ค้นพบเห็ดชนิดใหม่ มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกัน สามารถทำไปทำวัสดุที่หลากหลาย โดยเฉพาะพลาสติก ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แนวทางใหม่เพื่อโลก
ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงเราย่อมคาดหวังผลตอบรับที่ดีกว่าเสมอ งานวิจัยชิ้นหนึ่งกำลังหาทางช่วยมุนษยชาติในการจัดการขยะพลาสติก ที่กำลังเป็นปัญหาชิ้นใหญ่ที่สุดของโลกให้หายไป
และเรื่องนี้อาจทำให้คนที่รักเห็ด จะชอบเห็ดยิ่งขึ้นไปอีก เพราะงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เผยการค้นพบใหม่ที่น่าทึ่ง ผ่านการตพีมพ์ในวารสาร Science Advances โดยงานวิจัยได้ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Fomes fomentarius กำลังเป็นที่สนใจของเหล่านักวิทยาศาสตร์ เมื่อพวกเขาค้นพบว่า มันมีความสามารถในการผลิตวัสดุได้หลากหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ของแบบอ่อนไปจนถึงของแบบแข็งและแบบเนื้อไม้
รูปร่างของเชื้อราชนิดนี้มีความพิเศษ ซึ่งรูปร่างของมันอาจจะดูเหมือนเห็ดบางชนิดลักษณะคล้ายเกือกม้าที่งอกออกมาจากลำต้นของต้นไม้ ที่มนุษย์ใช้มันทำเป็นเชื้อเพลิงก่อกองไฟมานับปีแล้ว นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อเล่น ที่คนมักเรียกเชื้อรานี้ว่า เชื้อรากีบม้าหรือเชื้อราจุดไฟ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลย์ขอรับผิดชอบซองขนม นำซอง MLP กลับบ้าน อัพไซเคิลเป็นโต๊ะเรียน
How To ทิ้ง ซองเครื่องปรุง กำจัดอย่างไรดีให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปี 2568 ไทยจะแบนการนำเข้าเศษขยะพลาสติก ตอกย้ำ ไทยไม่ใช่ ถังขยะโลก
แต่สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากเห็ดดังกล่าวคือ ชั้น 3 ชั้นที่เป็นรูปร่างของมัน ซึ่งแต่ละชั้นมีประโยชน์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เปลือกนอกมีความแข็งมาก สามารถใช้ทสารเคลือบกันแรงกระแทกสำหรับกระจกบังลมได้ ส่วนชั้นกลางมีความอ่อนนุ่ม ให้ความรู้สึกเหมือนผิวหนังมนุษย์ ส่วนชั้นในสุดมีลักษณ์เหมือนไม้
คุณลักษณะที่แตกต่างกันภายในเห็ดหนึ่งชนิดแบบนี้ เพิ่มความสนใจให้กับงานด้านการผลิต เช่น วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ และสิ่งทอที่ทำมาจากเห็ด ซึ่งในอนาคตเราอาจมีหูฟัง เมมโมรีโฟมสำหรับรองเท้า หรือแม้แต่ชิ้นส่วนของเครื่องบินที่สร้างมาจากเห็ดได้ ที่สำคัญมันสามารถทำหน้าที่แทนพลาสติกได้ด้วย
การใช้เห็ดทดแทนการใช้พลาสติกแบบดั้งเดิมเหมือนปัจจุบันสามารถลดกองขยะที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ พลาสติกที่ทำจากเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นยากต่อการนำไปรีไซเคิล หรือหากไปฝังกลับมาก็ใช้เวลาย่อยสลายนานหลายปี ซึ่งอาจกร่อนจนมีขนาดเล็กและกลายเป็นไมโครพลาสติกที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในท้ายที่สุดได้
ขวดน้ำรักษ์โลก ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติก 200 เท่า ทำจากวัสดุธรรมชาติ
รองเท้าแตะย่อยสลายได้ กลายเป็นปุ๋ยใน 6 เดือน ชาวแฟชั่นสายรักษ์โลกต้องเลิฟ!
ดังนั้ วัสดุจากเห็ดที่ทำมาจากเห็ดธรรมชาติแบบนี้น่าจะตอบโจทย์เรื่องการย่อยสลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นที่สุดและเราสามารถทำขึ้นมาใหม่ได้เมื่อการใช้งานเดินทางไปถึงจุดสิ้นอายุขัย
“เราทึ่งกับโครงสร้างมาก เพราะสิ่งหนึ่งที่คุณสังเกตได้ทันทีหากคุณเป็นนักชีววิทยาก็คือ เมื่อสิ่งที่สวยงามเริ่มก่อตัวขึ้น ธรรมชาติก็ไม่ได้สร้างมันขึ้นมาเพราะว่ามันสวยงาม มันต้องมีฟังก์ชั่น” Pezhman Mohammadi หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับใหม่และนักวิทยาศาสตร์อาวุโสแห่ง VTT Technical Research Center of Finland กล่าว
ซึ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปแล้วสำหรับตอนนี้คือ โมฮัมมาดีและทีมงานได้สร้างชุดหูฟังต้นแบบ ที่ทำมาจากเส้นใยที่เรียกว่าไมซีเลียม ซึ่งคาดว่ามาจากสารจาดเห็ดดังกล่าว แต่ยังไม่สมบูรณ์มากนัก ซึ่งแน่นอนว่าหนทางของการแทนที่พลาสติกยังอีกยาวไกล แต่ก็เป็นไปได้หากยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ
ที่มาข้อมูล
Science Advances