svasdssvasds

แผ่นดินไหวตุรกีรอบใหม่ หวั่นอาคารพังซ้ำ สิ่งปลูกโครงสร้างพื้นฐานเปราะบาง

แผ่นดินไหวตุรกีรอบใหม่ หวั่นอาคารพังซ้ำ สิ่งปลูกโครงสร้างพื้นฐานเปราะบาง

ตุรกี เพิ่งภัยพิบัติครั้งล่าสุด จากเหตุแผ่นดินไหว โดยมีโอกาสที่อาคารที่พังถล่มลงมาจำนวนไม่น้อยเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งอาจสอดคล้องกับคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในช่วงหลายปี ก่อนว่าอาคารใหม่หลายหลังในตุรกีไม่ปลอดภัย

แผ่นดินไหวตุรกี ต้องเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกครั้ง ในวันนี้ (21 ก.พ. 2566) โดยครั้งนี้ เพิ่งเกิดเแผ่นดินไหวรุนแรง 6.4 แมกนิจูด โดยแผ่นดินไหวตรุกีครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้กับเมืองอันตักยา ทางตอนใต้ของตุรกี และใกล้กับชายแดนซีเรีย และถือเป็นการแผ่นดินไหวรุนแรงซ้ำในรอบไม่กี่วัน หลังจากครั้งก่อน กลายเป็นโศกนาแผ่นดินไหวรุนแรง 7.5-7.8 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และอาฟเตอร์ช็อกเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่คาบเกี่ยว ระหว่างประเทศตุรกีและซีเรีย

นับจากแผ่นดินไหวรุนแรงครั้งแรกในช่วงต้นเดือน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และตัวเลขผู้คนทีาเสียชีวิตมหาศาลแตะหลัก มากกว่า 44,000 คนจำนวน โดยมากเสียชีวิต เพราะติดอยู่ใต้ซากอาคารที่ถล่มลงมาหลายแห่ง  นอกจากนี้ ยังมีผู้คนไร้บ้าน ไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แสนราย

ในอดีตที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญ เตือนมานานแล้วว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจทำลายล้างกรุงอิสตันบูล เมืองหลวงของตุรกี ซึ่งปล่อยให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นวงกว้างโดยไม่มีมาตรการป้องกันความปลอดภัย อาจจะต้องเจอกับวิกฤตแบบครั้งนี้ ซึ่งตึกพังทลายลงมาจำนวนมาก

แผ่นดินไหวตุรกีรอบใหม่ หวั่นอาคารพังซ้ำ ตอกย้ำปัญหาสิ่งปลูกโครงสร้างพื้นฐานที่เปราะบาง Credit ภาพ Xinhua

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างตึกมีส่วนสำคัญอย่างมากในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว  โดย "คาร์เมน โซลานา” นักภูเขาไฟวิทยา จากมหาวิทยาลัยปอร์ทส์มัธของอังกฤษ ให้ความเห็นว่า เนื่องจากแผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ อาคารต้านแรงสั่นสะเทือนจึงเป็นสิ่งสำคัญในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

“โครงสร้างสิ่งปลูกสร้างเปราะบาง จึงเกิดความเสียหายเป็นหย่อมๆ บริเวณตอนใต้ของตุรกี โดยเฉพาะพรมแดนติดกับซีเรีย ดังนั้น ความปลอดภัยของชีวิตผู้คนจึงขึ้นอยู่กับความพยายามปกป้องชีวิตผู้คนของอาคารสิ่งปลูกสร้างด้วย” คาร์เมน โซลานา  กล่าว

ขณะที่ ฝั่งประเทศซีเรีย ซึ่งก็มีบ้านเรือนพังมากมายนั้น “บิล แมกไกวร์” นักภูเขาไฟวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน บอกว่า โครงสร้างตึกหลายแห่งในซีเรีย เสื่อมโทรมมานานเพราะการทำสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าสิบปี

แผ่นดินไหวตุรกีรอบใหม่ หวั่นอาคารพังซ้ำ ตอกย้ำปัญหาสิ่งปลูกโครงสร้างพื้นฐานที่เปราะบาง Credit ภาพ Xinhua

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในปี 199 รัฐบาลตุรกีอนุมัติกฎหมายในปี 2004 มีคำสั่งให้การก่อสร้างใหม่ทั้งหมด ต้องตรงตามมาตรฐานป้องกันแผ่นดินไหวยุคใหม่

“โจแอนนา ฟอเร วอล์กเกอร์” หัวหน้าสถาบันลดความเสี่ยงและภัยพิบัติแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน เรียกร้องให้รัฐบาลตุรกีตรวจสอบว่า กฎหมายป้องกันเหตุแผ่นดินไหวแก่อาคารที่พักอาศัยได้ถูกนำไปปฏิบัติในเหตุภัยพิบัติล่าสุดนี้หรือไม่ พร้อมทั้งขอให้ตุรกีเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาความปลอดภัยของตึกเก่า ๆที่มีอยู่จำนวนมาก

กี่น้ำตาจะหยุดความเสียใจได้...แผ่นดินไหวตุรกีรอบใหม่ หวั่นอาคาร บ้านเรือนพังซ้ำ...ตอกย้ำปัญหาสิ่งปลูกโครงสร้างพื้นฐานที่เปราะบางเหลือเกิน

สำหรับ แผ่นดินไหวตุรกีครั้งใหม่ นาย ซูเลย์มาน ซอยลู ( Süleyman Soylu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตุรกี ระบุว่า ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน ในเมืองอันทาเคีย เดฟเน่ และ ซามานดากี ของจังหวัดฮาเตย์ ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บขณะนี้มีจำนวนอยู่ที่ 213 คน
โดยซูเลย์มาน ซอยลู ยังขอร้องประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในอาคารที่มีความเสี่ยงว่าจะพังถล่มลงมา ซึ่งมีรายงานว่าเหตุแผ่นดินไหวเมื่อคืน 21 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมาได้ทำให้อาคารบ้านเรือนในเมืองอันทาเคียได้รับความเสียหายมากขึ้นอีก

• ปัญหาอาคารในตุรกี โครงสร้างพื้นฐานที่เปราะบาง

ปัญหาที่พบในตุรกีคือ อาคารหลายหลังที่พังทลายลงมาเมื่อเกิดแผ่นดินไหวมีโครงสร้างที่เรียกว่า ‘Soft Story Structures’ หรือตึกและอาคารคอนกรีตที่มีหลายชั้น โดยชั้นบนมักสร้างจากคอนกรีตที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก แต่กลับตั้งอยู่บนอาคารชั้นล่างที่มีขนาดเล็กกว่า และใช้เพียงเสาที่ทำจากไม้รองรับน้ำหนัก แถมชั้นล่างสุดยังมักถูกออกแบบให้เปิดโล่งและมีกำแพงน้อยกว่า ทำให้รองรับน้ำหนักอาคารชั้นบนได้ไม่เต็มที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ชั้นล่างของอาคารจะทรุดตัวก่อน จากนั้นชั้นอื่นๆ ก็ถล่มตามลงมา การพังทลายรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Pancake Collapse’

เหตุผลที่ชั้นล่างสุดของ Soft Story Structures มักมีพื้นที่กว้างและเปิดโล่ง เป็นเพราะเจ้าของตึกต้องการใช้เป็นที่จอดรถยนต์ พื้นที่สำหรับค้าขาย หรือต่อเติมเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างลักษณะนี้ได้รับความนิยมในหลายประเทศที่มีปัญหาพื้นที่แออัดหรือพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเกินไป เช่น อินเดีย ปากีสถาน และตุรกี

ที่มา bbc xinhua

related