จับตา พายุไซโคลนเฟรดดี้ ที่ก่อตัวตั้งแต่ประเทศอินโดนีเซีย และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และคาดว่าจะขึ้นฝั่งมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา ในสัปดาห์หน้า พายุลูกนี้ถือเป็นอีกหนึ่งลูกที่มีอายุยาวนานที่สุด เท่าที่เคยมีการจดบันทึกมา
ทุกวันนี้ โลกของเราต้องเจอกับภาพอากาศที่ผิดเพี้ยนไปหมดทั่วทุกมุมโลก และเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ล่าสุด มีการจับตา สิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก ,โดย พายุไซโคลนเฟรดดี้ ที่ก่อตัวตั้งแต่ ประเทศอินโดนีเซีย และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และคาดว่าจะขึ้นฝั่งมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา ในสัปดาห์หน้า
สำหรับ พายุโซโคลนเฟรดดี้ ถือว่า เป็นพายุที่มีอายุยาวนานที่สุดลูกหนึ่ง จากนั้น มันเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรอินเดียมานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ โดยก่อนหน้านี้ พายุไซโคลนเฟรดดี้ ก่อตัววันแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ใกล้อินโดนีเซีย (ทวีปเอเชีย) และมันได้เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก ผ่านมหาสมุทรอินเดีย และมีการคาดการณ์ว่าจะเคลื่อนตัวไปทางมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา ในสัปดาห์หน้า
Intense Tropical Cyclone #Freddy remains a Cat 4 hurricane equivalent. Freddy can bring some wind & rain to the #Mascarene Islands later Monday into Tuesday before striking #Madagascar later Tuesday or Wednesday. Storm may eventually threaten #Mozambique late next week. pic.twitter.com/J7DnxUvAJh
— Jason Nicholls (@jnmet) February 16, 2023
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดย คาดการณ์กันว่า พายุไซโคลนเฟรดดี้ จะเข้ากระทบฝั่ง มาดากัสการ์ ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์นี้
ในประวัติศาสตร์ พายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดียที่มาขึ้นฝั่ง มาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกาได้นั้น เพิ่งเกิดขึ้นเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ โดยไซโคลนลูกล่าสุดที่เกิดขึ้นในแบบนี้ คือเกิดขึ้นเมื่อปี 2000 ได้แก่พายุอูดาห์ (Hudah) และ ลีโออน (Leone) หรือรู้จักในอีกชื่อ คือ อีไลน์ (Eline)
คาดว่าพายุไซโคลนเฟรดดี้ จะทำให้มาดากัสการ์เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและบ้านเรือนของประชาชนได้ และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
ที่มา yahoo