ความรู้รอบตัวเรื่องสัตว์ทะเลมาแล้ว บทความนี้พาไปทำความรู้จักกับ เม่นที่ไม่ใช่หอย แต่เป็นเม่นไร้หนาม เม่นหมวกกันน็อค ตัวเล็ก ไร้พิษสง ทนแรงคลื่นได้ ปลอดภัยจากนักล่า
สปริงนิว์ ในคอลัมน์ Keep The World บทความนี้ ขอพาไปท่องโลกสัตว์ทะเลกับเม่นหมวกกันน็อค หรือ เม่นหมวกเหล็ก สัตว์หายากในไทย ที่น้อยคนนักจะเจอพวกมัน
แต่สัตว์ที่จะนำไปทำความรู้จักในครั้งนี้ จะว่าไปก็คล้ายเอเลี่ยนต่างดาวอยู่เหมือนกันนะ เจ้าสัตว์ตัวนี้คือ เม่นหมวกกันน็อค (Helmet Urchins) หรือ เม่นหมวกเหล็ก (Shingle Urchins) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ (Colobocentrotus atratus) แต่ปัจจุบันน้องยังไม่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มสปีชีส์ของตนเท่าไหร่ แต่ถูกจัดอยู่ในสกุลย่อยของ Podophora
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจสัตว์หายาก พบโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก
รู้หรือไม่? ปะการังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามทำลาย ข้อควรทราบก่อนดำน้ำ
รวมข่าวสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกประจำปี 2022 ตัวไหนรอด ตัวไหนเสี่ยง ไปดู!
ปลาคาร์ปไร้เกล็ด สัตว์หายากในชิงไห่ เพิ่มขึ้น 44 เท่าใน 20 ปี
พบสัตว์ทะเลหายาก 3 ชนิด โลมาอิรวดี โลมาหัวบาตร วาฬบรูด้า บริเวณ ทะเลสมุทรสาคร
ลักษณะทั่วไป
หลายครั้งมาก ที่น้องถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปะการัง ดอกไม้ทะเล หรือหอย แต่จริง ๆ แล้วน้องไม่ใช่หอยนะ น้องเป็นเม่น เพียงแต่ว่าลักษณะเด่นของน้องที่ทำให้แตกต่างจากเม่นคือ น้องไม่มีหนามแหลมตามลำตัว แม้ว่าน้องจะถูกจัดอยู่กล่มสัตว์ที่ลำตัวมีหนามก็ตาม (Enchinoderm) อาทิ ดาวทะเล ดาวจนนก ดาวเปราะ และปลิง
ลำตัวที่ไม่มีหนาม ถูกเปลี่ยนให้เป็นแผ่นหรือเกล็ดคลุมลำตัวแทน เหมือนกระเบื้องมุงหลังคา แต่ความแปลกตรงนี้เองกลับมีเสน่ห์และมีประโยชน์ในตัวของมันเอง เพราะพอน้องไม่มีหนาม แต่กลายเป็นว่า การติดหนึบที่ยืดหยุ่นคือคุณสมบัติชั้นดีที่ทำให้น้องสามารถทนแรงคลื่นขนาดใหญ่ และการแฝงอยู่ในกลุ่มคลื่นนี้เอง ทำให้นักล่าเข้าไม่ถึงตัวของพวกมันได้
ในงานวิจัยหนึ่งได้ทำการมดสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค (Santos & Flammang (2007)) และก็พบว่า พวกมันสามารถต้านทานคลื่นที่มีความแรงตั้งแต่ 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาทีได้ ซึ่งหากเปรียบให้เห็นภาพคือ ความแรงระดับนี้ก็สามารถโค้นต้นไม้ลงได้ง่าย ๆ เลย
สถานที่ที่อยู่อาศัย
สถานที่ที่อยู่อาศัย ตามปกติแล้ว น้องจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยหรอก แต่จะอยู่ตามอินโดนีเซีย มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และฮาวาย ในบริเวณที่มีแร่ธาตุและความอุดมสมบูรณ์เยอะ ๆ น้อยมากที่จะพบเจอในไทย แต่การพบเจอในไทยก้ไม่ใช่ว่าไม่มี
การพบเจอในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปี 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand: History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428 ซึ่งทั้งสองครั้งพบที่เกาะราชา จ.ภูเก็ต
ความอันตราย
ส่วนในด้านของความอันตรายหรือความเป็นพิษนั้น บอกได้เลยว่า น้องเม่นหมวกกันน็อคไม่เป็นอันตรายหรือไม่มีพิษสงนะ แต่หากพบเจอก็ปล่อยให้น้องอยู่เฉย ๆ ดีกว่า อย่าไปจับมาเล่น หรือเก็บขึ้นมา เพราะน้องเป็นทรัพยากรของธรรมชาติไม่ใช่ของเรา
ที่มาข้อมูล