มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร อายุครีเทเชียสตอนต้น หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน
ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รายงานว่า ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น เป็นกระดูกขากรรไกรส่วนล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160 โดยการค้นพบครั้งนี้ เป็นการทำงานระหว่าง นักวิจัยจากศูนย์ฯ ร่วมกับคณะนักวิจัยชาวต่างชาติ
ทั้งนี้ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้น เป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดียว จึงยังไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้
แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนท์ ครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นการค้นพบครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ปลา ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) คือปลาอะไร ?
สำหรับ ปลาซีลาแคนธ์ (Coelacanth) เป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้ว และยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน
ปลากลุ่ม ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) นี้มีลักษณะเด่นคือครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ
หากจะลองขยายความเพิ่มขึ้นนั้น ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) นับได้ว่า เป็นปลาดึกดำบรรพ์ ที่พบฟอสซิลอยู่ในยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีก่อน) และเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงปลายยุคครีเทเชียส (ประมาณ 65 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ สูญพันธุ์ไปถึง 94%
จนกระทั่ง ปี 1938 จึงได้มีการบันทึกการค้นพบปลาซีลาแคนท์ตัวแรก ชนิดแรก แบบมีชีวิต ที่แอฟริกาใต้ (Latimeria chalumnae, West Indian Ocean coelacanth) และค้นพบชนิดที่สองที่เกาะซูลาเวซี อินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1999 (Latimeria menadoensis, Indonesian coelacanth) พบอาศัยอยู่ในน้ำลึกตั้งแต่ 100-500 เมตร
ซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่าปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว
มีรายงานว่า ทีมสำรวจกลุ่มนี้ ยังพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเมเทรียแคนโธซอริดอีกด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูลด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น
เมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์คิดว่าปลาซีลาแคนธ์ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว แต่กลับมีผู้พบเห็นมันอีกครั้งเมื่อปี 1938 หลังปลาชนิดนี้ติดเข้ามาในอวนของชาวประมงที่นอกชายฝั่งประเทศแอฟริกาใต้
โดยปลาซีลาแคนท์ที่โตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง 1.8 เมตร และหนักกว่า 90 กิโลกรัม ปัจจุบันมีแหล่งที่อยู่ของปลาซีลาแคนธ์เพียงสองแห่งในโลก คือที่บริเวณชายฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย และตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรปลาซีลาแคนท์กลุ่มหลังนี้อาจเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัว