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง (Single-Use Plastics) และยังคงไม่มีการจัดการปัญหาขยะประเภทนี้ มีการรีไซเคิลเพียง 9% เท่านั้น สุดท้ายแล้วขยะพลาสติกพวกนี้ก็จะจบลงที่มหาสมุทร และไม่ถูกย่อยสลายและแตกตัวกลายเป็นอนุภาคในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ผลกระทบไม่เพียงมีปัญหามลพิษหมอกควันที่มีส่งผลต่อการหายใจของมนุษย์ แต่ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ต่างๆในมหาสมุทร และมิหนำซ้ำยังมีการชะล้างสารเคมีจากโรงงานต่างๆที่ทิ้งสู่ทะเลอีกด้วย และขยะพลาสติกเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย เนื่องจากการย่อยสลายจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้มีมติเห็นชอบในการผลักดันร่างสนธิสัญญาว่าด้วยมลพิษพลาสติกฉบับแรกของโลก ที่จะมีผลผูกพันตามกฎหมายภายในปี 2024 ซึ่งคาดว่าจะระบุถึงอายุการใช้งานทั้งหมดของพลาสติก นับตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการกำจัด เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากอนุภาคพลาสติกนี้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งอย่างไรเราคงต้องรอดูอีกทีว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ จะปรับลดการผลิตพลาสติกหรือไม่ ซึ่งในอนาคตหากเราไม่ลดจำนวนการผลิตลง ขยะพลาสติกก็จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และขยะพลาสติกก็จะล้นโลกในไม่ช้า ดังนั้นหากเราลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันได้ ก็ถือว่าเป็นการช่วยโลกไปได้อีกทาง
ที่มา : iflscience