อาจารย์เสรี ศุภราทิตย์ เผยว่า ปีข้างหน้าและต่อ ๆ ไป โลกจะเปลี่ยนไปจนไม่สามารถหวนกลับได้ เราไม่สามารถทำตามเป้าลดอุณหภูมิให้เหลือ 1.5 ได้หรอก ต้องเร่งหาทางรับมือเท่านั้น
“ที่ว่าทั่วโลกจะมาลดอุณหภูมิให้ 1.5 นี่ไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องกลับมาดูตัวเองไงว่า หนึ่งเรามีระบบป้องกันที่ดีไหม สองเรามีระบบแจ้งเตือนที่ดีไหม สามประชาชนมีองค์ความรู้เรื่องนี้ไหมที่ต้องปรับตัวอยู่กับอากาศอย่างนี้เพราะฉะนั้น สื่อสารให้ความสำคัญมากกว่าการไปเฝ้าลดก๊าซเรือนกระจก ความหวังอันนั้นมันแทบไม่มีความหวังนะครับ”
ส่วนหนึ่งจากคำตอบของรศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
เพราะโลกเปลี่ยนไป จนไม่อาจหวนกลับมาเป็นดังเดิมได้แล้ว สิ่งที่ดีที่สุดคือการหาทางป้องกัน รับมือกับสภาพอากาศที่จะสุดโต่งมากขึ้น
ก่อนหน้านี้อาจารย์เสรีได้โพสต์ลงเฟซบุ๊ก โดยกล่าวดังโพสต์ด้านล่างนี้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
เหตุการณ์ บอมบ์ไซโคลน - โลกรวน ทำให้สหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโกเจอวิกฤตสภาพอากาศ
เอลนีโญกำลังมา แต่โลกไม่พร้อมรับมือ ปี 2023 สภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวนมากขึ้น
นั่นหมายความว่า การคาดการณ์เรื่องสภาพภูมิอากาศนั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เราเผชิญหน้ากับลานิญา หรือปีเปียกที่มีความเย็น และจะกลับเข้าความความปกติในปีหน้า แต่ครึ่งปีท้ายของปี 2566 นั้นประเทศไทยจะเผชิญหน้ากับเอลนีโญ ความร้อนและภัยแล้งที่อาจรุนแรงสุดในรอบ 10 ปี
เราจะเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสุดโต่งไปทั่วโลก เช่น ปีนี้คลื่นความร้อนรุนแรงในหลายประเทศจนทำให้ผู้คนล้มตาย หลายประเทศประกาศร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ ท้ายปีแบบนี้ก็มีปรากฎการณ์พายุหิมะในแถบอเมริกาจนมีผู้เสียชีวิตเช่นเดียว
ปรากฎการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องปกติ เกิดจากการแปรปรวนของสภาพอากาศที่กำลังจะสุดขั้วมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า (2566-2569) เพราะ IPCC มีการคาดการณ์ว่ามีความเป็นได้เกือบ 50% ที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นแตะ 1.5 องศาเซลเซียส (ปัจจุบันอุณหภูมิเพิ่มขึ้นประมาณ 1.15 องศาเซลเซียส) ที่อาจนำไปสู่การเผชิญหน้ากับภัยแล้งฝนรอบ 10 ปี และน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปี 2572-2573
อาจารย์เสรได้ให้สัมภาษณ์กับทางสปรินิวส์กับคำถามที่ว่า
สถานการณ์สภาพอากาศจากเอลณิญโญและลาณิญญาทั้งของไทยและของโลกเป็นอย่างไร?
ขณะนี้เอง ปรากฏการณ์ลานีญามีการคาดการณ์กันว่ามีความแน่นอนสูง หลังจากเดือนมีนาคมนี้ปรากฏการณ์ลานีญาจะลดระดับลง เพราะฉะนั้นในกลางปีมันก็จะเข้าไปสู่เหตุการณ์ปกติ พอปกติเสร็จ กลางปีก็จะกลายเป็นเอลนีโญ ทีนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของเรา เนื่องจากยังอยู่ในปรากฏการณ์ลานิญาอยู่ มันก็จะทำให้อากาศยังคงเย็นอยู่นะครับ อุณหภูมิก็จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของมัน เดือนมีนาคมอุณหภูมิเท่าไหร่ตรงนี้ก็จะต่ำกว่าอุณหภูมิของเค้า อากาศก็จะเย็นกว่าปกติอยู่ ปริมาณฝนในภาคใต้ก็ยังต้องระวังต่อไป
ลานีญาทำให้ฝนภาคใต้ต้องระวังไปจนถึงเดือนมีนาคม ทีนี้ในส่วนของภาคอื่น ๆ แน่นอนมันเป็นช่วงที่ไม่ได้เป็นฤดูฝนของเค้าอยู่แล้ว มันก็จะเป็นปกติก็คือไม่มีฝน ทีนี้พอผ่านกลางปีขึ้นไป การคาดการณ์ก็จะเริ่มไม่แม่นยำเพราะว่ามันเกินหกเดือน เพราะฉะนั้นเราต้องดูว่าปรากฏการณ์ลานีญาที่จะกลายเป็นเอลนีโญจะทำให้ฝนเปลี่ยนไปหรือเปล่า เพราะฉะนั้นก็ต้องศึกษาตรงนี้นิดนึง ว่าช่วงฤดูฝนแล้วฝนจะเป็นยังไง
แต่ว่าอย่างไรก็ตามเนื่องจากปีที่แล้วน้ำมันเยอะ พื้นที่เกษตรในเขตชลประทานก็ไม่น่ากังวล แต่ว่ากังวลในช่วงนอกเขตชลประทานก็คือ- อีกสักประมาณสามเดือนจะมีการคาดการณ์ออกมา ก็คือช่วงฝนนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าฝนไม่ดีพื้นที่นอกชลประทานก็มีปัญหา แต่ว่าเหตุการณ์อย่างนี้มันจะแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะว่าพอเป็นเอลนิโญปลายปีมันแรงขึ้นแบบไต่ระดับ เพราะฉะนั้นช่วงปี68 69 ก็จะเป็นช่วงแล้งละ เพราะฉะนั้นก็ต้องระวังว่าฝนที่ตกตั้งแต่ปีหน้าถึงปีถัดจะแนวโน้มมากหรือน้อยกว่าปกติ ประเด็นปัญหาก็คือการจัดการน้ำก็ต้องระมัดระวัง
แล้วในอนาคต จะเกิดสภาพอากาศสุดโต่งอะไรบ้างในประเทศไทย?
เนื่องจากอุณหภูมิของโลกมันเพิ่มขึ้นมาราว ๆ 1 – 1.5 องศาฯ หมายความว่าอุณหภูมิของโลกมันเพิ่มสูงโดยไม่มีการลด การที่มันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้ มันก็หมายความว่าเหตุการณ์มันจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ขณะนี้ที่อุณหภูมิ 1.2 นี้เราจะเห็นสภาพอากาศแปรปรวนขนาดไหน เพราะฉะนั้นในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้านี้มีการคาดการณ์โดย IPCC มากกว่า 50% การเพิ่มขึ้นจาก 1.2 ไป 1.5 นี้ ความแรงมันก็เพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นเราก็จะร้อนสุด ๆ เลย จะเป็นปีที่ร้อนจัดครับ ก็คือปี 2568-2569 นี้ มันก็จะร้อนแล้วก็จะแล้งตามมา
นอกจากนี้ยังมีพายุอีก เพราะจะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นมันทำให้พายุแรงขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าพวกที่อยู่ริมทะเลทั้งหลายนี้จะมีผลกระทบ ในทางกลับกัน ไม่ใช่แค่ประเทศไทยประเทศเดียวแน่ ประเทศอื่นอีก เช่น อเมริกาเจอหนาวแบบนี้ ครั้งหน้าก็อาจจะหนาวอีก พูดง่าย ๆ ว่าโลกไม่เคยเจออย่างนี้ มันเพี้ยน มันรวน
แล้วมันก็จะเจออย่างนี้บ่อยครั้ง ถ้าตรงกับลมแรง ๆ หรือเอลนีญา เค้าจะกลับมาอีกก็ 7 ปี ก็ดูรอบของเค้าด้วย แต่เรื่องของการ sanction ดังกล่าวมันเปลี่ยนไปโดยที่ไม่มีวันกลับ จะทำให้อุณหภูมิกลับไม่ได้แล้ว การเจราจากันก็ไม่มีทางกลับไปได้ การเจราจามันล้มเหลวตลอด แม้ประเทศไทยจะว่าลดได้ตามข้อตกลงปารีส แต่ประเทศไทยปล่อยไม่ถึง 1% นะ เพราะฉะนั้นมันไม่มีความหมายสำหรับโลกหรอก โลกเค้าไม่ฟังหรอก มันก็ขึ้นอยู่กับมหาอำนาจทั้งหลาย ซึ่งเหล่านี้มันมีแต่ประกาศ แต่เวลาทำมันไม่ได้ทำไง
เชื่อไหมว่าเราสามารถควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้?
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะควบคุมได้ ผมทำงานอยู่กับ IPCC นี้ เราก็ประเมินว่าอีกสัก 7-8 ปีข้างหน้าเราจะลดลงให้ได้สักครึ่งหนึ่ง มันต้องเป็นเป้าหมายระยะสั้นคือปี 2030 ประมาณ 8 ปีนะ นี่ก็หมายความว่าเราต้องลดลงปีหนึ่ง 7% แต่ว่าขณะนี้มันปล่อยเพิ่มขึ้น 2% มันไม่ลด 7% แทนที่จะลด 7% มันกลับเพิ่มขึ้น 2% มันก็ไปไม่ได้อยู่แล้ว แล้วก็อีก 30 ปีทุกประเทศจะต้องเป็นกลางทางคาร์บอน สองเป้าหมายนี้มันไปได้ยาก พอไปได้ยากนี้ อุณหภูมิโลกเกิน 1.5 แน่ ๆ
พวกเหตุการณ์ความรุนแรงจะเกิดมากขึ้น ๆ กว่าอดีตที่ผ่านมา สิ่งที่ผมบอกไปมันมีนัยยะว่า ประเทศไทยอย่าเดินหลงทาง ที่ว่าทั่วโลกจะมาลดอุณหภูมิให้ 1.5 นี่ไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องกลับมาดูตัวเองไงว่า หนึ่งเรามีระบบป้องกันที่ดีไหม สองเรามีระบบแจ้งเตือนที่ดีไหม สามประชาชนมีองค์ความรู้เรื่องนี้ไหมที่ต้องปรับตัวอยู่กับอากาศอย่างนี้ เพราะฉะนั้น สื่อสารให้ความสำคัญมากกว่าการไปเฝ้าลดก๊าซเรือนกระจก ความหวังอันนั้นมันแทบไม่มีความหวังนะครับ
จบท้ายการสนทนา อาจารย์ได้เสริมขึ้นว่า “อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องลดก๊ซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1.5 เพราะว่า แม้สถานการณ์ที่ดีที่สุดอุณหภูมิก็จะขึ้นไป 2 -3 เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดก็คือหันมาดูตัวเอง มาตราการป้องกันตัวเอง”