svasdssvasds

วันหมีขั้วโลกสากล 27 ก.พ. เจ้าแห่งความเย็นกำลังหายไปจากโลก

วันหมีขั้วโลกสากล 27 ก.พ. เจ้าแห่งความเย็นกำลังหายไปจากโลก

น้องหมีกำลังหายไปจากโลกใบนี้ 27 ก.พ. 2023 วันหมีขั้วโลกสากล ชวนคนมาตระหนักรู้ถึงปัญหาที่หมีขั้วโลกต้องเผชิญ เพราะผู้ร้ายคือมนุษย์นี่เอง

หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ชื่อดังแห่งแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกที่ทุกคนรู้จักกันดี เหมือนพวกเพนกวินและสิงโตทะเล แต่เชื่อหรือไม่ว่าสัตว์ที่เป็นเจ้าแห่งความเย็นเหล่านี้ กำลังหายไปจากโลกใบนี้ และผู้ร้ายไม่ใช่ใครที่ไหนเลย ยังคงเป็นมนุษย์เราเองนี่แหละที่จะทำให้พวกมันหายไปจากโลกนี้

หมีขั้วโลกถูกขั้นบัญชีเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และตอนนี้ได้รุกคืบเข้ามาหาอาหารในเขตมนุษย์มากขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่า พวกมันคุกคามที่อยู่อาศัยของมนุษย์ แต่มนุษย์ต่างหากที่ทำให้พวกมันไร้บ้าน จนต้องมาหาอาหารกินในเมือง และพวกมันก็ถูกยิงตายอย่างง่ายดายเมื่อพวกมันบังเอิญเผชิญหน้ากับมนุษย์เข้า

กลุ่มหมีขั้วโลกมาคุ้ยขยะกินใน Belushya Guba Cr. Kelly MACNAMARA/PHYS.ORG ดังนั้น วันหมีขั้วโลกสากล (International Polar Bear Day) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของปัญหาที่หมีขั้วโลกกำลังเผชิญอยู่  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมีขั้วโลกมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้มาตั้งแต่ 150,000 ปีที่แล้วตามการประเมินของนักวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบอาร์กติกก็ได้ล่าหมีขั้วโลกมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้วด้วยเช่นกัน แต่มนุษย์ยุคนั้นไม่ผิดที่จะมองว่าสัตว์ทุกตัวสามารถเป็นอาหารได้และการล่ายังก่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศในแถบอาร์กติกได้ด้วย

แต่ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อทศวรรษที่ 17 มาถึง หมีขั้วโลกไม่ได้ถูกล่าจากชนพื้นเมืองเพียงเผ่าเดียวอีกต่อไป แต่มันถูกล่าจากนักล่าชาวยุโรป รัสเซีย และอเมริกาเหนือ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรหมีขั้วโลกลดลงเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งไม่มีกฎหมายข้อไหนที่จะเอื้อให้พวกมันสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย นักล่าสามารถล่าหมีได้ตามความต้องการมากเท่าไหร่ก็ได้

และตั้งแต่ปี 1950 สิ่งต่าง ๆ ได้ทวีให้มันแย่ลงไปอีก อันเนื่องมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มมากขึ้น ผลของการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซที่สะสมในชั้นบรรยากาศเริ่มแผลงฤทธิ์ ทำให้น้ำแข็งในมหาสมุทรเริ่มละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและสภาพแวดล้อมของหมีขั้วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่อาจหวนคืนกลับได้

Cr.Pixarbay

นั่นจึงทำให้ในทุกวันนี้ มีกลุ่มผู้ประท้วงด้านสิ่งแวดล้อมออกมาผลักดันให้เราช่วยกันปกป้องหมีขั้วโลกไว้ แต่น้อยมากที่จะได้รับความสนใจจากสังคมและรัฐบาล แต่ไม่นานนัก ในปี 1973 สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ และอดีตสหภาพโซเวียตได้เริ่มเห็นความสำคัญและได้ลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการอนุรักษ์หมีขั้วโลกและถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้ควบคุมการล่าสัตว์เชิงพาณิชย์และรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้จัดให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

และในท้ายที่สุด ปี 2011 วันหมีขั้วโลกสากลก็ถูกตั้งขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไร Polar Bears International (PBI) ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 มีภารกิจในการปฏิบัติการปกป้องหมีขั้วโลก และในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ของทุกปีก็จะมีการเฉลิมฉลองทุกปี

ปัจจุบันหมีขั้วโลกมีจำนวนเหลือเพียง 22,000-31,000 ตัวทั่วโลก ผลกระทบบหลักที่หมีขั้วโลกได้รับจากมนุษย์ อันดับแรกคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้หมีอยู่ในน้ำน้อยลงและขึ้นมาอยู่บนบกมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม สิ่งนี้เองผลักดันให้หมีขั้วโลกเข้าใกล้ชุมชนของมนุษย์มากขึ้น และเกิดความขัดแย้งระหว่างหมีกับมนุษย์อยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งการพัฒนาของอุตสาหกรรม ก็รบกวนฤดูกาลผสมพันธุ์ของพวกมัน หรือมีการสัมผัสน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลเป็นต้น

หมีขั้วโลกบางที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจากการปกป้องของหน่วยงานและการเรียกร้องของกลุ่มสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นข่าวดี แต่หากมองในภาพรวมแล้ว พวหมันยังคงเสี่ยงอยู่ดีตราบใดที่น้ำขั้วโลกยังละลาย น้ำแข็งในทะเลละลายต่อไป พวกมันก็ยังคงไร้บ้านไร้อาหารเหมือนเดิม 

ที่มาข้อมูล

National Today

WWF

related