รัฐบาลบังกลาเทศเดินหน้าแผนงาน เพื่อผลิตไฟฟ้าร้อยละ 40 จากพลังงานสะอาด และร้อยละ 10 จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2041 เพราะพลังงานสะอาด ได้กลายมาเป็นเมกะเทรนด์ของโลกไปแล้ว ทุกวันนี้ ทุกอย่างมุ่งหน้าสู่การ Keep The World
สำนักข่าวซินหัว รายงาน นาสรูล ฮามิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและแร่ธาตุของบังกลาเทศ เปิดเผยว่า รัฐบาลบังกลาเทศเดินหน้าแผนงานแบบแบ่งระยะ เพื่อผลิตไฟฟ้าร้อยละ 40 จากพลังงานสะอาด และร้อยละ 10 จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2041 รวมถึงนำเข้าไฟฟ้าภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคจากประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 9,000 เมกะวัตต์
ข้อมูลของรกระทรวงพลังงานและแร่ธาตุ ระบุว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าของบังกลาเทศอยู่ที่ 25,826 เมกะวัตต์ และมีการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ 1,160 เมกะวัตต์
โดยเฉพาะการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำจากเนปาลและภูฏานที่มีความคืบหน้าชัดเจน ขณะกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 950.72 เมกะวัตต์ โดยรัฐบาลบังกลาเทศมุ่งมั่นดำเนินแผนการผลิตไฟฟ้า 40,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2030 และ 60,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2041
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน "พลังงานสะอาด" ถือเป็นปัจจัยสำคัญ และจัดเป็นพลังงานแห่งยุคอนาคต ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้หมุนต่อไปได้อย่างยั่งยืน จึงไม่แปลกที่พลังงานสะอาดได้กลายมาเป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่ทุกธุรกิจต่างก็มุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ จึงไม่แปลกที่ บังกลาเทศ มุ่งหน้ามาในทิศทางนี้
ตัดภาพมาที่ประเทศไทย ในปัจจุบัน พลังงานที่หล่อเลี้ยงไทยส่วนใหญ่นั้น มาจากก๊าซธรรมชาติถึง 57% ลิกไนต์ ถ่านหิน 17% และนำเข้าถึง 12% การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด) อาทิ โซลาร์เซลล์ พลังงานลม นั้นมีสัดส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้นเอง
แต่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ กฟผ.หรือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ของไทยนั้น ได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะลดการใช้งาน ลิกไนต์/ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านลง แต่เพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ดันสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนไปที่ 18% แต่หากนับรวมพลังงานสะอาดอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานขยะชุมชน ตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นไปถึง 35% เลยทีเดียว โดยที่สัดส่วนของก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์/ถ่านหิน และการซื้อพลังงาน จะเหลือสัดส่วน 53%, 12% และ 9% ตามลำดับ